2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของทหารกองประจำการ จังหวัดนครราชสีมา  
Date of Acceptance 17 July 2017 
Journal
     Title of Journal วารสารสุขศึกษา 
     Standard TCI 
     Institute of Journal ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     ISBN/ISSN  
     Volume 40 
     Issue
     Month กรกฎาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2017 
     Page  
     Abstract นัฏฐา โยสาราช. 2560. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของทหารกองประจำการ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รศ.ปาริชา นิพพานนทน์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจับแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของทหารกองประจำการ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวนกลุ่มละ 36 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมแทรกแซงตามโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์จำนวน 6 ครั้ง และให้แรงสนุบสนุนทางสังคมจำนวน 4 ครั้ง ในเวลา 10 สัปดาห์ จัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ได้แก่ รั้วเขียวเชื่อมสัมพันธ์ทันเอดส์, ลองมาเป็นฉัน, ดาวบอกรัก, กลยุทธ์เอาตัวรอด, รั้วเขียวป้องกันเอดส์ และพี่น้องพร้อมปรึกษา มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ช่วงเชื่อมั่น 95% CI ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยและผลต่างคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เจตคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ การรับรู้ความรุนแรงเกี่ยวกับโรคเอดส์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการติดโรคเอดส์ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองเกี่ยวกับโรคเอดส์ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองเกี่ยวกับโรคเอดส์ การปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ และการใช้ถุงยางอนามัย สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีการจูงใจให้ผู้บังคับบัญชา และครูทหารใหม่เป็นผู้ให้แรงสนับสนุนทางสังคมให้กับทหารกองประจำการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์  
     Keyword ทหารกองประจำการ 
Author
585110174-2 Miss ืืNATTA YOSARAT [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication นานาชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0