2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเก็บรักษา Spirulina platensis ในสภาพเยือกแข็ง ด้วยวิธี vitrification (Cryopreservation of Spirulina platensis Using vitification Method) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเอสดี อเวนิว 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 19 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 20 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 595-604 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสม สะดวก และสามารถทำซ้ำได้สำหรับเก็บรักษา Spirulina platensis ในไนโตรเจนเหลวด้วยวิธี vitrification โดยใช้สารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง (cryoprotectant) ได้แก่ ไดเมทิลซัลฟอกไซด์ (DMSO) หรือกลีเซ-อรอล (GLY) ที่ความเข้มข้น 5, 10, 15, 20 และ 25% โดยทำการลดอุณหภูมิที่ 25, 4, -20 องศาเซลเซียส ขั้นละ 30 นาที ก่อนเก็บรักษาในสภาวะเยือกแข็งด้วยไนโตรเจนเหลว (-196 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 1, 7 และ 30 วัน จึงนำออกมาละลายที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 นาที ทดสอบอัตราการรอดชีวิตด้วยวิธี TTC-test และตรวจสอบลักษณะเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า S. platensis มีการรอดชีวิตมากกว่า 50% เมื่อเก็บร่วมกับ DMSO เข้มข้น 5-15% หรือ GLY เข้มข้น 10-20% เป็นสารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง โดยตัวอย่างที่เก็บร่วมกับ DMSO ความเข้มข้น 15% หรือ GLY ความเข้มข้น 20% มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุด และพบว่า DMSO และ GLY เป็นสาร cryoprotectant ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้อัตราการฟื้นตัวสูงเมื่อเพาะเลี้ยงในอาหาร BG-11 เป็นเวลา 21 วัน นอกจากนี้พบว่าเมื่อระยะเวลาการเก็บรักษานานขึ้นอัตราการรอดชีวิตของ S. platensis จะลดลง คำสำคัญ: การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ/ สารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง / vitrification/ Spirulina platensis 
ผู้เขียน
585020044-6 น.ส. อำภาพร แสงขาว [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0