2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การวิเคราะห์บนฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดการก๊าซชีวภาพ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 15 พฤศจิกายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2560) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม 2560
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยมีมากขึ้นเป็นการเลี้ยงเพื่อการค้าการอุตสาหกรรม จึงส่งผลให้เกิดปัญหามลภาวะด้านกลิ่น แมลงวัน ก่อให้เกิดความชัดแย้งกับชุมชนอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามในการแก้ไขปัญหาของของมลภาวะดังกล่าว จึงมีการนำระบบผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ในการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นเป็นการสร้างบ่อเกรอะปิดสามารถช่วยลดมลภาวะจากฟาร์มสุกรได้รวมถึงสามารถนำเอาไปใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับตั้งบ่อก๊าซชีวภาพรวมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จากโดยใช้ปัจจัย ได้แก่ ระยะห่างจากชุมชน ระยะห่างจากแหล่งน้ำ ระยะห่างจากถนน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) หาระยะทางที่เหมาะสมในการขนส่งน้ำเสียจากฟาร์มไปยังบ่อก๊าซชีวภาพโดยการวิเคราะห์โครงข่าย(Network- Analysis) หาเส้นทางที่สั้นที่สุดในพื้นที่ศึกษาอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน อำเภอชื่นชม และอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษาพบว่า สามารถเลือกที่ตั้งบ่อก๊าซชีวภาพ ได้ทั้งหมด 5 แห่ง เนื้อที่ของพื้นที่รองรับอยู่ระหว่าง 2.4 ไร่ ถึง 8.9 ไร่ จากปริมาณน้ำเสียรวมของแต่ละบ่ออยู่ที่ 47.95 ถึง 198.47 ลูกบาศก์เมตร/วัน ทำให้ได้ปริมาณก๊าซชีวภาพ อยู่ระหว่าง 203.8 ถึง 843.5 ลูกบาศก์เมตร/วัน และระยะทางที่เหมาะสมในการเก็บขนน้ำเสียจากฟาร์มไปยังบ่อก๊าซชีวภาพ 35 แห่ง อยู่ระหว่าง 1.03 กิโลเมตร ถึง 9.4 กิโลเมตร  
     คำสำคัญ ก๊าซชีวภาพ พื้นที่เหมาะสม เส้นทางที่เหมาะสม การวิเคราะห์โครงข่าย  
ผู้เขียน
555020262-3 น.ส. ยอดขวัญ โสวรรณะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0