2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งของประเทศไทยต่อการขนส่งสินค้าน้ำตาล กรณีศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
Date of Distribution 18 July 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 22 
     Organiser สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)  
     Conference Place เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  
     Province/State นครราชสีมา 
     Conference Date 18 July 2017 
     To 20 July 2017 
Proceeding Paper
     Volume 22 
     Issue 22 
     Page 406-413 
     Editors/edition/publisher บริษัท โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง จำกัด 505-507 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000  
     Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ ศักยภาพ แนวโน้ม สภาพปัญหาและอุปสรรคของการขนส่งสินค้าน้ำตาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งของประเทศไทย โดยเน้นที่ระบบโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยการสำรวจภาคสนาม พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้ประกอบการต่าง ๆ จากการสำรวจภาคสนามและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการยังเน้นใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักเนื่องจากการขนส่งทางระบบราง มีปัญหาด้านความล่าช้า ความไม่ตรงต่อเวลา สินค้าปนเปื้อนสิ่งสกปรก สินค้าเสียหาย และ สูญหาย และขาดเส้นทางการเชื่อมต่อไปยังคลังสินค้าและท่าเรือโดยตรง โดยจะพิจารณาร่วมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมและขนส่งของประเทศไทย ภายใต้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการขนส่งสินค้า เพื่อคาดการณ์ปริมาณการขนส่งและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง ประกอบด้วย 3 สถานการณ์ ได้แก่ กรณีที่ 1 ไม่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (กรณีฐาน) กรณีที่ 2 ปรับปรุงโครงข่ายทางถนนและพัฒนาทางพิเศษระหว่างเมือง กรณที่ 3 พัฒนาโครงข่ายระบบรางทั้งหมด พบว่า กรณีที่ 1 การขนส่งสินค้าน้ำตาลยังเป็นการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ร้อยละ 99 ส่วนการขนส่งทางรางมีประมาณร้อยละ 1 กรณีที่ 2 ปริมาณการขนส่งทางถนนเพิ่มขึ้น แต่การขนส่งสินค้าทางระบบรางจะลดลง และกรณีที่ 3 การขนส่งสินค้าน้ำตาลจะเปลี่ยนไปใช้ระบบรางมากขึ้นซึ่งจากการศึกษาจะเห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางระบบรางจะส่งผลต่อการขนส่งสินค้าน้ำตาลเป็นอย่างมาก  
Author
575040036-2 Mr. NATTAPHON BHONSATTAYAWONG [Main Author]
Engineering Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0