2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การออกแบบเครื่องประดับสตรีร่วมสมัยจากแรงบันดาลใจสำริดบ้านเชียงด้วยเทคโนโลยีสามมิติ  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 กันยายน 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     ISBN/ISSN ISSN 2229-2802 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 147 
     บทคัดย่อ หนึ่งในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการผลิตสำคัญ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย คืออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ แต่ในปัจจุบันการส่งออกเครื่องประดับของไทยมีแนวโน้มลดลง มาจากผลการที่ประเทศคู่แข่งในตลาดหลายประเทศสามารถผลิตเครื่องประดับได้ต้นทุนที่ต่ำกว่า จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัย การออกแบบเครื่องประดับสตรีร่วมสมัยจากแรงบันดาลใจสำริดบ้านเชียงด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบลวดลายโบราณวัตถุเครื่องประดับสำริดยุคก่อนประวัติศาสตร์อารยธรรมบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อออกแบบเครื่องประดับสตรี ในรูปแบบร่วมสมัยด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจ ในชุดเครื่องประดับสตรีร่วมสมัยโดยขั้นตอนการออกแบบใช้เทรนด์การออกแบบเครื่องประดับปี2017 เครื่องประดับที่สื่อความเป็นตัวตนสไตล์ชนเผ่า ในรูปแบบลวดลายจากหมวดหมู่ธรรมชาติของสำริดอารยธรรมบ้านเชียงซึ่งแสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์สร้างตัวเรือนด้วยวัสดุโลหะเงิน วิธีวิจัยโดยศึกษารูปแบบลวดลายโบราณวัตถุเครื่องประดับสำริด ยุคก่อนประวัติศาสตร์อารยธรรมบ้านเชียงอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำริด 80 ชิ้นและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านบ้านเชียง แบ่งหมวดหมู่ได้จำนวน 12 ลวดลาย สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลายธรรมชาติ 7 ลาย ลายพืช,ลายสัตว์,ลายจากสภาพแวดล้อมและกลุ่มลายเรขาคณิต จำนวน 5 ลาย ซึ่งจากการศึกษากระบวนการออกแบบการปั้นโมเดลเครื่องประดับและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตเครื่องประดับและผู้เชี่ยวชาญการตลาด ในการขึ้นรูปทรงวาดลวดลายที่ถอดอัตลักษณ์สำริดบ้านเชียงลงบนชิ้นงานด้วยโปรแกรม 3 มิติ ผลสรุปได้ว่าการออกแบบและผลิตด้วยเทคโนโลยี 3 มิติทำให้การออกแบบและผลิตสามารถลดขั้นตอนได้ 2กระบวนการ เนื่องจากแบบที่ผลิตจะได้โมเดลต้นแบบเป็นวัสดุเรซิ่นจากนักออกแบบสู่ช่างผลิตโดยตรง ต่างจากเดิมที่ช่างเครื่องประดับต้องแกะแม่พิมพ์แว็กซ์เทียนหล่อต้นแบบจากแบบ 2 มิติเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถลดระยะเวลาการผลิตลงได้ ข้อเสนอแนะผู้ประกอบการเครื่องประดับขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถนำวิธีการไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและผลิตในแต่ละสถานประกอบการเครื่องประดับเพื่อการแข่งขันทางการค้าเครื่องประดับไทยต่อไป  
     คำสำคัญ เครื่องประดับ, ลวดลายสำริดยุคก่อนประวัติศาสตร์, บ้านเชียง, เทคโนโลยีสามมิติ 
ผู้เขียน
575200027-3 นาย นิติ นิมะลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0