2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การประยุกต์ใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทควบคุมการบินจากภายนอกในการติดตามและวิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืชสำหรับเกษตรกร 
Date of Distribution 2 February 2018 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ 
     Organiser สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 
     Conference Place ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ 
     Province/State กรุงเทพฯ 
     Conference Date 1 February 2018 
     To 2 February 2018 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 79 
     Editors/edition/publisher สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 
     Abstract โครงการวิจัยประยุกต์นี้ได้ทดลองนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) รุ่นที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาดมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ติดตามการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์ของพืชเพื่อให้เป็นทางเลือกในการสารวจแปลงเกษตรสาหรับเกษตรกรทั่วไป UAV ที่เลือกทดลองใช้คือ DJI Phantom 4 โดยพิจารณาจากราคา คุณสมบัติของตัวอากาศยานและคุณภาพของกล้อง รวมถึงความง่ายต่อการใช้งาน พื้นที่ศึกษาคือบริเวณแปลงอ้อย มันสาปะหลัง และข้าวนาปรัง ในพื้นที่ อาเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม การบินสารวจใช้วิธีถ่ายภาพแนวดิ่งจากความสูงประมาณ 90 เมตรจากพื้น โดยให้มีการซ้อนทับของภาพที่ 87% ทั้งในแนว along track และ across track การบินถ่ายแต่ละแปลงจะดาเนินการทุกๆ 30-40 วัน หลังจากนั้นภาพจะถูกนามามาประมวลผลผ่านโปรแกรม photogrammetry เพื่อสร้างภาพถ่ายออร์โธ (Orthophoto) และแบบจาลองพื้นผิวปกคลุมภูมิประเทศ (Digital Surface Model - DSM) การวิเคราะห์ติดตามการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์ของพืชใช้วิธีการคานวณหาการเปลี่ยนแปลงของค่าปริมาตรหรือมวลชีวภาพ (Biomass) ของแปลงเกษตรจาก DSM ในแต่ละช่วงเวลา และได้ทดลองใช้ดัชนีพืชพรรณ Visible Atmospherically Resistant Index (VARI) เพื่อตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของพืช ผลการทดลองพบว่า DSM สามารถถูกนามาใช้คานวณหามวลชีวภาพเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของพืชทั้ง 3 ชนิดได้ แต่ต้องมีการตรึงพิกัดภาพถ่ายออร์โธและ DSM ให้อยู่ในระนาบและตาแหน่งเดียวกันโดยวิธี Image-to-Image ก่อนที่จะนามาวิเคราะห์ ดัชนีพืชพรรณ VARI สามารถเน้นค่าความสว่างบริเวณที่พืชพรรณมีความอุดมสมบูรณ์ได้ดี แต่ไม่ควรนามาใช้แทน NDVI เพราะปริมาณการสะท้อนช่วงคลื่นสีเขียวโดยรวมนั้นไม่สามารถจาแนกสถานะของพืชพรรณได้ดีเท่ากับช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ นอกจากนี้เนื่องจากการถ่ายภาพด้วย UAV นั้นไม่สามรถทา Atmospheric Correction ได้ จึงไม่สามารถนาภาพจากแต่ละเดือนมาเทียบค่าดัชนีได้ ดัชนีนี้จึงมีประโยชน์ในการดูความอุดมสมบูรณ์ในแต่ละเดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์จากผลลัพธ์ ประสิทธิภาพ ราคา ความรวดเร็ว และความง่ายในการใช้งาน UAV ที่หาซื้อได้ในท้องตลาดนี้สามารถนามาช่วยเกษตรกรวิเคราะห์ติดตามการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิผลโดยไม่จาเป็นต้องซื้อ UAV ราคาแพง 
Author
587020064-4 Mr. SARUN APICHONTRAKUL [Main Author]
College of Computing Doctoral Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis false 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0