2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การวิเคราะห์ทางปี่ในเพลงปฐม ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร THE ANALYSIS THE PI NAI OF PA TOM IN THE EVENING PERLUDE SUITE  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 31 กรกฎาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นดนตรีและการแสดง 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ทางปี่ในเพลงกราวในสองชั้น ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร แต่การศึกษาบทความในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการจดบันทึกโน้ตเพลงปฐม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ทางปี่ในเพลงปฐม ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2494 โดยการศึกษาวิเคราะห์จาก โน้ตสากล (Score) การจัดพิมพ์ในครั้งนั้นเป็นพระราชดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดให้มีริเริ่มการบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากลครั้งแรกของประเทศไทย โดยการศึกษาจากเอกสาร โน้ตเพลงปฐม ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร การศึกษาบทความได้แบ่งประเด็นการศึกษาวิเคราะห์เป็น 2 วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการจดบันทึกโน้ตเพลงปฐม ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวม เครื่องกรมศิลปากร 2.เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของกลอนทางปี่ใน โน้ตเพลงปฐม ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่องกรมศิลปากร จากผลการวิจัย ทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาในการจดบันทึกโน้ตในครั้งนั้น บุคคลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการจดบันทึกโน้ต ได้แก่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะดำรงตำแหน่งนายกบัณฑิตสภา ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจดบันทึกโน้ต หลวงวิจิตรวาทอธิบดีกรมศิลปากร,พระเจนดุริยางค์และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคณะกรรมการผู้ตรวจสอบโน้ตเพลง พระยาภูมีเสวิน เลขานุการฝ่ายดนตรีไทย และนายเล็ก จิตรมั่นคง เป็นเลขานุการฝ่ายดนตรีสากล เจ้าหน้าที่ผู้บอกเพลงให้จดสำหรับเครื่องดนตรีต่างๆ ได้แก่ พระเพลงไพเราะ(โสม สุวาทิต) พระประณีตวรศัพท์(เขียน วรวาทิน) บอกทางระนาดเอก ขุนสมานเสียงประจักษ์(เถาสินธุนาคร) บอกทางฆ้องวงใหญ่ หลวงสร้อยสำเนียงสนธิ์(เพิ่ม วัฒนวาทิน) บอกทางฆ้องวงเล็ก ครูเทียบ คงลายทอง บอกทางปี่ใน ผลของการศึกษาวิเคราะห์ทางปี่ในเพลงปฐม ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร ทำให้ทราบถึงรายละเอียดของของทางปี่ในเพลงปฐม ในเรื่องคีตลักษณ์ แบ่งออกเป็รสองส่วนคือทำนองขึ้นเพลงและเนื้อเพลง บันไดเสียงที่ใช้ได้แก่ –ซลท-รม,-ลทด-รม,-รมฟ-ลท และรูปแบบของการผูกกลอน ได้แก่ กลอนในรูปแบบทำนองเก็บ กลอนในรูปแบบลักจังหวะตก และกลอนในรูปแบบจังหวะห่าง การศึกษาวิจัยในครั้งนี้สามารถทำความเข้าใจในการผูกกลอนปี่ในมากขึ้น และยังสามารถนำตัวอย่างของการผูกกลอนปี่ในนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการผูกกลอนปี่ในกับบทเพลงอื่นๆ ได้ คำสำคัญ : การวิเคราะห์, ปี่ใน, โหมโรงเย็น,ปฐม Abstract The purposes of this research were 1. To study the history of Thai musical notation system “Pleng-Pa-thom” in the Evening prelude suite (Score), Fine Arts Department, Ministry of Culture. 2.To study and analysis the variation of Phi-Nai Pleng-Pa-thom in the Evening prelude suite (Score), Fine Arts Department, Ministry of Culture. Published in 1951by the study and analysis from the musical notation (Score). The publication at that time was initiative of HRH Prince Damrong Rajanupab. He was the first one who made Thai musical notation as the musical notation system (Score). The procedure comprised is studying from the documents “Pleng Pa-thom” in the Evening prelude suite (Score), Fine Arts Department, Ministry of Culture. The Researcher has to split the studies Issues to 2 objectives. 1. To study the history of Thai musical notation system “Pleng-Pa-thom” in the Evening prelude suite (Score), Fine Arts Department, Ministry of Culture. 2.To study and analysis the variation of Phi-Nai Pleng-Pa-thom in the Evening prelude suite (Score), Fine Arts Department, Ministry of Culture. Published in 1951. The results were lead to knowledge about the history of the musical notation on period time as above, the personage who is a part of the process, Knowing the social context and the economic environment of Thailand in those days. The results of the study and analysis in “Phi-Nai Pleng Pa-thom” in the Evening prelude suite (Score) makes to know about the details of “Phi-Nai Pleng Pa-thom”, the form, the scale, the rhythm and the pattern of musical variation on “Phi-Nai Pleng Pa-thom”. However, that results could make more understanding of the musical variation of “Phi-Nai and could use the example from the study to apply in the musical variation of “Phi-Nai” on the other songs. Keywords: Analysis, Phi-Nai, Evening prelude, Pa-thom  
     คำสำคัญ คำสำคัญ : การวิเคราะห์, ปี่ใน, โหมโรงเย็น,ปฐมKeywords: Analysis, Phi-Nai, Evening prelude, Pa-thom 
ผู้เขียน
585220007-8 นาย นราธร ยืนยั่ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0