2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ วิธีการสอนที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 ธันวาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานานชาติ ครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 45 ระดับนานานชาติครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด "ขับเคลื่อนงานวิจัยโดยนวัตกรรมจากภูมิปัญญา" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม อาคารยุพราชเบญจมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 ธันวาคม 2560 
     ถึง 3 ธันวาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ PED244 - PED 254 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการสอนของครูภาษาไทย ที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 1 คน และนักเรียนจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) กล้องบันทึกวีดิทัศน์ 2) แบบสังเกต 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบบันทึกภาคสนาม 5) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงบรรยาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีการสอนของครูที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ แยกออกได้ 4 ด้าน ดังนี้ 1) การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ประกอบด้วย 1.1) รูปแบบการจัดโต๊ะเรียนเป็นแบบกลุ่ม 1.2) การจัดวางสื่อรูปแบบที่หลากหลาย 1.3) สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน 2) ขั้นตอน/วิธีการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ มี 6 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 การสอนอ่านและเขียนพยัญชนะ ขั้นที่ 2 การสอนอ่านและเขียนสระพร้อมการอ่านแจกลูกสะกดคำ ขั้นที่ 3 การสอนอ่านเป็นคำ (คำที่ไม่มีตัวสะกด) ขั้นที่ 4 การสอนเขียนคำที่ไม่มีตัวสะกด ขั้นที่ 5 การสอนอ่านคำที่มีตัวสะกดคำ ขั้นที่ 6 วิธีการสอนเขียนคำที่มี 3) สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 3.1) สื่อวัสดุ 3.2) สื่อเทคนิคหรือวิธีการ 3.3) สื่อโสตทัศนูปกรณ์ 3.4) สื่อวัสดุซอพท์แวร์ ที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ 4) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 4.1) การสังเกตพฤติกรรม 4.2) การตรวจผลงาน 4.3) การประเมินเป็นรายบุคคล 2. ความสามารถในด้านการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในด้านการอ่าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 17.19 คิดเป็นร้อยละ 85.95 เมื่อนำคะแนนไปแปลผลเป็นระดับคุณภาพ พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านออกในระดับดีมาก จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 86.20 และอยู่ในระดับดีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.79 2) ความสามารถด้านการเขียนได้ มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 9.1 คิดเป็นร้อยละ 91 เมื่อนำคะแนนไปแปลผลเป็นระดับคุณภาพ พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนได้ในระดับดีมาก จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 82.75 และอยู่ในระดับดีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 17.24 The objectives of this research were to investigate 1) teaching method of Thai language teachers affect to the literacy of grade 1 Student and 2) literacy of grade 1 Student. This research was a mixed method. The sample of this research was a teacher and 29 Prathom Suksa 1/2 Students. The instruments used for data collection were 1) camera recorder, 2) observation form, 3) interview form, 4) field note, and 5) literacy test. The data was analyzed qualitatively by descriptive method and quantitatively by mean and percentage. The findings were as follows: The teaching method affect to the literacy were classified into 4 aspects as follows: 1) classroom management including 1.1) classroom seating arrangement in groups, 1.2) a variety of media placement, 1.3) classroom, 2) teaching steps/methods enabling students’ literacy consisting of 6 steps as follows: Step 1 Teaching to read and write; Step 2 Teaching to read and write vowels, as well as to read spelling distribution; Step 3 Teaching to read in words (no final consonant); Step 4 Teaching to write words with no final consonant; Step 5 Teaching to read words with final consonant; Step 6 Teaching to write words with final consonant ; 3) instructional media consisting of 3.1) materials, 3.2) technical media or methods, 3.3) audiovisual media, and 3.4) software materials employing hardware equipment), and 4) measurement and evaluation consisting of 4.1) behavior observation, 4.2) product evaluation, and 4.3) individual evaluation. Literacy of Prathom Suksa 1 students consisted of the following aspects: 1) In term of reading literacy, the total average score was 17.19 (the percentage of 85.95). When interpreting the scores into the quality level, 25 of the students were at an excellent level of reading literacy accounting for the percentage of 86.20 and 4 students were at a high level accounting for the percentage of 13.79; and 2) In tern of writing literacy, the total average score was 9.1 (the percentage of 91). When interpreting the scores into the quality level, 24 of the students were at an excellent level of writing literacy accounting for the percentage of 82.75 and 5 students were at a high level accounting for the percentage of 17.24.  
ผู้เขียน
585050077-3 น.ส. สาวิตรี หล่มธรรมมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0