2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนามาตรวัดบุคลิกภาพของเมือง (The Development of City Personality Scale) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 มีนาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN 2286-7910 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า 58-70 
     บทคัดย่อ บุคลิกภาพของเมือง คือ การนำบุคลิกภาพของมนุษย์มาประยุกต์ใช้ในบริบทของเมือง ซึ่งที่ผ่านมามีการศึกษาไม่มากนัก ที่แบ่งเมืองเป็นกลุ่มตามประเภทของเมือง โดยใช้แนวคิดประโยชน์ใช้สอยและความเพลิดเพลินทางอารมณ์เพื่อใช้ในการสร้างมาตรวัด จึงทำให้บุคลิกภาพของเมืองที่ได้อาจไม่สะท้อนบุคลิกภาพของเมืองอย่างแท้จริง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดบุคลิกภาพของเมืองโดยเฉพาะ ด้วยการแบ่งเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ เมืองที่เน้นประโยชน์ใช้สอย เมืองที่เน้นคุณค่าความหมาย และเมืองที่มีทั้งประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าความหมาย วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ โดยส่วนแรกใช้การสัมภาษณ์เพื่อค้นหาลักษณะบุคลิกภาพในบริบทของเมือง ส่วนต่อมาใช้ลักษณะบุคลิกภาพของเมืองที่ได้จากส่วนแรกมาสร้างแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันด้วยวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์แบบวิธีความควรจะเป็นสูงสุด เพื่อสกัดบุคลิกภาพของเมือง ผลการศึกษาพบว่า บุคลิกภาพของเมือง ประกอบด้วย 3 มิติ โดยมีลักษณะบุคลิกภาพ รวมทั้งสิ้น 25 ลักษณะดังนี้ มิติแรก คือ น่าคบหา (เช่น สุภาพและอัธยาศัยดี) มิติถัดมา คือ แข็งกระด้าง (เช่น ไม่น่ารักและไม่น่าไว้วางใจ) และมิติสุดท้าย คือ เป็นคนรุ่นใหม่ (เช่น เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ และน่าตื่นเต้น) โดยมาตรวัดนี้มีความเชื่อมั่นเชิงประกอบ (C.R. = 0.91, 0.91, 0.83) ความเชื่อมั่นด้วยวิธีวัดซ้ำ (r = 0.711) และมีความตรงเชิงคล้อยตาม (AVE = 0.53, 0.63, 0.51) รวมทั้งมีความเที่ยงตรงเชิงจำแนก (รากที่สองของ AVE = 0.73, 0.79, 0.71) การวิจัยนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้มาตรวัดบุคลิกภาพของเมืองมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น และสร้างความโดดเด่นให้กับเมืองอันเกิดจากการกำหนดมิติบุคลิกภาพให้กับเมืองได้อย่างเหมาะสม City personality refers to the application of human personality to the city context. Previously, few studies on the city personality have selected their sample cities based on the utilitarian and hedonic theory. As a consequence, their research results might not adequately reflect city personality, thereby being unable to develop a city personality scale. To fill the research gap, this study aims to specifically develop a city personality scale by categorizing cities into three types: utilitarian, symbolic, and symbolic-utilitarian. In so doing, the study was divided into two main parts, drawing on both interview and questionnaire methods. In the first part, interview was conducted to identify personality traits in the city context. In the second one, the gained results were subject to exploratory analysis using the principal component analysis and confirmatory factor analysis using maximum likelihood method to extract the personality dimensions. Findings revealed that city personality is composed of 25 traits which can be grouped into three dimensions, i.e. favorable (e.g., polite and good-natured), rough (e.g., unlovely and untrustworthy), and new generation (e.g., open-minded and exciting). This scale is of construct reliability (C.R. = 0.91, 0.91, 0.83), test-retest reliability (r = 0.711), convergent validity (AVE = 0.53, 0.63, 0.51), and the discriminant validity (square root of AVE = 0.73, 0.79, 0.71). Hence, this research contributes to the field of city personality scale and it is helpful for city management in making a particular city stand out from others by utilizing the right city personality dimensions. 
     คำสำคัญ ลักษณะบุคลิกภาพ บุคลิกภาพตราสินค้า มาตรวัดบุคลิกภาพของเมือง Personality trait, Brand personality, City personality scale  
ผู้เขียน
557210009-1 ว่าที่ ร.อ. ศรัณย์ อมาตยกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 4