2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article พฤติกรรมการเลือกซื้อและการบริโภคอาหารของนักเรียนในอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด 
Date of Acceptance 4 July 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ  
     Standard TCI 
     Institute of Journal กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     Volume 12 
     Issue
     Month มกราคม-เมษายน
     Year of Publication 2018 
     Page  
     Abstract การศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารของนักเรียนในอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 355 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลระหว่างสิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึง มิถุนายน 2560 ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาร้อยละ 85.00 ได้รับเงินมาโรงเรียน 20 – 39 บาท/วัน โดยร้อยละ 75.00 ไม่เคยซื้ออาหารกลางวันเนื่องจากได้รับอาหารกลางวันจากโรงเรียน ร้อยละ 42.50 มีการใช้เงินจำนวน 11-15 บาท ซื้อขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มที่มีรสหวานจากร้านค้าในโรงเรียน ร้อยละ 65.50 เลือกซื้ออาหารจากความชอบส่วนบุคคลโดยร้อยละ 85.00 ได้รับข่าวสารทางโทรทัศน์เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร นักเรียนมีค่าดัชนีมวลกายร้อยละ 53.75 น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นักเรียนมีความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคในระดับต่ำร้อยละ 62.50 ทัศนคติในการเลือกซื้อและบริโภคในระดับปานกลางร้อยละ 71.25 และพฤติกรรมในการเลือกซื้อและบริโภคมีการปฏิบัติในระดับปานกลางร้อยละ 75.0 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 61.40 ได้รับเงินมาโรงเรียน 40 – 59 บาท/วัน โดยร้อยละ 69.33 ใช้เงินจำนวน 21-25 บาท ซื้ออาหารเฉลี่ย 3-4 วัน/สัปดาห์ และร้อยละ 29.45 ใช้เงินจำนวน 26-30 บาท ซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ด เฉลี่ย 1-2 วัน/สัปดาห์ โดยร้อยละ 65.64 พิจารณาจากรสชาติเป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้ออาหาร ร้อยละ 47.85 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ นักเรียนมีความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคในระดับต่ำ ร้อยละ 60.74 ทัศนคติในการเลือกซื้อและบริโภคในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.39 และพฤติกรรมในการเลือกซื้อและบริโภคมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง ร้อยละ 81.60 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 58.90 ได้รับเงินมาโรงเรียน 40 – 59 บาท/วัน นักเรียนร้อยละ 83.04 ใช้เงินจำนวน 21-25 บาท/วัน ในการซื้ออาหารร้อยละ 31.35 นักเรียนร้อยละ 80.36 พิจารณาเลือกซื้ออาหารจากความสะดวก ช่องทางในการได้รับข่าวสารร้อยละ 54.46 ทางมือถือ เฟสบุ๊ค ไลน์ นักเรียนร้อยละ 40.18 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ นักเรียนมีความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคในระดับสูง ร้อยละ 49.11 ทัศนคติในการเลือกซื้อและบริโภคในระดับปานกลางร้อยละ 75.00 และพฤติกรรมในการเลือกซื้อและบริโภคมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.64 
     Keyword การเลือกซื้อ, บริโภคอาหาร 
Author
585110116-6 Miss PRAPHATSORN PIMDEE [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0