2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สรรเสริญพระบารมี บทเพลงสำคัญดุริยางค์เหล่าทัพและตำรวจ : ลักษณะทางดนตรีจากวงโยธวาทิต 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 กุมภาพันธ์ 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
     ISBN/ISSN 22290141 
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน 2562
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ สรรเสริญพระบารมี บทเพลงสำคัญดุริยางค์เหล่าทัพและตำรวจ : ลักษณะทางดนตรีจากวงโยธวาทิต Thai Royal Anthem. The Song is important for the Royal Thai army and police Bands : a musical characteristics from military bands. บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อได้แก่ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาบทเพลงสรรเสริญพระบารมี 2. ศึกษาลักษณะเฉพาะทางดนตรีวงโยธวาทิต เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. แบบสัมภาษณ์ 2. ทฤษฎีการวิเคราะห์ดนตรี ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับปัจจุบันใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2414 เพื่อการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าแผ่นดิน (Saluting) ประพันธ์โดยครูยูเซ่น จนถึงปี พ.ศ. 2431 มีการปรับปรุงโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) เนื้อร้องที่ใช้ในปัจจุบันแก้ไขโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้นิพนธ์เนื้อร้องโดยมีการบรรเลงเป็นครั้งแรก ณ ศาลายุทธนาธิการในปี พ.ศ. 2431 ปรากฏการณ์ที่ส่งผลก่อเกิด พัฒนาการบทเพลงสำหรับถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ คือ การได้รับประสบการณ์ใหม่ จากการเสด็จประพาสยังต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความต้องการเลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติที่ส่งเสริมคุณค่าของบทเพลงตามบทบาทหน้าที่ การถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าแผ่นดินนั้นในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ปฏิบัติตามแบบของทหารตะวันตกที่มีดนตรีประกอบและนำมาสู่เพลงสรรเสริญพระบารมีในรัชกาลที่ 5 2. ลักษณะเฉพาะทางดนตรีวงโยธวาทิต พบ การเกลาเสียงทำนองที่มีการกระโดดคู่กว้างบ่อยครั้งด้วยการสร้างทำนองประกอบที่มุ่งเน้นการวางกรอบกฎเกณฑ์ทางดนตรีคลาสสิก ส่งผลให้มีความราบรื่นทางทำนอง การประสานเสียงใช้ระบบทบสามเป็นหลักซึ่งส่งผลให้เกิดการพลิกกลับในแนวต่างๆ เพื่อสร้างสมดุลของเสียงประสานที่มีความไพเราะราบรื่นทางการดำเนินคอร์ด สำหรับการจัดวางเครื่องดนตรีที่มุ่งเน้นการสร้างทำนองให้โดดเด่นด้วยการทบคู่ 8 ในกลุ่มเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม มุ่งเน้นทำนองในกลุ่มเครื่องลมไม้ รวมถึงการสร้างทำนองประกอบและทำนองสอดประสานในแนวเบสช่วยให้บทเพลงมีความเป็นเอกภาพทางทำนองประกอบ และเป็นเอกลักษณ์สำคัญอันโดดเด่นของเพลง ส่งผลให้บทเพลงมีการเคลื่อนที่ทางทำนองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลักการประสานเสียงแบบโน้ตต่อโน้ตตามแบบทฤษฎีการประพันธ์เพลงดนตรีตะวันตก คำสำคัญ เพลงสรรเสริญพระบารมี, ลักษณะทางดนตรีวงโยธวาทิต, ดุริยางค์เหล่าทัพ Abstracts This research has two objectives: 1. To study the history of the Anthem. 2. To study the musical characteristics of the military band. Is qualitative research The Research tools used in this study are divided into 2 types: 1. Interview 2. Music Analysis Theory Research results showed that. 1. Thai Royal Anthem The present edition has been in use since 1871 for Saluting, authored by Mr.Usen until 1888, updated by Pyotr Schurovsky. The lyrics used today are edited by Her Royal Highness The Prince of Phraya Narisara Nuwattiwong. The song was first played at the Yard in 1888, a phenomenon that resulted in The development of the song for the King is a new experience. From abroad to travel during the reign of King Chulalongkorn. This reflects the change brought about by the need to imitate foreign culture that promotes the value of a role-playing song. The reign of King Rama IV was followed by the Western style of music that led to the anthem of King Rama V. 2. Musical Particle The brass band encounters a hint of melody that often jumps with a melody that is focused on the classical musical framework. Resulting in a smooth melody. The Harmonize uses a tertain system, which results in a variety of reversals. To balance the harmonics with smooth melodic chord progression. For arranging musical instruments that focus on creating melody to stand out by 8¬thoctave in each instrument group. Focus on the wind instrument cluster. Including the counter melody and harmony in the bass line to help the song has a unified melody composition. And a unique distinctive feature of music. As a result, the song has a continuous melody. In accord with the principle of note-to-note, the note is based on the theory of Western music. Keywords Anthem, Music characteristics, Military bands  
     คำสำคัญ เพลงสรรเสริญพระบารมี, ลักษณะทางดนตรีวงโยธวาทิต, ดุริยางค์เหล่าทัพ 
ผู้เขียน
567220007-0 นาย อัศวิน นาดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0