2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่ยังยืนกับความผูกพันของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต31 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ"การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประจำปี2560" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 
     สถานที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 298-310 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้น าแบบที่ยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 2)เพื่อศึกษาความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 31 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำที่ยั่งยืนกับความผูกพันของครูในโรงเรียนในสังกัด ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 โดยใช้การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie& Morgan, 1970) กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครูจำนวน 462 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงการมีส่วนร่วมที่เป็นจริง .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอ้างอิง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำที่ยั่งยืนกับความ ผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31โดยการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ของตัว แปรต้นและตัวแปรตาม โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Peason’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือ ด้านความแผ่กว้าง-การกระจายภาวะผู้นำ รองลงมา คือ ด้านความหลากหลาย ด้านความเผชิญกับปัญหา ด้านความทนทาน ด้านความลุ่มลึกในองค์ความรู้ , ด้านเป็นนัก อนุรักษ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ด้านความยุติธรรม ด้านความผูกพันของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือความผูกพันด้านความรู้สึก รองลงมาคือ ความผูกพันด้านการคงอยู่กับองค์กร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ตามลำดับ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันของครู โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง และความสัมพันธ์กันในทางบวก หมายความว่าความผูกพันของครูถูกอธิบายได้ด้วยภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหาร เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าความสัมพันธ์รายด้านภาวะผู้นำที่ยั่งยืนกับความผูกพันของครูมีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.01 โดย ด้านความแผ่กว้างกับด้านความรู้สึก มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความแผ่กว้าง กับด้านความคงอยู่ และด้านความแผ่กว้างกับด้านบรรทัดฐาน ส่วนด้านความหลากหลายกับด้านบรรทัดฐานมีความสัมพันธ์กันใน ระดับน้อยที่สุด 
ผู้เขียน
585050148-6 น.ส. ชนิดาภา พงษ์พิเดช [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0