2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title “การรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อ โพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก 
Date of Distribution 25 May 2018 
Conference
     Title of the Conference “ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ ๓” หัวข้อ “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก Disruptive Innovation 
     Organiser มหาวิทยาลัย ราชธานี 
     Conference Place ณ มหาวิทยาลัยราชธานี 
     Province/State จังหวัดอุบลราชธานี  
     Conference Date 25 May 2018 
     To 25 May 2018 
Proceeding Paper
     Volume 2561 
     Issue
     Page
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ โพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน แต่ยังขาดข้อมูลที่แสดงถึงการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อ โพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก การศึกษาครั้งนี้จึงทำการสำรวจการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคและปัจจัยส่วนบุคคลต่อการรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 ราย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accident Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 54.75 ไม่รู้จักโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก โดยช่องทางการรับรู้ข่าวสารของโพรไบโอติกที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกมากที่สุดมาจากโฆษณาและรายการให้ความรู้ทางทีวี ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกผ่านช่องทางทีวีและอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่น่าจะเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด ในส่วนของการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ69.67 ทราบถึงประโยชน์แต่มีเพียงร้อยละ 29.83 ที่ทราบถึงโทษของโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก ด้านทัศนคติระดับความคิดเห็นที่มีต่อโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกอยู่ในระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกมากที่สุดคือบุคลากรทางการแพทย์ โฆษณา/ทีวีและหาข้อมูลเองตามลำดับ เหตุผลที่ผู้ตอบแบบถามเลือกในการบริโภคโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกมากที่สุดคือเสริมการทำงานของร่างกาย และช่วยเรื่องท้องผูกตามลำดับ สถานที่ในการเลือกซื้อมากที่สุดคือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกและร้านขายยาตามลำดับ ความถี่เฉลี่ยในการซื้อคือสัปดาห์ละครั้ง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงระดับการรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังมีระดับการรับรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกน้อย ส่งผลให้มีทัศนคติในระดับปานกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกรูปแบบนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตเป็นส่วนใหญ่ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ได้รับมาจากโฆษณาทางทีวี  
Author
565150047-3 Miss MILIN THAWIKHOT [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0