2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ วิธีการสอนของครูที่ส่งผลต่อความเข้าใจเนื้อหาวรรณกรรมร้อยกรองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 ธันวาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 45 ระดับชาติ ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัยโดยนวัตกรรมจากภูมิปัญญา” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม อาคารยุพราชเบญจมงคล (อาคาร 31) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 ธันวาคม 2560 
     ถึง 3 ธันวาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 177-186 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวรรณกรรมร้อยกรองของครู และเพื่อความเข้าใจเนื้อหาวรรณกรรมร้อยกรองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ศรีกระนวนวิทยาคม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้อง รวม 40 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) คือ ผสมผสานรูปแบบการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative method) กับวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative method) การเก็บข้อมูล ดำเนินการตามขั้นตอนด้วยวิธีการสังเกตการสอนของครู การบันทึกภาคสนาม การสัมภาษณ์ครู การสัมภาษณ์นักเรียน การบันทึกวีดิทัศน์ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อสรุปผลการวิจัย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย (Descriptive Analysis) และการหาค่าเฉลี่ยและหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอนของครู ครูมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ดังนี้ 1) ครูมีวิธีการจัดบรรยากาศชั้นเรียนที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ครูมีวิธีการสอนวรรณกรรมร้อยกรองโดยเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน และมีขั้นการสอนวรรณกรรมร้อยกรอง 6 ขั้นตอน 3) ครูใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอน 4) ครูมีวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรม การตรวจผลงาน และการประเมินเป็นรายบุคคล จากวิธีการดังกล่าวได้ส่งผลให้นักเรียนมีความเข้าใจวรรณกรรมร้อยกรอง คือ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมาก ซึ่งมีนักเรียนทั้งหมด 40 คน คะแนนเต็ม 15 คะแนน นักเรียนที่เรียนเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ มีความเข้าใจเนื้อหาวรรณกรรมร้อยกรองเพิ่มขึ้น คือ คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 5.45 คิดเป็นร้อยละ 36.33 เพิ่มขึ้นเป็นคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.60 คิดเป็นร้อยละ 72.00 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มทุกคน ทั้งนี้นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาร้อยกรองเพิ่มขึ้นจากเดิม คือ มีค่าผลต่างคะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 5.15 คิดเป็นร้อยละ 35.67 คำสำคัญ : วิธีการสอนของครู , วรรณกรรมร้อยกรอง ABSTRACT The purposes of this research were to study teaching method of teacher that affects to the poetry Comprehension of upper secondary school students and to enhance upper secondary school students'Comprehension on poetry. The sample group was a teacher who teaches Thai to Grade 10 students and 40 students of Grade 10 who enrolled the second semester, class of 2016 at Si Kranuan Wittayakhom School, Kranuan district, Khon Kaen. The primary data of this study consisted of observing instructions, field note, interview both teacher and students, and video recording. Mixed method is used for this research, which is the combination of qualitative and quantitative. Data were collected and analyzed via descriptive analysis by presenting means and percentages. The teacher’s instructional models results were as follows: teacher arranged good classroom atmosphere to support student’s learning skills; teacher taught poetry using cooperative learning model by six steps teaching; teacher used various media instructions; and teacher evaluated students by various methods such as behavior observation, worksheet scores, and individual evaluation. The result show that : cooperative learning model by six steps teaching on student’s poetry comprehension, the finding showed that the post-test score of students were sharply higher than the pre-test score from 40 students. The full score are 15 points. There were 36.33% students, who studied the Mongkolasoot poetry, had been comprehended poetry. The average score was 5.45 and increased to 10.60 after applying cooperative learning model by six steps teaching, which were 72% of students. All students achieved criterion at 60% that showed students comprehended poetry than before. The difference of average score were 5.15 or 35.67%. KEYWORDS : TEACHING METHOD OF TEACHER , THE POETRY  
ผู้เขียน
585050221-2 น.ส. นฤมล พิพัธนบรรจง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0