2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด: กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้ 
Date of Acceptance 19 September 2017 
Journal
     Title of Journal วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
     ISBN/ISSN  
     Volume 12 
     Issue
     Month กรกฎาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2017 
     Page  
     Abstract การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้ จำนวน 9 อำเภอ ซึ่งขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรวบรวมข้อมูลเกษตรกรที่ถูกวินิจฉัยตามรหัสโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศตรูพืช ได้แก่ T60.0 (พิษออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต), T60.1 (พิษยาฆ่าแมลงกลุ่มที่มีสารประกอบฮาโลเจน), T60.2 (พิษยาฆ่าแมลงชนิดอื่นๆ), T60.3 (พิษยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าเชื้อรา) , T60.4 (ยาฆ่าหนู), T60.8 (สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์อื่นๆ) และ T60.9 (สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์อื่นๆ ที่ไม่ระบุรายละเอียด) จากฐานข้อมูล 43 แฟ้มของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 30 ธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและอัตราความชุกต่อเกษตรกรหนึ่งแสนคน ผลการศึกษาพบอัตราความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้ ปี พ.ศ. 2555 - 2559 เท่ากับ 3.15, 18.91, 32.57, 39.55 และ 48.48 ต่อเกษตรกรแสนคน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอัตราความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในประชากรจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ พ.ศ.2555 ถึง พ.ศ.2559 เท่ากับ 0.84, 3.06, 5.65, 8.33 และ 7.11 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งระดับโซนและระดับจังหวัด โดยในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสุวรรณภูมิมีอัตราความชุกสูงที่สุด เท่ากับ 20.28 ต่อเกษตรกรแสนคน และอำเภอจตุรพักตรพิมานพบอัตราความชุกน้อยที่สุด เท่ากับ 2.10 ต่อเกษตรกรแสนคน โดยช่วงฤดูการเพาะปลูกและทำเกษตรกรรมคือเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี พบอัตราความชุกสูงที่สุด การศึกษาครั้งนี้พบว่าความชุกของโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ดสูงกว่าในกลุ่มประชากรทั่วไปจากฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) กว่า 4 เท่า ดังนั้นจึงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ บุคลากรสาธารณสุขควรมีการรณรงค์ให้มีการใช้สารเคมีลดลง โดยใช้สารชีวภาพทดแทน และการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธีและการปฏิบัติตัวในการป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอสุวรรณภูมิและในช่วงฤดูทำเกษตรกรรม พร้อมทั้งควรมีการกำหนดนโยบายและการกำกับกฎหมาย เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช นำไปสู่การลดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อไป  
     Keyword ความชุก, พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรกลุ่มเพาะปลูก 
Author
585110094-0 Miss WILASINEE THONGBU [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0