2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ไฟโบรบลาสท์ที่สัมพันธ์กับมะเร็ง: กำเนิดไฟโบรบลาสท์ชนิดใหม่หรือระยะของเซลล์ที่แตกต่างกัน (Cancer Associated Fibroblasts (CAFs): a New Subtype or a Different Cell State?) 
Date of Acceptance 6 October 2017 
Journal
     Title of Journal ศรีนครินทร์เวชสาร (Srinagarind Medical Journal) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 08573123 
     Volume 32 
     Issue
     Month พฤศจิกายน-ธันวาคม
     Year of Publication 2017 
     Page 603-609 
     Abstract สโตรมาหรือโครงร่างค้ำจุนเนื้อเยื่อ ประกอบด้วยเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น ไฟโบรบลาสท์ เซลล์ภูมิคุ้มกัน เซลล์เยื่อบุหลอดเลือด และเมทริกซ์ภายนอกเซลล์ ทำหน้าที่รักษารูปร่างของเนื้อเยื่อ โดยสโตรมาจะเกิดการปรับเปลี่ยนรูปร่างเมื่อเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเพื่อซ่อมแซมบาดแผล ซึ่งกระบวนการนี้ จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตอบสนองต่อการอักเสบเรื้อรังในเนื้อเยื่อมะเร็งทำให้เกิดการเจริญผิดปกติของพังผืด “คล้ายแผลที่ไม่มีวันหาย” ซึ่งคุณลักษณะนี้เรียกว่า desmoplastic reaction เป็นลักษณะเด่นของมะเร็งหลายชนิด จากการศึกษาพบว่าไฟโบรบลาสท์ในเนื้อเยื่อมะเร็งแตกต่าง จากไฟโบรบลาสท์ปกติ จึงเรียกว่า cancer-associated fibroblast (CAF) เชื่อว่า CAF มีต้นกำเนิดจาก 3 แหล่ง ได้แก่ 1) จากไฟโบรบลาสท์ในอวัยวะ 2) เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูก หรือ 3) เปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์มะเร็ง พบว่า CAF ทำหน้าที่ส่งเสริมเซลล์มะเร็ง เช่น กระตุ้นการเพิ่มจำนวน ยับยั้งการตาย ส่งเสริมการแพร่กระจาย รวมทั้งทำให้ดื้อยา ต้านของเซลล์มะเร็งผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ การศึกษาทางห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองพบว่า เมื่อเหนี่ยวนำให้ CAF เปลี่ยนกลับเป็นไฟโบรบลาสท์ปกติจะเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตาย ชะลอการเจริญเติบโตของมะเร็ง ยับยั้งการแพร่กระจาย และลดการดื้อยาของมะเร็งได้ ดังนั้นการรักษาที่เน้นกำจัด เซลล์มะเร็ง ร่วมกับการรักษาเซลล์แวดล้อมของมะเร็ง จึงเป็นแนวทางการรักษาแบบใหม่ที่น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ 
     Keyword Cancer associated fibroblasts 
Author
595070011-2 Miss PAKSIREE SARANARUK [Main Author]
Medicine Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis false 
Attach file
Citation 0