2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ อิทธิพลของวัสดุอาคารและแผงบังแดดต่อภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศในอาคารสำนักงานขนาดกลาง จ.ขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 99-111 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย ที่ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของวัสดุอาคาร อัตราส่วนของพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอาคาร ทิศทาง และขนาดของแผงบังแดดแนวนอน ซึ่งมีอิทธิพลของภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศในอาคารสำนักงานขนาดกลาง ใน จ.ขอนแก่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง หรือออกแบบอาคารสำนักงานให้ได้ประสิทธิภาพ ในการประหยัดพลังงาน โดยการจำลองอาคารที่ได้จากการสำรวจ ขนาด 30x30 ม. สูง 3.5 ม. จำนวน 6 ชั้น และมีอัตราส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอาคาร 10% 30% 50% 70% และ 90% ในทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยใช้วัสดุอาคารส่วนผนังทึบ 3 ชนิด คือ 1) ผนังก่ออิฐฉาบปูน 2) ผนังคอนกรีตมวลลเบา 3) ผนังโฟมโครงคร่าวโลหะฉาบด้วยวัสดุชนิดพิเศษ (EIFS) และวัสดุผนังโปร่งแสง 3 ชนิด คือ 1) กระจกใส หนา 6 มม. 2) กระจกสีเขียวตัดแสง หนา 6 มม. 3) กระจกใส 2 ชั้น เคลือบสารที่มีค่าการแผ่รังสีต่ำ (Double Low-E Glass) นำวัสดุทั้งหมดมารวมกัน และทดสอบแผงบังแดดแนวนอน 3 รูปแบบ คือ 0 ซม. 60 ซม. และ 120 ซม. โดยพื้นที่ช่องเปิดด้านที่พิจารณามากที่สุด คือ 50% และ 90% ส่วนด้านที่ไม่พิจารณาคือ 10% โดยแยกตาม 4 ทิศทาง (ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก) โดยทดสอบด้วยโปรแกรม Enerwin-EC จากผลการทดลองพบว่า อิทธิพลของพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอาคารยิ่งมากขึ้น จะทำให้ความร้อนผ่านเข้ามาในอาคารได้มาก ส่งผลให้ค่าภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศก็จะยิ่งสูงขึ้น แม้จะมีการใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนได้ดีก็ตาม และการช่วยลดความร้อนที่จะส่งผ่านอาคารอีกทางหนึ่งคือ การติดแผงบังแดดแนวนอน ซึ่งพบว่ามีส่วนช่วยในการลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศได้สูงสุดถึง 53.21% เมื่อเทียบกับอาคารสำนักงานที่ไม่ได้ติดตั้งแผงบังแดด  
ผู้เขียน
575200001-1 น.ส. สุธาสินี ดวงมณี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0