2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าในเด็กปฐมวัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 กันยายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 25 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบ Case – control study เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย ในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยศึกษาในเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติ โดยศึกษาในกลุ่มศึกษา จำนวน 70 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 210 ราย รวม 280 ราย ซึ่งทำการศึกษาทั้งหมด 16 ตำบล โดยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย ในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 22 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณ วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวทีละคู่ด้วยสถิติวิเคราะห์ไคว์สแคว์ (Chi-square test) หรือสถิติ Fisher-exact test ในกรณีที่พบว่าไม่ผ่านข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติ Chi-square test นำเสนอค่า Crude odds ratioและ P-value ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปร ด้วยพหุถดถอยแบบโลจิสติก (Multiple Logistic Regression) ผลการศึกษาพบว่า ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P – value < 0.05 ได้แก่ รายได้ของผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดู ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว การปฏิบัติตามคำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการ สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปร พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะพัฒนาการสงสัยล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีอยู่ 2 ปัจจัย ได้แก่ ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายในครอบครัว (OR = 1.53 ; 95% CI = 0.19 - 2.67) รายได้ของผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดู (OR= 1.84 ; 95% CI = 0.47 - 1.49) ฉะนั้นผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ล้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะพัฒนาการสงสัยล่าช้า การดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้สมวัยจึงควรดูแลมารดาขณะตั้งครรภ์และลูกแบบองค์รวมทั้งสังคมและครอบครัวของเด็กด้วยและควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมและช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ครอบครัวที่มีฐานะยากจน มารับการส่งเสริมพัฒนาการได้ทุกช่วงวัย อันจะส่งผลต่อพัฒนาการที่สมวัยของเด็กต่อไป  
     คำสำคัญ คำสำคัญ : เด็กปฐมวัย, พัฒนาการ, พัฒนาการสงสัยล่าช้า 
ผู้เขียน
585110100-1 น.ส. โสภา เหมือนประสาน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0