2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 มิถุนายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ศึกษาคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 974 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 219 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำแต่ละข้อคำถามมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่าทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.50 วิเคราะห์หาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช ได้เท่ากับ 0.97 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 71.2 อายุระหว่าง 41–50 ปี ร้อยละ 30.6 สถานภาพสมรส(คู่) ร้อยละ 63.0 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 84.0 รายได้ 10,000 – 20,000 บาท ร้อยละ 34.7 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 – 10 ปี ร้อยละ 40.6 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.72 (S.D.= 0.46 ) ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.71(S.D.=0.38) และพบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา(ปริญญาโท) ตำแหน่ง(ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) และประสบการณ์ในการฝึกอบรมตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวมีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด(r=204, p-value=0.002, r=0.154, p-value=0.023, r=0.187, p-value=0.006 ตามลำดับ) ส่วนแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.679, p-value < 0.001) โดย แรงจูงใจด้านความรับผิดชอบ ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านลักษณะของงาน และด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงานมีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 57.2(R2 =0.572, p-value < 0.001) ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ร้อยละ 52.8  
     คำสำคัญ แรงจูงใจ,การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข,มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว  
ผู้เขียน
595110037-3 นาย ธีร์ธวัช พิมพ์วงค์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0