2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความรู้และการปฏิบัติในการปลูกปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรจังหวัดหนองคาย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มกราคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 19 ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มกราคม 2561 
     ถึง 30 มกราคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ 1 2561 
     หน้าที่พิมพ์ 140 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติในการปลูกปอเทืองในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรจังหวัดหนองคายกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดหนองคายที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน ปี พ.ศ.2558 จำนวน 187 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ.2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 86.1 มีอายุเฉลี่ย 51.9 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาโดยในรอบปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2558) เกษตรกรมีผลผลิตข้าวต่อไร่เฉลี่ย 378.3 กก.มีการติดต่อและได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องการปลูกปอเทืองจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยผ่านวิธีการประชุม การฝึกอบรม และเยี่ยมแปลงเกษตรกร ด้านปัญหาในการปลูกปอเทืองที่สำคัญ คือ ได้รับเมล็ดพันธุ์ล่าช้า โดยเกษตรกรมีความรู้ในการปลูกปอเทืองในพื้นที่นาข้าวอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำนา และผลผลิตข้าวต่อไร่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ในการปลูกปอเทืองในพื้นที่นาข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเกษตรกรมีการปฏิบัติในการปลูกปอเทืองในพื้นที่นาข้าวอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษาและผลผลิตข้าวต่อไร่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติในการปลูกปอเทืองในพื้นที่นาข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ข้อเสนอแนะควรมีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ปอเทืองในพื้นที่ให้ทั่วถึง การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูกปอเทืองในนาข้าวให้กับเกษตรกร การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรปลูกปอเทือง และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการปลูกปอเทืองผ่านสื่อที่มีความหลากหลาย 
ผู้เขียน
575030050-4 น.ส. อินทุอร สินธุชาติ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0