2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาอุปกรณ์ก่อแรงดันบวกแบบใหม่สำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 
Date of Distribution 20 June 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 8 เรื่อง งานบริการกายภาพบำบัดและการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ 
     Organiser สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย 
     Conference Place โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ 
     Province/State กรุงเทพมหานคร 
     Conference Date 20 June 2016 
     To 23 June 2016 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 94 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ: การให้แรงดันบวกขณะหายใจออก (positive expiratory pressure, PEP) ในทางกายภาพบำบัดมีเป้าหมายเพื่อลดหรือเปิดทางเดินหายใจที่ตีบแคบ เพิ่มการระบายเสมหะ ลดอาการหอบเหนื่อยจากพลวัตการโป่งพองของปอด (dynamic hyperinflation) ขณะออกกำลังกายในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง อุปกรณ์ PEP ในท้องตลาดและในบทความวิจัยโดยมากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ขณะออกกำลังกาย ทั้งรูปลักษณ์ ขนาด และระดับแรงดันบวกที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย ผู้วิจัยได้ออกแบบอุปกรณ์ PEP ใหม่ โดยมีแนวคิดคือ เป็นอุปกรณ์ที่ให้ระดับแรงดันบวกอยู่ในช่วงของการบำบัด (5 – 20 ซม.น้ำ), มี dead space ต่ำ, ไม่เกิดการหายใจเอาอากาศเดิมซ้ำ, ไม่เพิ่มงานของการหายใจเข้าและสามารถสวมใส่ได้ขณะออกกำลังกาย วัตถุประสงค์ของการนำเสนอครั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการของชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ PEP เพื่อหาขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมของชิ้นส่วนก่อแรงดันบวกที่สามารถก่อแรงดันบวกในช่วงของการบำบัด ในอัตราการไหลของอากาศขณะหายใจออกขณะพักระหว่าง 0.2-0.4 ลิตรต่อวินาที และขณะออกกำลังกาย 0.5-1.0 ลิตรต่อวินาที, โดยมีสมมติฐานว่า ขนาดรูทางออกของอากาศ, ความสูงกรวยและอัตราการไหลของอากาศมีอิทธิพลต่อความดันบวกที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยทดสอบระดับแรงดันบวกที่เกิดขึ้นจากชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก ทรงกรวยสูง 1 ซม. และ แบบหน้าตัดราบ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง(Ø)รูทางออกของอากาศ 5, 6 และ7 มม.และระบบควบคุม โดยใช้ระบบ BIOPAC MP 36 ทดสอบชิ้นส่วนก่อแรงดันบวกแต่ละชิ้น 3 รอบในอัตราการไหลที่แตกต่างกันตั้งแต่ 0.1-1.5 ลิตรต่อวินาที ด้วยความถี่การเก็บข้อมูล 500 Hz ผลพบว่า แรงดันบวกเพิ่มขึ้นในลักษณะ exponential ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราการไหลในทุกๆชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก แต่แรงดันบวกไม่เพิ่มขึ้นในระบบควบคุม ชิ้นส่วนก่อแรงดันบวกแบบหน้าตัดราบขนาด Ø 5 มม. ให้แรงดันบวกสูงสุด ขณะที่ชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก ทรงกรวยขนาดØ 7 มม.ให้ความดันบวกต่ำที่สุด ชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก แบบหน้าตัดราบและทรงกรวยขนาดØ 5 มม.เหมาะสำหรับใช้งานขณะพักโดยให้แรงดันบวกระหว่าง 1.66-11.06 และ 1.43-9.58 ซม.น้ำตามลำดับ ส่วนอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับใช้งานขณะออกกำลังกายคือ ขนาดØ 6 และ 7 มม.ทั้งแบบหน้าตัดราบซึ่งให้ความดันบวกระหว่าง 4.17-25.12 และ 3.52-15.57 ซม.น้ำ ตามลำดับ และทรงกรวยซึ่งให้ความดันบวกระหว่าง 4.24-18.20 และ 2.22-11.75 ซม.น้ำตามลำดับ สรุปได้ว่าขนาดที่เหมาะสมของชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก สำหรับใช้งานขณะพักคือ อุปกรณ์แบบหน้าตัดราบและทรงกรวยขนาดØ 5 มม.และอุปกรณ์ที่เหมาะใช้งานขณะออกกำลังกายคือ แบบหน้าตัดราบและทรวงกรวยขนาดØ 6 และ 7 มม. 
Author
567090006-4 Mr. CHATCHAI PHIMPHASAK [Main Author]
Associated Medical Sciences Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title ชนะเลิศการนำเสนอในรูปแบบโปรสเตอร์ 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย 
     Date of awarding 20 มิถุนายน 2559 
Attach file
Citation 0