2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) ของครู เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 ธันวาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 45 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด "ขับเคลื่อนงานวิจัยโดยนวัตกรรมจากภูมิปัญญา" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม อาคารยุพราชเบญจมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 ธันวาคม 2560 
     ถึง 3 ธันวาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 290-299 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของครู เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน แก่นนครวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกข้อมูลโพรโทคอล แบบบันทึกการสัมภาษณ์ครูผู้สอนและนักเรียน แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน และแบบประเมินผลงานนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า วิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของครู มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เป็นตัวช่วยให้วิธีการจัด การเรียนรู้ แต่ละวิธีเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ตามขั้นตอนรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เท่ากับ 48.00 คิดเป็นร้อยละ 80.00 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เท่ากับ 48.29 คิดเป็นร้อยละ 80.48 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เท่ากับ 49.43 คิดเป็นร้อยละ 82.38 และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เท่ากับ 51.29 คิดเป็นร้อยละ 85.48 จัดอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก คะแนนทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 19.51 คิดเป็นร้อยละ 65.03 อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก คะแนนทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 24.91 คิดเป็นร้อยละ 83.03 อยู่ในเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : รูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน 1นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น 40000 M.Ed Student in Curriculum and Instruction Program, Khon Kaen University, Khon Kaen 40000, Thailand. 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40000 Faculty of Education Khon Kaen University, Khon Kaen 40000, Thailand. * Correspondent author, e-mail: tire_211@hotmail.co.th ABSTRACT The objectives of this research was to investigate the use of Problem Based Learning Approach of Teachers to develop analytical reading ability of Grade 9 Students. The sample of the study consisted of a Thai Language teacher who teach Grade 9 students at Kaennakhonwitthayalai School and 35 Grade 9 students who were studying in Kaennakhonwitthayalai School in the first semester academic year 2017. The school is under the Office of Secondary Educational Service Area Office 25. The study were mixed-method, quality research and quantitative research. The research instruments used in the study consisted of 1) qualitative research instruments; learning approach observation form, protocol record form and teacher interview form 2) quantitative research instruments; pre-post test and student product evaluation form. The findings of the study revealed that the use of Problem-Based Learning Approach developed the analytical reading ability by using diverse methods and techniques to help the methods more effective by following the steps of PBL. The methods and techniques made the students’ mean score of the first lesson plan been 80.00 percent ( = 48.00), the second lesson plan been 80.48 percent ( = 48.29), the third lesson plan been 82.38 percent ( = 49.43) and the fourth lesson plan been 85.48 percent ( = 51.29). The students’ pre-test was 65.03 percent ( = 19.51). It was accepted as a very good criteria. The students’ post-test was 83.03 percent ( = 24.91). It was accepted as an excellent criteria. Analytical reading ability of grade 9 students before and after using of Problem-Based Learning Approach were statistically significant different at .05. Keywords : Problem based learning, analytical reading ability  
ผู้เขียน
585050073-1 นาง เนาวรัตน์ วิลาวรรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0