2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ อิทธิพลของการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์และแนวทางการลดการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 187-202 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาและแนวทางการลด ความร้อนที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาความร้อนที่ลดลงจากการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อค้นหารูปแบบใดที่ติดตั้งแล้วการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และส่งผลให้เกิดอุณหภูมิอากาศภายในอาคารใกล้สภาวะน่าสบายมากที่สุด ทำการทดลองโดยสร้างกล่องทดลองจากโฟมโพลีสไตรีนหนา 0.15 เมตร และมีโครงหลังคาไม้เพิงหมาแหงนที่มีการติดตั้งฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดหนา 0.009 เมตร แบบไม่มีฉนวนอยู่ภายในกล่องทดลองใช้วัสดุมุงหลังคาเป็นเหล็กรีดลอนหนา 0.0003 เมตร มีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 120 วัตต์สามรูปแบบ ได้แก่ แบบเว้นช่องว่าง ระหว่างหลังคา 0.15 เมตร แบบแนบติดกับหลังคาเหล็กรีดลอน และแบบติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์แทนวัสดุมุงหลังคา โดยหันทิศทางมุมเอียงของหลังคาไปทางทิศใต้ เพื่อให้เซลล์แสงอาทิตย์รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิ USB Temperature and Humidity Datalogger รุ่น CEM DT-171 และ รุ่น Extech RHT10 เพื่อบันทึกอุณหภูมิอากาศภายในกล่องทดลอง อุณหภูมิอากาศเหนือฝ้าเพดานและอุณหภูมิอากาศภายนอก ใช้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าโดยใช้ Multimeter รุ่น F09 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์แบบเว้นช่องว่าง 0.15 เมตร ทำให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุดคือ 14.8 โวลท์ และ 5.5 แอมป ์ รวมถึงอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยที่ เกิดขึ้นภายในกล่องทดลองยังมีค่าใกล้เคียงกับสภาวะน่าสบายมากที่สุดคือ 29.7 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลากลางวัน ส่วนการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์แทนวัสดุหลังคาทำให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำที่สุดคือ 13.95 โวลท์ และ 5.46 แอมป์ และอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยที่เกิดขึ้นภายในกล่องทดลองมีค่าสูงกว่าแบบเว้นช่องว่างอากาศ 0.15 เมตร คือ 32.5 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลากลางวัน ในขณะที่การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์แนบติดกับหลังคาเหล็กรีดลอน มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดคือ 14.2 โวลท์ และ 5.48 แอมป์ อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยสูงสุดภายในกล่องทดลองคือ 29.9 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากการติดตั้งแบบเว้นช่องว่างของอากาศ ทำให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีกว่าการใช้เซลล์แสงอาทิตย์แทนวัสดุมุงหลังคา ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์โดยตรง และผลการศึกษาวิธีการป้องกันความร้อนพบว่าวิธีการระบายอากาศโดยใช้ลมธรรมชาติ ส่งผลให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพการทำานสูงที่สุดคือ 15.21 โวลท์ และ 5.09 แอมป์ กล่องทดลองที่ติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดานและระบายอากาศโดยใช้ลมธรรมชาติมีประสิทธิภาพ ในการทำงานต่ำที่สุดคือ 14.64 โวลท์ และ 4.85 แอมป์ ส่วนกล่องทดลองที่ใช้วิธีการระบายอากาศแบบระบบปิดและติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน มีค่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยใกล้เคียงกับสภาวะน่าสบายมากที่สุดคือ 37.5 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลากลางวัน และกล่องทดลองที่ใช้ระบบเปิดระบายอากาศโดยใช้ลมธรรมชาติและติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน มีค่าอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยมากที่สุดคือ 38.3 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลากลางวัน  
ผู้เขียน
575200022-3 นาย ปพุทธ์ มีไชยโย [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0