2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ รูปแบบการเจริญเติบโตและสรีรวิทยาของอ้อยต่อการจำลองความแห้งแล้งในระบบการปลูกอ้อยข้ามแล้ง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 สิงหาคม 2559 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 25 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 102-112 
     บทคัดย่อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีระบบปลูกอ้อยแบบข้ามแล้งและอาศัยน้ำฝนเป็นหลักทำให้อ้อยมีโอกาสประสบความแห้งแล้งในช่วงต้นของการเจริญเติบโต ดังนั้น ความเข้าใจรูปแบบการเจริญเติบโตและสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อความแห้งแล้งในช่วงต้นของการเจริญเติบโตจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการผลิตอ้อยในระบบนี้ได้ดำเนินการทดลองในสภาพกระถาง ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้แผนการทดลองแบบ 2 x 5 factorial in randomized complete block design จำนวน 3 ซ้ำ โดยปัจจัย A คือ รูปแบบการให้น้ำ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) ให้น้ำและควบคุมความชื้นดินที่ระดับความจุสนาม (Field capacity; F.C.) และ 2) จำลองสภาพขาดน้ำในช่วงต้นของการเจริญเติบโต โดยงดให้น้ำ 45 วัน ตั้งแต่อ้อยอายุ 90-135 วันหลังปลูก ส่วนปัจจัย B คือ อ้อย 5 พันธุ์ ได้แก่ ขอนแก่น 3 (KK 3),อู่ทอง 13 (UT 13), อู่ทอง 12 (UT 12), มข.99-03 (KKU 99-03) และ มข.99-02 (KKU 99-02) เก็บข้อมูลลักษณะการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาในช่วงที่อ้อยได้รับความเครียดจากการขาดน้ำ (ช่วง 90-135 วันหลังปลูก) และช่วงได้รับน้ำกลับคืน (ช่วง 136-180 วันหลังปลูก) เมื่ออ้อยอายุ 300 วันหลังปลูก เก็บข้อมูลจำนวนลำต่อกอและมวลชีวภาพอ้อยแต่ละพันธุ์มีรูปแบบการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาในสภาพขาดน้ำในช่วงต้นของการเจริญเติบโตแตกต่างกัน พันธุ์ KK 3มีอัตราการเพิ่มความสูงรายวันลดลงส่วนพันธุ์อื่นๆ อัตราการเพิ่มความสูงไม่แตกต่างกันระหว่างกรรมวิธีให้น้ำ แต่เมื่อได้รับน้ำกลับคืนสู่สภาพปกติอ้อยทุกพันธุ์มีอัตราการเพิ่มความสูงมากกว่าอ้อยในกรรมวิธีที่ไม่ขาดน้ำ ยกเว้นในอ้อยพันธุ์ KKU 99-03 ซึ่งพันธุ์ KK 3 มีอัตราการเพิ่มความสูงอย่างมากเมื่อเทียบกับกรรมวิธีได้รับน้ำปกติในช่วงขาดน้ำในช่วงต้นของการเจริญเติบโต ในสภาพขาดน้ำอ้อยมีทั้งพันธุ์ที่จำนวนหน่อต่อกอลดลง (KK 3, UT 13 และ KKU 99-02) และคงที่ ( KKU 99-03 และ UT12) เมื่อเทียบกับสภาพไม่ขาดน้ำ และเมื่อได้รับน้ำกลับคืนพบพันธุ์อ้อย KKU 99-02 มีจำนวนหน่อต่อกอเพิ่มขึ้น จนทำให้ไม่พบความแตกต่างกับกรรมวิธีที่ได้รับน้ำปกติ ส่วนรูปแบบของลักษณะทางสรีรวิทยา เมื่อขาดน้ำพันธุ์ KKU 99-02 มีค่าการชักนำของปากใบ และพันธุ์ UT 13, KKU 99-02 และ KKU 99-03 มีปริมาณน้ำสัมพัทธ์ในใบลดลง แต่เมื่อได้รับน้ำกลับคืนลักษณะทางสรีรวิทยาทุกลักษณะของทุกพันธุ์ในสภาพที่ผ่านการขาดน้ำในช่วงต้นไม่แตกต่างกับสภาพที่ไม่ขาดน้ำ และไม่พบความแตกต่างของค่าความเข้มของสีใบ และ คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนซ์ ระหว่างกรรมวิธีขาดน้ำช่วงต้นและไม่ขาดน้ำทั้งในช่วงที่ขาดน้ำและได้รับน้ำกลับคืน นอกจากนี้ พันธุ์ UT 12 และ UT 13 มีน้ำหนักแห้งเหนือดินลดลงเมื่อขาดน้ำในช่วงต้นของการเจริญเติบโต ส่วนพันธุ์อื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างการให้น้ำ 2 กรรมวิธี อีกทั้ง ยังพบว่าความเข้มของสีใบ สูงส่งเสริมให้อ้อยแตกหน่อได้มาก และส่งผลไปสู่การมีน้ำหนักแห้งต่อกอสูงด้วย 
     คำสำคัญ ความแห้งแล้งในช่วงต้นของการเจริญเติบโต การชักนำน้ำจากปากใบ จำนวนหน่อต่อกอ ปริมาณน้ำสัมพัทธ์ อัตราความสูง 
ผู้เขียน
575030015-6 น.ส. จิดาภา คงหินไธสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0