2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ มาตรฐานระดับความสว่างในอาคารสำหรับประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 พฤษภาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 กุมภาพันธ์ 2557 
     ถึง 1 มีนาคม 2557 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 171-180 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ระดับความสว่างมาตรฐานในอาคาร ที่ใช้สำหรับอ้างอิง เพื่อการออกแบบ ในประเทศไทย มักใช้การอ้างอิงจากมาตรฐานของต่างประเทศ กฎหมายและข้อบัญญัติ ที่ใช้ในประเทศ มีน้อยเกินไป ไม่มีค่าความสว่างมาตรฐาน ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ ไม่ครอบคลุมลักษณะกิจกรรมหลากหลายที่เกิดขึ้นในอาคาร ในลักษณะพื้นที่และกิจกรรมแบบเดียวกัน กฎหมายแต่ละชนิด ให้ค่าความสว่างไม่เท่ากัน เมื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ค่าความสว่างที่แนะนำของสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA) พบว่า ค่าที่แนะนำของ TIEA ตรงกับค่าความสว่างที่แนะนำของ CIBSE ประเทศอังกฤษ ซึ่งแสดงว่า ขณะนี้ ประเทศไทย ใช้ค่าความสว่างที่อ้างอิงจากการมองเห็นของคนในประเทศอังกฤษ การใช้มาตรฐานค่าระดับความสว่างของต่างประเทศ ซึ่งมีสภาพแสงธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ และ สภาพท้องฟ้า ที่แตกต่างไปจากประเทศไทย อาจเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เมื่อนำมาใช้กับอาคารในประเทศไทย กับคนไทย ซึ่งมีความเคยชินต่อสภาพแสงที่แตกต่างไปจากคนในประเทศ ซึ่งเป็นผู้สร้างมาตรฐาน รวมถึงการมีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและสีของม่านตาซึ่งมีผลในการรับรู้ต่อแสง บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบและเปรียบเทียบ เกณฑ์และมาตรฐานแสงสว่าง ที่ใช้ในประเทศไทย รวมถึงมาตรฐานด้านความสว่างของกฎหมายและข้อบัญญัติต่างๆ โดยใช้วิธีการทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่ควรจะศึกษาต่อไปก็คือ ค่าระดับความสว่างมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ควรเป็นเท่าใด คำสำคัญ; ความสามารถในการมองเห็น, ระดับความสว่าง, ค่ามาตรฐานความสว่าง Abstract Illuminance level standards , used in Thailand , are derived from foreign standards. Laws and orders , which are dealing with the standards , are not able to cover areas and tasks that take place in buildings. Moreover, in the same kind of areas , each law gives different recommended illuminance levels. When the data of TIEA recommended illuminance levels were examined, they were found that the levels of illuminance are the same as the ones of CIBSE. The incident shows that we use the standard of England to refer as Thai standard. Using foreign illuminance level standards for buildings in Thailand, should not be appropriate because we have different illuminance level familiarity from foreigners. And because of the ethic difference and iris color difference, we have different light perception. The objective of the paper is to examine laws and orders concerning illuminance level standards used in Thailand by reviewing literatures and research. The next interesting point that should be considered is “ What would the appropriate illuminance level standard for Thailand be.” Keywords; Visual Performance, Illuminance Level, Illuminance Level Standard  
ผู้เขียน
557200005-5 นาง รจเรข แสงอาทิตย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0