2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การวิเคราห์ทางปี่ใน เพลงกราวในสองชั้น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 กรกฎาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 12 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การแปรทำนองปี่ใน และศึกษากลวิธีในการเป่าปี่ใน เพลงกราวใน สองชั้น ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2494 โดยการศึกษาวิเคราะห์จาก โน้ตสากล (Score) โดยเป็นพระราชดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดให้มีริเริ่มการบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากลครั้งแรกของประเทศไทย วิธีการดำเนินการวิจัย โดยการศึกษาจากเอกสาร โน้ตเพลงกราวในสองชั้น ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร ผู้วิจัยได้นำโน้ตสากลแปลงเป็นโน้ตไทย เพื่อสะดวกต่อการนำมาศึกษาวิเคราะห์ ตามทฤฎีการวิเคราะห์เพลงไทย และได้แบ่งประเด็นการศึกษาวิเคราะห์ไว้ ดังนี้ 1.โครงสร้างทำนองหลัก 2.วิเคราะห์การดำเนินทำนองของปี่ใน 3.ศึกษากลวิธีในการบรรเลง จากสัญลักษณ์ที่ปรากฎในโน้ตสากล จากผลการวิจัยพบว่า การผูกกลอนของเครื่องดนตรีปี่ในที่เป็นเอกลักษณ์ของ ครูเทียบ คงลายทอง ครูผู้บอกทางเพลงในการจดบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากลในครั้งนี้ มีการใช้รูปแบบวิธีการของการผูกกลอนหรือดำเนินกลอนปี่ในที่หลากหลาย คือ 1.การผูกกลอนในลักษณะสัมพันธ์กับทำนองหลัก 2.การผูกกลอนในลักษณะทำนองทางพัน 3. การผูกกลอนในลักษณะทางโอด 4.การผูกกลอนในลักษณะตกตรงตามจังหวะตก 5.กลอนในลักษณะย้อยจังหวะตก กลวิธีต่างๆ ที่ใช้ในการเป่าปี่ในเพลงกราวในสองชั้นดังนี้ 1.กลวิธีการตีนิ้ว 2.กลวิธีการเป่าควงเสียง 3.กลวิธีการเป่าขยี้ 4.กลวิธีการเป่าสะบัด 5.กลวิธีการเน้นความดังของเสียง ทำให้เห็นถึงลักษณะการผูกกลอน และกลวิธี ต่าง ๆ ในบทเพลงกราวในได้เป็นอย่างดี และสามารถนำกลอนนี้มาประยุกต์ใช้ในการผูกกลอนปี่ในในเพลงอื่นๆ ได้ คำสำคัญ : การวิเคราะห์, ปี่ใน, กราวใน,โหมโรงเย็น,กลวิธี Abstract The objective of the study were to examine the melody creating and the Pii Nai playing technique of "Krao Nai Songchan" from the evening prelude (Score) by analyzing from international music notation writing that first initiated to Thai traditional music by HRH Prince Ditsawarakuman, Prince Damrong rajanubhab (Somdet Phrachao Borommawongthoe Phraongchao Ditsawarakuman Krompraya Damrongrachanuphap). The results of the research. analysis melody Pi Nai of Teap Konglaytong.He has melody maker of Pi Nai The Krao Nai Song in The everning purlude suite. He used to various methods. 1. He has create melody form to relate to the main melody. 2. He has create melody form lots of note in the paragraph. 3. He has create melody form a few note in the paragraph. 4. He has create melody form to relate to the fall rhythm. 5. He has create melody form to don’t relate to the fall rhythm. And find a lots of methods in many form palying Pi Nai of Krao Nai Song in The everning purlude suite. 1.Trill. 2.Koung Sieng 3.32nd note. 4.Grance note. 5.Accent. And this use melody form Pi Nai with many song. Keywords ; Analysis, Pi Nai, Krao Nai, Everning Purlude, Methods.  
     คำสำคัญ คำสำคัญ : การวิเคราะห์, ปี่ใน, กราวใน,โหมโรงเย็น,กลวิธี 
ผู้เขียน
585220007-8 นาย นราธร ยืนยั่ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0