2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิตามการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มกราคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 19 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มกราคม 2561 
     ถึง 30 มกราคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) พิเศษ 1 2561 
     หน้าที่พิมพ์ 131-132 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัตุประสงค์เพื่อศึกษา คือ 1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และการได้รับการส่งเสริม 2) สภาพ การผลิตและปัญหาในการผลิตข้าวหอมมะลิตามการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร 3) การยอมรับเทคโนโลยี การผลิตข้าวหอมมะลิตามการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร และ 4) เปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีการผลิต ข้าวหอมมะลิตามการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรที่มีสภาพพื้นฐานทั่วไป และสภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ บางประการที่แตกต่างกัน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 135 ราย ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบ สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ เฉลี่ยเลขคณิต ต่ำสุด สูงสุด เบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผล จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศหญิงร้อยละ 53.3 อายุเฉลี่ย 52.5 ปี จบประถมศึกษา มีขนาดพื้นที่ถือ ครองเฉลี่ย 17.7 ไร่ ในปี พ.ศ. 2558 มีรายได้เฉลี่ย 79,862.96 บาท/ครัวเรือน มีภาระหนี้สินเฉลี่ย 42,819.26 บาท/ครัวเรือน ในปี พ.ศ. 2555 -2558 เกษตรกรทุกรายเคยเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรของโครงการฯ และได้รับการตรวจประเมินจาก เจ้าหน้าที่ 6 ครั้ง/ปี เกษตรกรทำนาเฉลี่ย 17.3 ไร่ โดยวิธีการหว่าน พบโรคในนาข้าว การระบาดของแมลงหรือศัตรูพืช และ วัชพืชเพียงเล็กน้อย ในรอบปี 2558 เกษตรกรผลิตข้าวหอมมะลิเฉลี่ย 5,145.9 กก./ครัวเรือน และมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 27,492.81บาท การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิตามการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสม พบว่า โดยภาพรวมยอมรับเทคโนโลยีในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ และคำแนะนำแก่เกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวหอมมะลิให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการผลิตข้าวหอมมะลิ  
ผู้เขียน
555030051-0 นาย ณรงฤทธิ์ เภาสระคู [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0