2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความคิดเห็นต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคผักคะน้าของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มกราคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 19 ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มกราคม 2561 
     ถึง 30 มกราคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ 1 2561 
     หน้าที่พิมพ์ 149 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคผักคะน้าของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น มีเกษตรกรผู้ปลูกผักคะน้าทั้งหมด 122 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จะได้จำนวน94 ราย ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อมูลที่สัมภาษณ์เป็นข้อมูลในปี พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ความถี่ เฉลี่ยเลขคณิต ต่ำสุด สูงสุด เบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกผักคะน้าเฉลี่ย 0.8 งาน เกษตรกรทุกรายใช้ข้าวสารเป็นเมล็ดธัญพืชที่ใช้ ในการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา และใช้หัวเชื้อผงสปอร์แห้ง โดยได้รับหัวเชื้อมาจากสำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัดมีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตขยายเชื้อราเอง เกษตรกรมีประสบการณ์ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเฉลี่ย 4.5 ปี โดยใช้เชื้อรา ในรูปเชื้อสด ใช้วิธีผสมน้ำฉีดพ่นลงในแปลงผักคะน้า และไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา และปุ๋ยเคมี สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคผักคะน้าจำนวน 5 ด้าน 37 ประเด็นพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยในระดับมาก 35 ประเด็น และเห็นด้วยในระดับน้อย 2 ประเด็น และผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า เกษตรกรที่มีอายุ พื้นที่ปลูกผักคะน้า ประสบการณ์ในการปลูกผักคะน้า และประสบการณ์ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ และคำแนะนำแก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น เพื่อให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถผลิตขยายเชื้อราไว้ใช้เองได้  
ผู้เขียน
565030060-0 นาย ธานินทร์ ชัชวัชวิมล [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0