2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ วิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 ธันวาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 45 ระดับนานาชาติครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด "ขับเคลื่อนงานวิจัยโดยนวัตกรรมจากภูมิปัญญา" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม อาคารยุพราชเบญจมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 ธันวาคม 2560 
     ถึง 3 ธันวาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 233-243 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ครูใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูสอนวิชาภาษาไทยจำนวน 1 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ปีที่ 3 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบบันทึกการสังเกตการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ครู/นักเรียน 3) เครื่องบันทึกเสียง 4) เครื่องบันทึก วีดิทัศน์ 5) ผลงานนักเรียน มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยเน้นการวิเคราะห์โพรโทคอล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ปรากฏ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ขั้นการเตรียมการ ประกอบไปด้วย 1.1) นำนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนเสนอผู้บริหารโรงเรียน 1.2) กำหนดครูกลุ่มการศึกษาชั้นเรียน และ1.3) กำหนดผู้ช่วยวิจัย 2)บริบทการศึกษา ชั้นเรียนของครู พบว่ามี 4 ขั้นตอน คือ 2.1) ขั้นการตั้งเป้าหมายและวางแผน 2.2) ขั้นการวิจัยการสอน (สังเกต ชั้นเรียน ซึ่งในขั้นตอนนี้สิ่งที่ได้เรียนรู้เกิดขึ้น 4 ประเด็น คือ 2.2.1) การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ของครู 2.2.2) การจัดการเรียนรู้ของครูในชั้นเรียน 2.2.3) แนวทางการสังเกตชั้นเรียนของครู และ 2.2.4) การบันทึกการสังเกตชั้นเรียน 2.3) ขั้นการอภิปรายเกี่ยวกับการสอน 2.4) ขั้นการสรุปผลการเรียนรู้ของครู ปรากฏ 2 ประเด็น คือ 2.4.1) การสรุปผลการเรียนรู้ของครู และ 2.4.2) การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ 3) วิธีการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ภายใต้บริบทการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) พบว่ามี 4 ขั้นตอน คือ 3.1) การนำเสนอปัญหาปลาย 3.2) ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของ 3.3) ขั้นการอภิปรายทั้งชั้นและ การเปรียบเทียบ และ 3.4) ขั้นการสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ครูใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) พบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ดี คือคะแนนเฉลี่ย 13.2 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.00 และในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของ Marzano (2001) ทั้ง 5 กระบวนการ คือ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์เหตุผล การนำไปใช้ และการทำนาย ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงที่สุด 15 คะแนน ร้อยละ 100.00 คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ความแตกต่าง และแผน การจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง บทเพลงสื่อความหมาย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องโฆษณาความจริงของสังคม และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องความหลากหลายทางภาษา ได้คะแนน 14, 12, และ 10 คิดเป็นร้อยละ 93.33, 80.00 และ 66.66 ตามลำดับ ABSTRACT This research aims 1) to examine learning management of teacher use lesson study and open approach and 2) to investigate analytical ability of grade-9 students in classes where teachers use lesson study and open approach. This study is mixed method research with target group of a Thai teacher and 30 grade-9 students. The instruments for data collection included 1) observation form for learning management, 2) interview form with teacher/ students, 3) voice recorder, 4) video recorder and 5) students’ work. Qualitative data analysis focuses on analyzing protocol while quantitative data are analyzed with descriptive analysis to find mean and percentage. The study result reveals that 1. Learning management of the teacher Use lesson study and open approach included 3 issues i.e. 1) preparation consisting of 1.1) Bring lesson study innovation proposed to school administrator, 1.2) determination of teachers in lesson study group, 1.3) appointment of research assistant. 2) lesson study context of the teacher there are 4 steps including 2.1) goal setting and planning, 2.2) instruction research (class observation). In this step, learning occurs in 4 major aspects including 2.3) instruction discussion step. 2.4) teacher’s learning summary. 3)Teacher’s learning management with open approach under the context of lesson study contains there are 4 steps including 3.1) Posing Open-Ended Problem, 3.2) Students’ Self Learning, 3.3) Whole Class Discussion and Comparison, and 3.4) Summarization Through Connecting Students’ Ideas Emerged in The Classroom. 2. Analytical ability of students exercised by the teacher for lesson study and open approach is found that the target students have good analytical ability with mean score of 13.2 accounted for 88.00.Considered in each learning management plan, the students have analytical skill according to conceptual framework of Marzano (2001)in 5processes The learning management plan the students have highest analytical skill with score of 15 for 100% is the 3rd learning management plan about difference and the 4th learning management plan related to song conveying meanings followed by the 5th learning management plan on sentences for communication, the 2nd learning management plan involved to social truth advertisement and the 1st learning management plan associated with language variety with score of 14, 12 and 10 accounted for 93.33%, 80.00% and 66.66% respectively.  
ผู้เขียน
585050071-5 นาย ธนปกรณ์ ป้องศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0