2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความชื้นในสิมญวน จังหวัดนครพนม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มิถุนายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 มิถุนายน 2561 
     ถึง 29 มิถุนายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 107 
     Editors/edition/publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับปัญหาความชื้นในสิมฝีมือกลุ่มงานช่างญวน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนม มีงานฝีมือตั้งแต่อาคารพาณิชยกรรมจนถึงอาคารเพื่อพระพุทธศาสนา สิม หรือ โบสถ์อีสาน ได้ศึกษาสภาพปัญหาของการเกิดความชื้นและพฤติกรรมของความชื้นในเชิงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ โดยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างอาคารจากพื้นที่จังหวัดนครพนมทำการศึกษา 4 อาคาร ได้แก่ วัดโกศลมัฌิมาวาส วัดพุทธสีมาบ้านกุดฉิม วัดพุทธสีมาบ้านฝั่งแดง และวัดโพธิ์ชัย ซึ่งมีรูปแบบขนาด สถาปัตยกรรม ทิศทางการวางตำแหน่งอาคาร และสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน ได้ทำการศึกษาโดยวิธีการลงพื้นสำรวจเก็บข้อมูลทางกายภาพและสภาพแวดล้อม เก็บข้อมูล อุณหภูมิ ความชื้น ผนังภายในและภายนอกอาคาร โดยกำหนดตำแหน่งในการวัดค่าเป็นช่วงระดับที่ 0.00 ม. 0.50 ม.และ 1.00 ม. ตามลำดับ วัดค่าอุณหภูมิและความชื้นของวัสดุ ตัวอาคารและอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ในขนาดที่วัดค่าจากสถานที่จริงโดยใช้เครื่องมือวัด Moisture meter และวัดค่าอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศขนาดที่ทำการเก็บข้อมูล โดยใช้เครื่องมือ Data logger DT-171 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ครั้งในการเก็บข้อมูลคือ ช่วงฤดูฝน ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2560 เริ่มเก็บข้อมูลเวลา 16:20 – 17:40 น. และช่วงฤดูหนาว ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2560 เริ่มเก็บข้อมูลเวลา 11:10 – 16:20 น. พบว่าผลความชื้นทั้ง 4 อาคารตัวอย่าง ซึ่ง 2 ฤดูกาล ภายนอกอาคาร ซึ่งเริ่มมีค่าความชื้นสูงถึงสูงสุดอยู่ที่ ระดับ 0.00 - 1.50 ม. (ขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของฐานอาคาร) ซึ่งเป็นส่วนฐานอาคารมีความชื้นสูงที่สุดและพบการเสื่อมสภาพของวัสดุ เป็นรูพรุนเห็นถึงชั้นของโครงสร้าง คือก่ออิฐถือปูน บ้างจุดพบความชื้นทำให้วัสดุฉาบผิวรุดออกได้อย่างชัดเจน ส่วนภายในซึ่งเป็นรอยเชื่อมระหว่างฐานกับผนังอาคารระดับที่ 1.50 ม. (ขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของระดับพื้นอาคาร) มีเหตุและปัจจัยมาจากชนิดของวัสดุก่อสร้างของการปูพื้น ซึ่งในส่วนด้านที่ติดกับพระประธานไม่มีการทำช่องเปิดเพื่อระบายอากาศ พบความชื้นสะสมมากที่สุด และด้านที่มีความเสียหายมากที่สุด ทิศทางของอาคารที่ทำให้เกิดปัญหาความชื้นสะสมในอาคาร (สิมญวน) ของทั้ง 4 อาคารตัวอย่าง มีเหตุและปัจจัยใกล้เคียงกัน คือ ด้านทิศตะวันออก สามารถโดนแสงแดดส่องและน้ำฝนได้โดยตรง เนื่องจากเป็นด้านที่มีจั่วสูง ไม่มีมุกหน้าอาคารยื่นมารับ บางอาคารมีการปลูกไม้ประดับ และมีการต่อเติมดัดแปลง ด้านทิศใต้ มีแสงแดดส่องตลอดทั้งวัน และน้ำฝนเนื่องจากชายคายื่นไม่ยาวคลุมไม่ถึงฐาน ทำให้ผนังด้านนี้มีการถ่ายเทความชื้นและรังสีความร้อนอยู่ตลอดทั้งวัน มีการเสื่อมสภาพของวัสดุอย่างรวดเร็ว โดยมีผิววัสดุและสีที่ทาบนผนังหลุดลอกออกมาได้ง่าย ด้านทิศตะวันตก ซึ่งบริเวณหลังอาคารที่มีจั่วสูง ไม่มีช่องประตูหน้าต่าง และยังเป็นด้านที่สามารถโดนแสงแดดและน้ำฝนได้โดยตรง บางอาคารมีการปลูกไม้ประดับไว้ด้วย และด้านทิศเหนือ เป็นด้านที่โดนแสงแดดส่องน้อยกว่าทุกด้าน เกิดร่มเงากับอาคาร บางอาคารมีธาตุหรือเจดีย์อดีตเจ้าอาวาส เกิดร่มเงา จึงเป็นสาเหตุให้มีความชื้นสะสมมาก เกิดตะไคร่น้ำเกาะตามผนัง ก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพของวัสดุซึ่งแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากความชื้น คือการใช้ทฤษฎีการควบคุมความชื้นใต้ดิน และการทำบริเวณฐานอาคารให้แห้ง (Drying System) โดยการการเจาะช่องระหว่างฐานกับพื้นดินกว้างประมาณ 0.15 – 0.40 ม. เพื่อระบายความชื้นใต้ดิน และอย่าให้มีน้ำขังและพุ่มไม้อยู่ใกล้กับฐานอาคาร และการบำรุงรักษาส่วนของหลังคา 
ผู้เขียน
575200023-1 นาย มาณพ ต้นเคน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0