2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาอิทธิพลของลักษณะทางกายภาพของอาคารต่อพฤติกรรมการไหลของกระแสลมธรรมชาติในอาคาร:กรณีศึกษาอาคารเรียนไท่ปรับอากาศ จังหวัดนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 4 ประจำปี 2560 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 297-310 
     Editors/edition/publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของอาคารเรียนที่มีอิทธิพลต่อการระบายอากาศภายในห้องเรียน โดยการจำลองลักษณะของอาคารที่แตกต่างกันแบ่งเป็น 2 ตัวอย่าง ได้แก่อาคารที่ออกแบบตามข้อกำหนดของ มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และอาคารตามแบบก่อสร้างของสำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้โปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamic: CFD) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติในอาคารเรียน ผลจากการศึกษานี้นำไปสู่แนวทางการออกแนวทางในการออกแบบอาคารเรียน โดยอาศัยการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติอย่างเหมาะสม รวมทั้งยังใช้การวิเคราะห์โดยโปรแกรมการคาดการณ์โหวตเฉลี่ย (Predicted Mean Vote: PMV) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระแสลมที่มีผลต่อสภาวะน่าสบาย ผลการศึกษาพบว่าทิศทางการวางตัวอาคารเป็นปัจจัยมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการระบายอากาศภายในอาคารมากที่สุด โดยกรณีอาคารที่วางแนวทำมุมตั้งฉากกับกระแสลม คือสามารถนำกระแสเข้ามาภายในอาคารได้ร้อยละ 49 ของความเร็วลมเฉลี่ยภายนอก ในส่วนของความสูงอาคารนั้น ความเร็วลมเฉลี่ยในแต่ละชั้นของอาคารมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่ออาคารสูงขึ้น ดังนั้น อาคารที่มีความสูงมากกว่าจึงมีประสิทธิภาพในการนำลมธรรมชาติมาใช้ในการระบายอากาศได้ดีกว่าอาคารที่มีความสูงน้อย ซึ่งสัมพันธ์กันกับพื้นที่ปริมาณช่องเปิด โดยเมื่อปริมาณช่องเปิดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและปริมาณพื้นที่ที่เพียงพอก็จะส่งผลให้มีประสิทธิภาพการระบายอากาศดีขึ้นตามไปด้วย และจากการจำลองด้วยการวิเคราะห์โดยการคาดการณ์โหวตเฉลี่ย พบว่า ในช่วงเปิดภาคเรียนทั้ง ภาคเรียนที่ 1 และ ภาคเรียนที่ 2 นั้น พบว่าในช่วงบ่ายของวัน สามารถนำกระแสลมธรรมชาติมาใช้เพื่อที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าเย็นลงกว่าเดิมได้ประมาณ 2.48 - 2.97 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในขอบเขตสภาวะสบายทางด้านอุณหภาพ ส่วนในช่วงเช้าของทั้งสองฤดูกาลนั้น กระแสลมธรรมชาติช่วยทำให้เกิดความรู้สึกเย็นลงได้  
ผู้เขียน
565200024-8 น.ส. ศิริวรรณ โรโห [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0