2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน Effect of storage time on quality of vermicompost  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 11 มกราคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 5 The 5th National Soil and Fertilizer Conference 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม กรมพัฒนาที่ดิน, สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย, สมาคมอนุรักษ์ดินและน้าแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 สิงหาคม 2560 
     ถึง 2 สิงหาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 69-74 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีมุ่งเน้นการใช้อินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเป็นอีกหนึ่ง ทางเลือก เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยให้โครงสร้างของดินดีขึ้น มีกรดฮิวมิก ซึ่งสามารถกักเก็บธาตุอาหารที่จาเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ ซึ่งในระหว่างการเก็บรักษา คุณภาพของปุ๋ยอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษา (0, 3, 6, 12, 18 และ 24 เดือน) ต่อสมบัติของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ซึ่งปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ศึกษาได้จากไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eudrilus eugeniae ให้ ผัก:ดิน: มูลวัว: ขี้เถ้า เป็นอาหาร ในอัตราส่วน 4:3:2:1 จากผลการทดลองพบว่า คุณภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาในการเก็บรักษา ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่เก็บรักษาเป็นเวลา 3 เดือน ยังคงมีประสิทธิภาพดี คือ มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (6.52) ค่าการนาไฟฟ้า (4.88dS/m) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร และมีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหาร รองสูงสุด คือ ไนโตรเจน 0.88 % ฟอสฟอรัส 1.83 % โพแทสเซียม 0.54 % แคลเซียม 2.54 % แมกนีเซียม 0.46% ในขณะที่ปริมาณแบคทีเรีย เชื้อราและแอคติโนมัยซีท มีค่า 73.83 x 104, 21.18 x 102 และ 19.55 x 102 cfu/g ตามลาดับ และพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือนปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและปริมาณจุลินทรีย์ ค่าการนาไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลงค่าความเป็นกรด-ด่างมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระยะเวลาในการเก็บรักษาส่งผลต่อคุณภาพของปุ๋ยหมักมูไส้เดือน ดินเปลี่ยนแปลงไป คาสาคัญ : คุณภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน, ระยะเวลาการเก็บรักษา, ไส้เดือนดิน Abstract Organic farming is an agriculture system that relies on using organic substance such as vermicompost. Application of vermicompost improves the soil structure and it comprises humic acid which stores nutrient for plant growth. However, during storage the vermicompost, it’s quality might change. The aim of this study was to investigate the changes in the properties of the vermicompost when stored after 0, 3, 6, 12, 18 and 24 months. The vermicompost used in this study came from the Eudrilus eugeniae composting worms, fed with vegetable, soil, cow manure, and ashes of 4:3:2:1 ratio.The results found that storage times affected on the properties of vermicompost. The results found that the quality of vermicompost stored for 3 months at room temperature was still in efficiency. The pH 6.52, electrical conductivity 4.88 were all meet the standard of the organic fertilizer. The nutrients contained 0.88% of nitrogen, 1.83% of phosphorus, 0.54% potassium, 2.54% of calcium, 0.46 % magnesium and the bacteria, fungi and actinomycetes were found 73.83 x 104, 21.18 x 102 and 19.55 x102 cfu/g respectively. After 6 months, trend of the macronutrient, micronutrient elements, electrical conductivity and microorganism decreased but trend of the pH increased. Therefore, storage time affect the quality of vermicompost. Keywords : vermicomposting quality, storage time, earthworm 
ผู้เขียน
585030065-2 น.ส. ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0