2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเพิ่มกำลังการผลิตในการดำเนินการรับเข้าและส่งออกของคลังสินค้าเครื่องดื่ม ด้วยการวิธีปรับปรุงการดำเนินการขนถ่าย : กรณีศึกษาบริษัทกระจายสินค้าเครื่องดื่ม  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 ตุลาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมเชิงสัมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่17 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมบุรี ศรีภู บูติก หาดใหญ่  
     จังหวัด/รัฐ สงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 19 ตุลาคม 2560 
     ถึง 20 ตุลาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 26 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ในปัจจุบันธุรกิจเกี่ยวกับด้านการขนส่งได้เติบโต และขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งในกระบวนการจัดการคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนด้านขนส่ง และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้า ทั้งในเรื่องของเวลาในการดำเนินการ คุณภาพ และมาตรฐานในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าตามความต้องการ จึงต้องพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการงานในคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า ทั้งในด้านการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานด้านขนส่ง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ทางผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษากระบวนการทำงานของบริษัทกระจายสินค้าเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง ที่มีการเติบโตของธุรกิจโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มในอนาคตที่จะโตเพิ่มขึ้นอีก 200% ในปี 2563 ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้ทฤษฎีผังงาน (Flow chart) และเทคนิคแผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต (Flow Process-Chart) พบปัญหาในเรื่องของการรับเข้า (Inbound) และโหลดสินค้าส่งออก (Outbound) ของคลังสินค้า ที่มีจำนวนรถเข้ามาส่งและโหลดสินค้าเพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจ ปัจจุบันในการโหลดสินค้า (Loading) ทั้งรับเข้าและส่งออกเฉลี่ยประมาณ 12 คันต่อชั่วโมง โดยกระบวนการทำงานของบริษัทกระจายสินค้าเครื่องดื่มนี้ มีการขนถ่ายแบบขึ้นและลงด้านข้างรถ (Side Load) โดยใช้รถโฟร์คลิฟท์ ทางผู้วิจัยจึงมีความต้องการกำลังการผลิตในการดำเนินการรับเข้าและส่งออกของคลังสินค้าเครื่องดื่มนี้ให้สูงขึ้น โดยนำวิธีการปรับปรุงการดำเนินการขนถ่าย ซึ่งทำการประยุกต์ทฤษฎีการขนถ่ายวัสดุ มาใช้ในการแก้ปัญหาในขั้นตอนการรับเข้าและโหลดสินค้าส่งออกของคลังสินค้า หลังจากการดำเนินการแก้ไขวิธีการขนถ่ายจากเดิม การขนถ่ายเป็นแบบขนสินค้าขึ้นและลงด้านข้างรถ ได้เปลี่ยนเป็นขนถ่ายแบบขึ้นและลงด้านหลังรถ (Back Load) โดยใช้แรงงานเท่าเดิม พบว่า ขนถ่ายแบบขึ้นและลงด้านหลังรถ สามารถเพิ่มกำลังการผลิตโหลดสินค้าทั้งรับเข้าและส่งออกจากเดิมได้เฉลี่ยประมาณ 12 คันต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 15 คันต่อชั่วโมง คิดเป็น 25% จากเดิม  
ผู้เขียน
585040040-2 น.ส. สุภาวิณี โสภิณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0