2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความน่าเชื่อถือและความตรงของเครื่องมือวัดการเคลื่อนไหวคอ “WE-CAP”  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 มิถุนายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 30 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความน่าเชื่อถือและความตรงของเครื่องวัดองศาการเคลื่อนไหวแบบใหม่ (WE-CAP) เทียบกับเครื่องวัดองศาการเคลื่อนของคอแบบเดิม (CROM) เก็บข้อมูลในอาสาสมัครสุขภาพดี 20 คน ซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครเพศชาย 8 คน เพศหญิง 12 คน อายุเฉลี่ย 29.1± 4.27 ปี โดยวัดองศาการเคลื่อนไหวในท่า flexion, extension, right rotation, left rotation และ right lateral flexion, left lateral flexion จำนวน 3 ครั้งหาค่าเฉลี่ย นั่งพัก 5 นาที และวัดซ้ำอีกท่าละ 3 ครั้งทำการวัดซ้ำโดยผู้วัดเพียงคนเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ intraclass-correlation coefficient (ICC), coefficient of variation (CV), standard error of measurements (SEMs) และ Pearson’s correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า ทั้งเครื่อง WE-CAP และ CROM แบบเดิมมีค่าความน่าเชื่อถืออยู่ในเกณฑ์สูงมาก (ICC > 0.84) ค่า coefficient of variation (CV) ทุกตัวมีค่า ≤ 8%, standard error of measurements (SEMs) ทุกตัวมีค่า ≤ 0.94 และค่าความตรงของเครื่องมือทั้งสอง อยู่ในระดับสูงมาก (Pearson’s correlation coefficient > 0.93) จึงสรุปได้ว่า เครื่อง WE-CAP มีค่าความน่าเชื่อถือและมีความตรงอยู่ในเกณฑ์สูงมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิกได้ 
     คำสำคัญ เครื่องมือใหม่, CROM, การเคลื่อนไหวคอ, ความน่าเชื่อถือ, ความตรง 
ผู้เขียน
585090040-2 น.ส. กัลยา ปานงูเหลือม [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0