2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองหัววัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 เรื่อง บูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     สถานที่จัดประชุม หอประชุมประภากรคอนเวนชั่นฮอลล์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 320-333 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองหัววัว สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยใช้วิธีกรณีศึกษา (Case Study) จำนวน 1โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านหนองหัววัว โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ครูชุมชนผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนและศิษย์เก่า จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิควิธีการแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยนำเสนอตารางแสดงข้อมูลผลการศึกษาและสรุปเป็นแผนภาพผังความคิด (Concept Mapping) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ โรงเรียนบ้านหนองหัววัวมีการบริหารจัดการคุณภาพทั้ง 3 องค์ประกอบได้แก่ การวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์ การปรับปรุงคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ ทำให้มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วม โดยผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนให้อำนาจตัดสินใจของชุมชนในการมีส่วนร่วม เริ่มตั้งแต่การประชุมวางแผนงานการดำเนินงานต่างๆ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษา กับบุคลากรของโรงเรียนเพื่อที่จะนำไปสู่ข้อสรุปในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน 2) ด้านโอกาสทางการศึกษา พบว่า โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในโครงการและกิจกรรมต่างๆ พร้อมให้การสนับสนุนทางด้านบุคลากรแก่โรงเรียน โดยสร้างโอกาสทางการศึกษาผ่านทางการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากครูชุมชน 3) ด้านคุณภาพทางการศึกษา พบว่า โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมการกำกับติดตามและประเมินผล โดยร่วมเป็นเจ้าของและรับผลประโยชน์อันเกิดจากการดำเนินงานโครงการกิจกรรมต่างๆ และรักษามาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาและร่วมจัดการการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม  
ผู้เขียน
595050137-2 นาย ศุภสิทธิ์ ไกรพินิจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0