2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเพิ่มคุณสมบัติด้านการป้องกันความร้อนของบล็อกคอนกรีตด้วยการเพิ่มวัสดุทางเลือก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 4 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 145 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ เนื่องในปัจจุบันพบว่าพื้นที่ของผนังอาคารนั้นมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่เปลือกอาคารทั้งหมด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ขึ้นเพื่อที่จะศึกษาการเพิ่มคุณสมบัติด้านการป้องกันความร้อนของบล็อกนาโนด้วยการเพิ่มวัสดุทางเลือกโดยการติดตั้งฉนวนประเภทต่างๆ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาวัสดุก่อสร้างที่มีราคาสูงซึ่งการนำเอาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือวัสดุที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมสิ่งทอ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอยู่มากมายในชุมชนหรือในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน และปัญหาวัสดุเหลือใช้ไปพร้อมๆกันอย่างบูรณาการและยั่งยืนโดยใช้ระเบียบวิจัยในเชิงทดลองด้วยการจัดสร้างเซลทดสอบจากโฟมโพลีสไตรีน หนา6 นิ้วมีการติดตั้งผนังเซลทดสอบ 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) บล็อกนาโนช่องว่างอากาศภายในบรรจุด้วยแกลบ (2) บล็อกนาโนช้องว่างอากาศภายในบรรจุด้วยเศษโฟม(3) บล็อกนาโนช่องว่างอากาศภายในบรรจุด้วยเศษผ้าและ (4) บล็อกนาโนช่องว่างอากาศภายในไม่มีการบรรจุฉนวนใดๆ ผลการทดสอบจากเซลทดสอบแสดงให้เห็นว่าเซลทดสอบที่ใช้การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติโดยเปิดเซลทดสอบด้านข้างตลอดเวลาซึ่งเป็นระบบเปิด การใช้บล็อกนาโนโดยช่องว่างอากาศภายในที่ไม่มีการบรรจุฉนวนใดๆจะทำให้เซลทดสอบมีอุณหภูมิที่ใกล้เคียงสภาวะน่าสบายและยาวนานที่สุดในขณะที่เซลทดสอบที่ปิดเซลทดสอบด้านข้างตลอดเวลาซึ่งเป็นระบบปิดการใช้บล็อกนาโนโดยช่องว่างอากาศภายในที่ไม่มีการบรรจุฉนวนใดๆ บรรจุฉนวนจากเศษโฟม บรรจุฉนวนจากเศษผ้าและบรรจุฉนวนจากแกลบ จะมีประสิทธิภาพในการลดการถ่ายเทความร้อนตามลำดับ ทำให้เซลทดสอบมีอุณหภูมิใกล้เคียงสภาวะน่าสบาย ทั้งนี้ค่าการต้านทานความร้อนของแต่ละวัสดุฉนวนมีค่าอุณหภูมิต่างกันไม่มาก แต่ต่างกันที่ช่วงระยะเวลาการหน่วงความร้อนไว้และระยะเวลาที่อุณภูมิยังคงอยู่ในสภาวะน่าสบาย At present, the tendency indicates that the area of the building wall is proportionately more when compared to the total area of the building facade. The purpose of this study was to examinetheincreasingof thermal qualificationof Nano-blocks throughaddingalternative materials tovarious typesof insulationinstallations.Theattempt aimed totacklethe problem ofhigh-priced construction materials which did notonlyutilizelocally available materials, residual materials from the textile industry, as well as agricultural residues abundantly available in the community or in thelocalenvironment inthermal insulation butalsohelp consume waste materials simultaneously in a sustainable integration manner. The research methodology involved an experiment by constructing a test cell made of six-inches thick Polystyrene foam. The test cells consisted of four wall combinations from (1) Nano block with internal air gap filled with rice husk, (2) Nano block with internal air gap filled with foam scraps, (3) Nano block with internal air gap filled with rag, and (4) Nano block with internal air gap filled with no insulation materials. The results derived from the test cell exhibited the following information: The test cell with natural ventilation i.e. opening the top side of test cell at all time, which is literally an open system, using the Nano block with internal air gap filled with no insulation materials, allowed the test cell to maintain its temperature closest to the comfort zone with longest temperature sustain. On the other hand, the closed system which shut down sides of the test cell at all time using the test cell without insulation material, with foam scraps insulation, with rags insulation, and with rice husk insulation possessed efficiency in heat transfer reduction respectively which allowed the test cell to maintain its temperature closest to the comfort zone. The heat resistance values of each insulation materials wereinsignificant intermsof temperature differencehowever, theheat retention periods and the times the temperature were able to remain within the comfort zone were found to be significantly different. 
ผู้เขียน
565200020-6 นาย พิพัฒน์พงศ์ ภูมิกอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0