2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนของ Underhill ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 ตุลาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN ISSN 1513-007X 
     ปีที่ 18 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนของ Underhill ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) ศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนของ Underhill ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหนองหญ้าปล้องโนนคูณวิทยา อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ คือ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนของ Underhill ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบย่อย และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนของ Underhill ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ มีลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 3 ขั้น ดังนี้ (1) ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา (2) ขั้นไตร่ตรอง จะแบ่งเป็น 2 ขั้นย่อย ๆ ได้แก่ ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย และขั้นไตร่ตรองระดับชั้นเรียน (3) ขั้นสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา ซึ่งในแต่ละขั้นตอนย่อยของขั้นสอนจะแทรกทักษะการคิดวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่1 ขั้นกำหนดสิ่งที่จะวิเคราะห์ ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ (เน้นการจำแนก) ขั้นที่ 3 ขั้นกำหนดกฎเกณฑ์และหลักการ (เน้นการเชื่อมโยง) ขั้นที่ 4 ขั้นพิจารณาแยกแยะ (เน้นการประยุกต์) และขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (เน้นการสรุปความ) และ 3) ขั้นสรุป 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับ 14.88 คิดเป็นร้อยละ 74.41 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 82.35 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะเห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับ 7.18 คิดเป็นร้อยละ 71.76 
     คำสำคัญ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รูปแบบการสอนของ Underhill การคิดวิเคราะห์ 
ผู้เขียน
585050225-4 น.ส. วารี ขำหมื่นไวย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0