2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ขนาดของเซนเซอร์ที่เหมาะสมในการวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำด้วยเครื่องวัดอย่างต่อเนื่องแบบใหม่ (KKU-KMITL NICBP) 
Date of Distribution 28 May 2018 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 
     Organiser มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 
     Conference Place โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา 
     Province/State ตรัง 
     Conference Date 27 May 2018 
     To 29 May 2018 
Proceeding Paper
     Volume 2018 
     Issue
     Page 1551-1561 
     Editors/edition/publisher มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
     Abstract การวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องแบบไม่รุกล้ำ (NICBP) เป็นวิธีการที่ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตตามเวลาจริง ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอต่อการใช้งานเนื่องจากมีราคาสูง จึงได้มีการพัฒนา NICBP ตามหลักการโทโนเมตรีมาโดยใช้ตรวจจับแรงกดแบบกลมเล็ก (FSR) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 และ 0.5 นิ้ว (KKU-KMITL NICBP) แต่ยังไม่มีการทดสอบว่าเซนเซอร์ขนาดใดมีความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน การศึกษาในครั้งนี้จึงต้องการทดสอบและเปรียบเทียบความเที่ยงภายในผู้วัดระหว่างเซนเซอร์ทั้ง 2 ขนาด ในอาสาสมัครสุขภาพดี 10 คน ในขณะนั่งพักหลังพิงพนัก วัดความดันโลหิตซิสโทลิก (SBP) ไดแอสโทลิก (DBP) ของอาสาสมัคร เป็นเวลา 10 นาที และหาค่าเฉลี่ยทุก 10 วินาที อาสาสมัครจะถูกวัด 2 ครั้ง ในเซนเซอร์ทั้ง 2 ขนาด วิเคราะห์ความเที่ยงภายในผู้วัดด้วยสถิติ intraclass Correlation Coefficient (ICC) , standard error of measurement (SEM), minimal detectable change (MDC), coefficient of variation (CV) และ Bland-Altman plot ผลการศึกษาพบว่าค่า เซนเซอร์ทั้ง 2 ขนาดมีความเที่ยงภายในผู้วัดอยู่ในระดับดี โดยเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 นิ้วมีค่า ICC มากกว่า ค่า SEM, MDC, CV และ mean difference น้อยกว่าเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 นิ้ว จึงสรุปได้ว่าเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 นิ้วมีขนาดเหมาะสมสำหรับนำไปใช้กับอุปกรณ์ KKU-KMITL NICBP มากกว่าเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 นิ้ว 
Author
575090030-4 Mr. NONTANAT SATHAPORN [Main Author]
Associated Medical Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title บทความวิจัยดีเด่นสาขานวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
     Date of awarding 28 พฤษภาคม 2561 
Attach file
Citation 0