2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตน้ำนมดิบจำแนกตามขนาดฟาร์ม ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 
Date of Distribution 28 April 2018 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2561 
     Organiser คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ 
     Conference Place มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 
     Province/State จังหวัดบุรีรัมย์ 
     Conference Date 28 April 2018 
     To 29 April 2018 
Proceeding Paper
     Volume 2561 
     Issue
     Page 1470 - 1482 
     Editors/edition/publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตน้ำนมดิบ วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตน้ำนมดิบจำแนกตามขนาดฟาร์ม และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จำนวน 100 ฟาร์ม ประกอบไปด้วย ฟาร์มโคนมขนาดเล็กจำนวน 75 ฟาร์ม ฟาร์มโคนมขนาดกลางจำนวน 24 ฟาร์ม และฟาร์มโคนมขนาดใหญ่จำนวน 1 ฟาร์ม ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41– 50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมีรายได้หลักมาจากการขายน้ำนมดิบ สภาพทั่วไปด้านการผลิต พบว่าฟาร์มโคนมขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีที่ดินเฉลี่ยเท่ากับ 17.53 21.07 และ 41.00 ไร่ต่อฟาร์ม มีแรงงานเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 3.02 และ 8.00 คนต่อฟาร์ม มีจำนวนโคนมเฉลี่ยเท่ากับ 29.14 65.04 และ 253.00 ตัวต่อฟาร์ม โดยส่วนใหญ่เป็นแม่โครีดนม คิดเป็นร้อยละ 42.79 44.14 และ 47.43 ของจำนวนโคนมทั้งหมด ปริมาณน้ำนมดิบที่เกษตรกรผลิตได้ เท่ากับ 55,308.45 132,589.90 และ 547,500.00 กิโลกรัมต่อปีต่อฟาร์ม ด้านการใช้อาหารข้นพบว่า ฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางส่วนใหญ่ใช้อาหารข้นสำเร็จรูป ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่ใช้อาหารข้นผสมเอง อาหารหยาบที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ ฟาง กากมัน หญ้าสดและกากเบียร์ เป็นต้น ด้านมาตรฐานฟาร์มโคนมพบว่า ฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์ม ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยของฟาร์มโคนมขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เท่ากับ 14.16 13.05 และ 14.29 บาทต่อกิโลกรัม และราคาน้ำนมดิบเฉลี่ยที่เกษตรได้รับเท่ากับ 16.37 16.65 และ 17.40 บาทต่อกิโลกรัม จะเห็นได้ว่าฟาร์มโคนมขนาดกลางมีกำไรมากที่สุด รองลงมาคือฟาร์มขนาดใหญ่ และฟาร์มขนาดเล็ก ทั้งนี้เนื่องจากฟาร์มโคนมขนาดกลางมีขนาดฝูงโคนมที่เหมาะสมและเกิดการประหยัดต่อขนาด ส่วนฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ขยายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงแต่ยังใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ฟาร์มโคนมขนาดใหญ่มีต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมมากที่สุด หรือเรียกได้ว่าฟาร์มโคนมขนาดใหญ่เกิดการไม่ประหยัดต่อขนาด ส่วนฟาร์มโคนมขนาดเล็กมีการจัดการฟาร์มที่ด้อยประสิทธิภาพจึงทำให้ผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนต่ำที่สุด 
Author
565030050-3 Miss WIPHAVEE JANTHORN [Main Author]
Agriculture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0