2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทางของสะเต็มศึกษา ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 กันยายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 1513-007X 
     ปีที่ 18 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า
     บทคัดย่อ นาถนรินทร์ บุญธิมา. 2560. พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทางของสะเต็มศึกษา ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิชาเฉพาะการสอนคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ดร. หล้า ภวภูตานนท์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทางของสะเต็มศึกษา ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ให้นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป 3) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการ 3 วงจร กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำแนกตามลักษณะการใช้ 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวทางของสะเต็มศึกษา ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม จำนวน 12 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ละ 1 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกผลหลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทางของสะเต็มศึกษา ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการระบุปัญหา (Identify a Challenge) 2) ขั้นการค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (Explore Ideas) ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยที่เป็นกระบวนเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 5 ขั้นตอน คือ 2.1) ขั้นการค้นหาความจริง (Fact Finding) 2.2) การค้นพบปัญหา (Problem Finding) 2.3) การหาสมมติฐาน (Idea Finding) 2.4) การค้นพบคำตอบ (Solution Finding) และ 2.5) การยอมรับผลจากการค้นพบ (Acceptance Finding) 3) ขั้นการวางแผนและพัฒนา (Plan and Develop) 4) ขั้นการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluate) และ 5) ขั้นการนำเสนอผลลัพธ์ (Present the Solution) 2. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.35 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ให้มีนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป 3. ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 85.83 โดยแยกเป็นด้านความคิดคล่องมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 89.60 ความคิดยืดหยุ่นมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.30 และความคิดริเริ่มมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 79.60 
     คำสำคัญ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สะเต็มศึกษา ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ 
ผู้เขียน
585050082-0 นาง นาถนรินทร์ บุญธิมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0