2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการปรับปรุงเปลือกอาคาร เพื่อลดค่าการถ่ายเทความร้อน กรณีศึกษา อาคารเรียนเดิมโรงเรียนภูเวียงวิทยายน  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2559 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 35-44 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสำรวจและวางแนวทางในการปรับปรุงอาคารเรียนของโรงเรียนภูเวียงวิทยายนเพื่อการประหยัดพลังงาน ด้วยอาคารหลังนี้เป็นอาคารเก่าแก่ที่ได้รับการอนุรักษ์และปรับปรุงมาเป็นระยะ การศึกษานี้เริ่มด้วยสำรวจรวบรวมข้อมูลทางกายภาพเพื่อทำความเข้าใจกับรูปแบบ และวัสดุอาคารก่อนการวางแนวทางในการประหยัดพลังงานเมื่อมีการปรับปรุงการใช้อาคารในอนาคต การศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ค่าการถ่ายเทความร้อนผ่านโปรแกรม BEC เพื่อนำไปประกอบการวิเคราะห์ความเป็นไปได้การประหยัดพลังงานเมื่ออาคารติดตั้งเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ยังได้มีการเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นของอาคาร เพื่อนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิและความชื้นในแต่ละช่วง โดยแบ่งพื้นที่ในการเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นภายในอาคารเป็น 3 ส่วน คือ ห้องเรียน ห้องประชุมและส่วนพิพิธภัณฑ์ ได้ชุดข้อมูลชุดหนึ่งในระยะเวลา 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง จากนั้นจึงได้นำเอาชุดข้อมูลที่ได้ไปหาค่าเฉลี่ยพบว่า ในตอนกลางวันส่วนห้องเรียนมีอุณหภูมิสูงสุด และห้องพิพิธภัณฑ์มีความชื้นสูงสุด อย่างไรก็ตามความชื้นเฉลี่ยมีค่าที่สูงเนื่องจากพื้นอาคารเป็นพื้นไม้ที่มีช่องว่างให้ความชื้นจากดินผ่านเข้ามาในพื้นที่ใช้งานได้ ในช่วงกลางคืน ความร้อนและความชื้นของทั้งสามส่วนไม่แตกต่างกันมาก ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคาร (OTTV) มีค่าเท่ากับ 15.92 วัตต์ต่อตารางเมตร ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (RTTV)มีค่าเท่ากับ 124.36 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน การเพิ่มฉนวนใยแก้วหนา 4 นิ้ว จะทำให้ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (RTTV) ลดเหลือ 13.21 วัตต์ต่อตารางเมตร การศึกษาในส่วนนี้สามารถสรุปได้ว่า ในการที่ปรับปรุงอาคารประวัติศาสตร์หลังนี้ให้มีการประหยัดพลังงานเมื่อถูกเพิ่มเครื่องปรับอากาศให้กับอาคารสามารถทำได้โดย การอุดช่องว่างระหว่างพื้นไม้ หรือเปลี่ยนวัสดุพื้น และการเพิ่มฉนวนให้กับหลังคาอาคาร นอกจากนี้ยังพบว่า การสำรวจข้อมูลทางกายภาพของอาคารทั้งสองมิติ และสามมิติ เป็นประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ชุมชน และเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงอาคารในอนาคตต่อไป  
ผู้เขียน
585200034-7 นาย สิรภพ ร่มศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0