2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดอุดรธานี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กันยายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 34 
     ฉบับที่
     เดือน เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 532 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สัมภาษณ์จากแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างผ่านการตรวจสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือซึ่งได้ค่าอัลฟ่าของครอนบาชเท่ากับ 0.87 และได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 71.56 อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 56 ± 7.12 ปี มีอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 72.37 และร้อยละ 87.97 มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากการประเมินสถานการณ์พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 25.19 (95%CI: 21.55-29.10) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ เพศหญิง (adj. OR = 6.09, 95%CI: 2.62-14.12) อายุหกสิบปีขึ้นไป (adj. OR =4.38, 95%CI: 2.36-8.11) สถานภาพสมรสโสด หม้าย หย่าร้าง (adj. OR =2.88, 95%CI: 1.53-5.42) การออกกำลังกายน้อยกว่า3 วันต่อสัปดาห์ (adj. OR =3.86, 95%CI: 2.20-6.71) ดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 25 (adj. OR =3.25, 95%CI: 1.88-5.62) ระดับไขมันแอลดีแอล ≥ 100 มก./ดล. (adj. OR =8.42, 95%CI: 3.43-20.69) ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ≥ 150 มก./ดล. (adj. OR = 5.49, 95%CI: 3.09-9.72) และทักษะการตัดสินใจ ต่ำ – ปานกลาง (adj. OR =2.95, 95%CI: 1.67-5.22) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและเน้นการพัฒนาทักษะการตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ การควบคุมน้ำหนัก และให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเพศหญิง สูงอายุและไม่มีคู่สมรส เพื่อ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 
     คำสำคัญ ความเสี่ยงหัวใจและหลอดเลือด 
ผู้เขียน
585110056-8 นาย พิทยา ธรรมวงศา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0