2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กระบวนการยอมรับการใช้โสนอัฟริกันในการปรับปรุงดินเค็มในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกร ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มกราคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเกษตรครั้งที่ 19 ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มกราคม 2561 
     ถึง 30 มกราคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ 1 2561 
     หน้าที่พิมพ์ 847-852 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการยอมรับการใช้โสนอัฟริกันในการปรับปรุงดินเค็มในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกร ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ใน 4 ขั้นตอนตามทฤษฎีการยอมรับของ Roger และ Shoemaker ได้แก่ ขั้นความรู้ ขั้นจูงใจ ขั้นตัดสินใจ และขั้นยืนยัน ประชากร คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นดินเค็มของสถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี พ.ศ. 2558 จำนวน 200 ราย ทำการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ซึ่งคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมได้ จำนวน 134 ราย และใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงกันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการยอมรับการใช้โสนอัฟริกันในการปรับปรุงดินเค็มในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรเป็นไปตามทฤษฎีในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นความรู้ เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้โสนอัฟริกัน จำนวน 76 ราย (ร้อยละ 56.7) ซึ่งมีระดับความรู้อยู่ในระดับน้อย (2) ขั้นจูงใจ เกษตรกรมีการจูงใจเกี่ยวกับการใช้โสนอัฟริกัน จำนวน 71 ราย (ร้อยละ 53.0) ซึ่งมีระดับการจูงใจอยู่ในระดับน้อย (3) ขั้นตัดสินใจ เกษตรกรมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้โสนอัฟริกัน จำนวน 61 คน (ร้อยละ 45.5) ซึ่งมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับไม่แน่ใจ และ (4) ขั้นยืนยัน เกษตรกรมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โสนอัฟริกัน จำนวน 19 คน (ร้อยละ 14.2) ซึ่งมีระดับการยืนยัน อยู่ในระดับปฏิบัติน้อย ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ด้านการเกษตร ควรมีการสื่อสารกับเกษตรกรหลังจากการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง อาจกระทำโดยการใช้สื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ และวิทยุ ซึ่งเป็นสื่อที่เกษตรกรคุ้นเคยให้มากขึ้น เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมวางแผนการส่งเสริมการใช้โสนอัฟริกัน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร ได้แก่ เมล็ดพันธุ์โสนอัฟริกัน และการจัดรวมกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกต่อการสนับสนุนเครื่องจักรในการเตรียมดิน และการไถกลบโสนอัฟริกันให้กับเกษตรกร เป็นต้น 
ผู้เขียน
575030049-9 นาย อรรถพล ไชยมาลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0