2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา. 2561. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน12 คน โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 5 - 25 มิถุนายน 2561 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบาย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 อายุเฉลี่ย 38.50 ปี (S.D.=9.99 ปี) อายุต่ำสุด 23 ปี, อายุสูงสุด 59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 64.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 87.5 มีรายได้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รายได้เฉลี่ย 28,839 บาท(S.D.= 11,828.44บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาทรายได้สูงสุด 54,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ต่ำกว่า10 ปี คิดเป็นร้อยละ51.5 มีค่ามัธยฐาน 10.0 ปี (Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี) แรงจูงใจพบว่าในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.78(S.D.= 0.45) สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.40)แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r=0.534, p-value<0.001)ส่วนปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก โดยทั้ง 7 ตัวแปร มีผลและร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 คำสำคัญ: คุณลักษณะส่วนบุคคล,แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด Thepintorn Seneevong Na Ayuthtaya. 2018. Motivation Affecting The Performance Of Public health Officers At Sub-District Health Promotion Hospitals In Roi Et Province. Master of Public Health thesis in Public Health Administration, Graduate School, Khon Kean University. Thesis Advisor: Associate. Professor. Dr.Suwit Udompanich ABSTRACT This cross-sectional descriptive research aimed to study motivation affecting the performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province.. The sample of this study was a group of 200 public health officers and 12 persons participated in focus group discussion for qualitative data. The data were collected by the questionnaire, which was validated by three experts and tested reliability with Cronbach’s alpha coefficient was 0.98 The data were collected during 1 month start from June 5st-25th, 2018. The data was analyzed by descriptive statistic which presented the percentage, mean, standard deviation, median, minimum and maximum. And the inferential statistic used to analyze Pearson’s coefficient and multi-stage regression analysis. It was revealed that majority of the subjects were females (55.0%). The age varied between 41 to 50 years (30.0%) with average age of 38.50 years (S.D.= 9.99). The youngest subject was 23 years old while the oldest one was 59 years of age. 64.5 % of the subjects have marital status. 87.5% completed the Bachelor. The most of them incomes than 20,000 bath (35.5%) with the mean income of 28,839 bath (S.D.= 11,828.44). The most term of working in public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province was fewer than 10 years (51.5%). Overall, the level of motivation was modest with average of 3.78(S.D.= 0.45) The performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province were found in the high level with average of 4.05 (S.D.=0.40).The motivation had a moderate level of correlated with the subject’s performance of public health officers at the statistical significantly (r=0.534, p-value<0.001). And the secondary variables that could predict the performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province included Policy and Administration Responsibility Factor in Personal Lif Salary Work Itself Working Condition and Trainning at the statistical significance by 40.3% Keywords: Individual Attributes, Motivation , The Performance Of Public health Officers At Sub-District Health Promotion Hospitals In Roi Et Province. บทนำ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุขโดยได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 4 ด้าน คือ 1.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention & Promotion Excellence) 2.บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3.บุคลากร เป็นเลิศ (People Excellence) 4.บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ,2560) จากการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวในปัจจุบันนี้ส่งผลต่อการวางระบบบริหารงานบุคคลด้วยโดยเกี่ยวข้องตั้งแต่เรื่องการกำหนดลักษณะงาน ตำแหน่ง และกรอบอัตรากำลัง การบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไปจนถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานภายใต้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญคือ หลักสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่สำคัญนักวิชาการสาธารณสุขต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามยุทธศาสตร์และให้สอดคล้องกับการเป้าหมาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ รวมทั้งการวัดผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดในแต่ละด้านของกระทรวงสาธารณสุข โดยการปฏิบัติงานนั้นบุคลากรต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับ ตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และมีคุณภาพชีวิต มีความสมดุลระหว่างชีวิตกับการ ทำงาน รวมทั้งขวัญกำลังใจที่ดี มีแรงจูงใจในการ ปฏิบัติราชการให้มีผลสัมฤทธิ์ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเพิ่มผลิตภาพและขีดสมรรถนะ ของบุคลากร (สงครามชัย ลีทองดี และ ธิษณามดี ใจงาม, 2556) สมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ กำหนดให้นักวิชาการสาธารณสุขต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และต้องมี สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ด้านการมุ่งสัมฤทธิ์ 2) ด้านการบริการที่ดี 3) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมและ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2553) โดยสมรรถนะมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานเพราะเป็นเครื่องมือช่วยแปลงกลยุทธ์ขององค์กรมาสู่กระบวนการบริหารคนโดย เป็นการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับรูปแบบในการพัฒนาบุคลากรโดยเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการบริหารงานบุคคล ภายในองค์กรอีกทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถคนในองค์กรอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง นอกจากที่กล่าวมาแล้วสมรรถนะยังเป็นมาตรฐานพฤติกรรมที่สำคัญในการทำงานซึ่งสามารถนำไปใช้วัดและประเมินคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำมาใช้ในการวัดผลได้อย่างชัดเจน สุดท้ายช่วยให้องค์กร สามารถประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน และศักยภาพขององค์กร เพื่อใช้ในการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ในปัจจุบันองค์กรให้ความสำคัญกับสมรรถนะมากยิ่งขึ้น โดยมีวิจัยจากผู้ที่เคยศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะที่มีผลต่อการปฏิบัติงานไว้หลายท่านและจากงานวิจัยพบว่าระดับสมรรถนะอยู่ในระดับสูง มีด้านการมีจริยธรรม ด้านความร่วมแรงร่วมใจ ด้านการบริการดี ได้แก่ (อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน, 2556, ศันสนีย์ วงค์ม่วย และ วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี, 2556,) ในด้านการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ (บุญถม ชัยญวน และประจักรบัวผัน , 2553,) จากการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น พบว่ามีปัจจัยที่สำคัญคือคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยคุณลักษณะส่วนบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุข ตามเป้าหมายและตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข และคุณลักษณะส่วนบุคคล ที่สำคัญ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และการได้รับการฝึกอบรม (Schemerhorn, Hunt, & Osborn, 2003) จากการศึกษาพบว่ามีงานวิจัยที่เคยศึกษาด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลไว้หลายคน โดยลักษณะส่วนบุคคลจากงานวิจัยพบว่าด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ระดับสูง ( เยาวภา เต็งคิว ,2552) ด้านเพศ(ชาย) ด้านอายุ ด้านสถานภาพการสมรส ด้านการได้รับการอบรม มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (บุญทัน สมีน้อย และประจักร บัวผัน , 2554 ; สมหมาย คำพิชิตและวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี , 2556 ; จรัญญู ทองอเนก และ ประจักร บัวผัน ,2557 ; สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน ,2558 ) นอกจากนั้นแรงจูงใจก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจในการ ปฏิบัติงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีผลงานการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งตามแนวคิดและทฤษฎีของแรงจูงใจของ Herzberg ( Herzberg’s Motivation Hygiene Theory) เชื่อว่าแรงจูงใจในการทำงานนั้นประกอบด้วยปัจจัย 2 กลุ่มคือ ปัจจัยจูงใจ (Motivator factors)ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยตรงเพื่อจูงใจให้บุคคลชื่นชอบและรักในงานที่ปฏิบัติและเป็นตัวกระตุ้นให้คนเกิดความพึงพอใจในองค์การ โดย ประกอบด้วย 1.การยอมรับนับถือ (Recognition) 2.ความสำเร็จในการงาน (Achievement) 3. ความก้าวหน้าในตำแหน่ง หน้าที่ (Advancement) 4.ความรับผิดชอบ(Responsibility) 5.ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ(Work itself ) ด้านปัจจัยค้ำจุน (Hygiene factors) คือ ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจของบุคคลในการทำงานมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีอาจจะทำให้บุคคลในองค์การเกิดความไม่พึงพอใจ หรือไม่สนใจในการปฏิบัติงานขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน และอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย 1.เงินเดือนและค่าตอบแทน(Salary) 2.ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล (Interpersonal Relationships) 3.การปกครองบังคับบัญชา (Supervision Technical) 4.นโยบายและการบริหาร (Policy and Administration) 5.สภาพการปฏิบัติงาน (Working Condition) 6.ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security)7.สถานภาพของวิชาชีพ (Status) 8.ชีวิตความเป็นส่วนตัว (Personal life) (Hertzberg , Mausner Synderman, 2010) จากการศึกษามีงานวิจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขที่มีแรงจูงใจ โดยปัจจัยจูงใจที่สามารถพยากรณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้านการยอมรับนับถือ ( กนกพิชญ์ กาฬหว้า และประจักร บัวผัน ,2558 ; สุมาลี ลารังสิต และประจักร บัวผัน , 2557 ) และ ด้านความสำเร็จในการทำงาน (ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน , 2559 ; ศุภชัย หมื่นมา และ ประจักร บัวผัน,2557; วีระวรรณ เหล่าวิทวัส และประจักร บัวผัน, 2556 ; ปวีณา จังภูเขียว และชนะพล ศรีฤาชา, 2556) ด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ (อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน, 2556) ด้านความรับผิดชอบ (วัชรีวรรณ จันทะวงศ์ และประจักร บัวผัน, 2558 ;พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์ และประจักร บัวผัน,2557 ) ด้านโอกาสความก้าวหน้า (ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี,2556 ) และนอกจากปัจจัยจูงใจแล้ว จากการศึกษาปัจจัยค้ำจุนที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขใจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล โดยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (ทินกร ถิ่นวรแสง และ สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, 2559 ; วัชรีวรรณ จันทะวงศ์ และประจักร บัวผัน, 2556; พิม์วรา สิงหภิวัฒน์ และประจักร บัวผัน ,2557 ) และด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ( ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี,2556) จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่าแรงจูงใจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่จะทำให้บุคคลมีแรงผลักดัน มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานให้ผลงานออกมาโดดเด่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยให้สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายขององค์การและแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข ในปัจจุบันการจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีจำนวน รพ.สต.ในจังหวัดร้อยเอ็ดทั้งหมด 231 แห่งและมีจำนวนนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จำนวน 366 คน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ,2560) จากการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการออกนิเทศกำกับติดตามความก้าวหน้าตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขพบว่านักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ยังขาดการ นำความรู้เชิงบูรณาการของตนไปใช้ในการสร้างวิสัยทัศน์ เพื่อการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้ผลงานตามตัวชี้วัดที่สำคัญในด้านที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดีขึ้น และเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดลองวิธีการทำงานแบบใหม่ที่คาดว่าจะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมรวมทั้งบริหารจัดการให้ส่วนราชการโดยอาศัยการนำเทคโนโลยี ความรู้ หรือวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการในงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ยังขาดกาศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งการขาดการศึกษาเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาอาชีพของตน หรือที่เกี่ยวข้องนั้น อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด และสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษามาเสนอผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาบุคคลกร และสามารถส่งเสริมการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษา ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สมมติฐานการวิจัย คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจมีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย สมรรถนะหลัก หมายถึง สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมองบุคคลที่แสดงออกในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้บุคลากรสร้างผลงาน ได้โดดเด่นกว่าบุคคลอื่นทำให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดตามตำแหน่งงาน คุณลักษณะส่วนบุคคล หมายถึง ลักษณะส่วนบุคคลของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก แรงจูงใจ หมายถึง ปัจจัยที่สร้างเป็นตัวกระตุ้น ให้นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สามารถทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานนักวิชาการสาธารณสุขให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายที่วางไว้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจูงใจ และ ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจ (Motivator Factors) หมายถึง ปัจจัยกระตุ้นให้ ให้นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด เกิดความพึงพอใจในการทำงาน และทำให้บุคคลภายในองค์กรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน 1) ความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Achievement) 2) การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) 3) ลักษณะของงาน (Work Itself) 4) ความรับผิดชอบ (Responsibility) 5) ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (Advancement) ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน ป้องกันไม่ให้เกิดปัจจัยที่ไม่พึงพอใจในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลยังคงปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา ประกอบด้วย 8 ด้าน 1) เงินเดือนและค่าตอบแทน (Salary and Benefit) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship) 3) การปกครองบังคับบัญชา (Supervision Technical) 4) นโยบายและการบริหาร (Policy and Administration) 5) สภาพการปฏิบัติงาน (Working Condition) 6) สถานภาพของวิชาชีพ (Job Status) 7) ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security) 8) ชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal Life) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หมายถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามนโยบายรัฐบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาคุณภาพสถานบริการปฐมภูมิ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยทำหน้าที่ในการดูแลประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ ให้เข้าถึงสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (กาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ที่เรียกย่อ ว่า รพ.สต. นักวิชาการสาธารณสุข หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 1 ปี วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ณ ช่วงเวลาที่ศึกษา ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ในปีงบประมาณ 2560 มีจำนวน 366 คน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด, 2560) กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างในกรณีวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) ซึ่งใช้สูตรกำหนดขนาดตัวอย่างแบบการถดถอยพหุ (Cohen, 1998) คำนวณได้จากสูตรดังนี้ สูตร ………………………(1( เมื่อ .... .............. (2) เมื่อกำหนดให้ คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุสำหรับ Full Model ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ของสมการถดถอยของตัวแปรที่จะศึกษา ได้จากการศึกษา แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดเลย (ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน , 2560) ซึ่งมีลักษณะการปฏิบัติงานคล้ายคลึงกัน ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าอธิบายความผันแปรของวิจัยครั้งนี้ ซึ่งได้ค่า = 0.724 คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุสำหรับ Reduce model ( - ) ซึ่งได้ค่า = 0.694 คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุที่เปลี่ยนแปลง (R2 Change) เมื่อไม่มีตัวแปรที่ต้องการทดสอบ = 0.03 คือ ค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวแปรอิสระและอำนาจการทดสอบ w คือ จำนวนตัวแปรอิสระนอกเหนือจากตัวแปรที่ต้องการทดสอบ (เซต A) เท่ากับ 0 u คือ จำนวนตัวแปรอิสระที่ต้องการทดสอบ (เซต B) เท่ากับ 20 ตัวแปร  คือ ค่าที่ได้จาก = N –u-w-1 ในการคำนวณขนาดตัวอย่างจะต้องเปิดตารางที่ 9.4.2 หน้า 452-455 Cohen (1988) ประกอบการคำนวณ โดยค่าที่ปรากฏในตารางประกอบด้วยค่า u มี 23 ค่า v มี 4 ค่า ได้แก่ 20, 60, 120, และ  และค่า Power มีค่าระหว่าง 0.25 -0.99 จากนั้นหาค่า  ในสมการที่ (2) โดยแทนค่า v=120 ซึ่งเป็นค่าที่จะทำให้ขนาดตัวอย่างเพียงพอที่สุด จากนั้นดูที่ u=1 , Power=0.80 จะได้ =7.8 แทนค่า  ในสมการที่ (1) จะได้ขนาดตัวอย่าง ปัดเศษ ได้จำนวนตัวอย่าง 78 ตัวอย่าง แล้วนำค่า N มาคำนวณหาค่า v จะได้ v=78-1-19-1= 57 ซึ่งในตารางค่า v มีค่าอยู่ระหว่าง 20 – 60 นักวิจัยสามารถนำค่าที่ได้ไปใช้ในการหาค่า  ในสมการที่ 2 โดยค่า VL=20 VU= 60 เมื่อเปิดตาราง 9.4.2 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (=0.05) จะได้ค่า L= 8.5 U=7.9 แทนค่าในสมการที่ 2 ดังนี้ ได้ค่า L=8.5 U=7.9 แทนค่าในสมการที่ 2 ดังนี้ จึงนำค่า  ไปแทนค่าในสมการที่ 1 อีกครั้ง แทนค่าในสูตร = N N = 67.33 ปัดเศษได้ = 68 ตัวอย่าง ความสำคัญของขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาตัวแปรถดถอยพหุนั้นผลการวิเคราะห์ในการศึกษาจะมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นนั้นควรใช้ขนาดตัวอย่างไม่ต่ำกว่าจำนวน 10 เท่า ของตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างกรณีวิเคราะห์ถดถอย พหุ (Nunnally & Bermstein, 1994 อ้างถึงใน อรุณ จิรวัฒน์กุล, 2547) ดังนี้ จากสูตร n = 10 x Independent Variables เมื่อ n = จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง Independent Variables = จำนวนตัวแปรอิสระที่ศึกษาในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 20 ตัวแปร แทนค่าในสูตร n = 10 x 20 = 200 ตัวอย่าง จากการใช้สูตรการหาขนาดตัวอย่างทั้ง 2 วิธี ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 68 และ 200 ตัวอย่างนั้น เพื่อให้การศึกษามีขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอและมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ 3.2.3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ (Focus Group discussion) โดยเลือกวิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากบุคคลที่สามารถให้คำตอบเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณได้ โดยเลือกบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดีที่สุด (Key Informants) โดยพิจารณาคัดเลือกนักวิชาการสาธารณสุขที่รับผิดชอบนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้จากตัวแทนโซน ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กำหนดพื้นที่ของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดเป็น 4 โซนตามการแบ่งเขตของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมาโซนละ 3 คน รวมเป็นจำนวน 12 คน ที่เป็นผู้ให้อนุเคราะห์ร่วมมือและยินดีเข้าร่วมการสนทนากลุ่มในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามและการสนทนาแบบสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือ จากการทบทวนแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแบบสอบถามและแนวทางการสนทนาแบบสนทนากลุ่มให้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแต่ละตัวที่ศึกษา ตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ชุดที่ 1 แบบสอบถาม (Questionnaire) มีทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ชุดที่ 2 แนวทางในการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เป็นแนวทางใน การสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเนื้อหา (Content validity) ในแต่ละข้อคำถามต้องมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง 0.50 ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่า 0.50 ให้ปรับปรุงหรือตัดทิ้ง(บุญชม ศรีสะอาด, 2553) ซึ่งจากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.78 การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมี โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach’s Alpha Coefficient) ซึ่งค่าที่ยอมรับได้ต้องมีค่าเท่ากับ 0.7 ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ในการยอมรับว่ามีค่าความเที่ยงหรือเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2551) ซึ่งจากการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ ทั้งชุด ได้ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ผ่านการรับรองคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 เลขที่ HE612137 และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านผู้ประสานงานระดับอำเภอ โดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 5-25 มิถุนายน 2561 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแจกแจงข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติเชิงพรรณนา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะ โดยกรณีตัวแปรแจงนับ ( เพศ ระดับการศึกษา) ใช้สถิติการแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) กรณีตัวแปรต่อเนื่อง (อายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน)ถ้าข้อมูลแจกแจงแบบโค้งปกติ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ถ้าข้อมูลแจกแจง ไม่เป็นแบบโค้งใช้ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) 2) ระดับแรงจูงใจ และระดับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ถ้าข้อมูลแจกแจงแบบโค้งปกติใช้ ค่าเฉลี่ย ( Mean ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ถ้าข้อมูลแจกแจงไม่เป็นแบบโค้งปกติใช้ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) สถิติเชิงอนุมาน กรณีที่ข้อมูลแจกแจงแบบปกติ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และ ใช้สถิติแบบการถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Linear Regression Analysis) 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ( Content analysis) การแปลผล แรงจูงแจงใจ และ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข มีระดับการวัดเป็นช่วงสเกล (Interval Scale) 5 ระดับ (Likert, & Rensin, 1967) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ มากที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 5 คะแนน มาก มีค่าคะแนนเท่ากับ 4 คะแนน ปานกลาง มีค่าคะแนนเท่ากับ 3 คะแนน น้อย มีค่าคะแนนเท่ากับ 2 คะแนน น้อยที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 1 คะแนน ระดับแรงจูงใจ ระดับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แปลผล 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งได้มาจากการแบ่งจากค่าเฉลี่ย (สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน, 2547) ดังนี้ ระดับมากที่สุด ช่วงคะแนนเฉลี่ย 4.50 - 5.00 คะแนน ระดับมาก ช่วงคะแนนเฉลี่ย 3.50 - 4.49 คะแนน ระดับปานกลาง ช่วงคะแนนเฉลี่ย 2.50 - 3.49 คะแนน ระดับน้อย ช่วงคะแนนเฉลี่ย 1.50 - 2.49 คะแนน น้อยที่สุด ช่วงคะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.49 คะแนน เกณฑ์การแบ่งระดับคะแนนค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) แบ่งตามเกณฑ์ของ Elifson, Runyon, & Haber (1990) มีค่าตั้งแต่ -1 ถึง +1 ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) แบ่งระดับดังนี้ r มีค่า =0 เท่ากับ ไม่มีความสัมพันธ์ (No Relationship) r ระหว่าง ± 0.01 ถึง ± 0.30 เท่ากับ มีความสัมพันธ์ต่ำ (Weak Relationship) r ระหว่าง ± 0.31 ถึง ± 0.70 เท่ากับ มีความสัมพันธ์ปานกลาง (Moderate Relationship) r ระหว่าง ± 0.71 ถึง ± 0.99 เท่ากับ มีความสัมพันธ์สูง (Strong Relationship) r มีค่า ±1 เท่ากับ มีความสัมพันธ์โดยสมบูรณ์ (Perfect Relationship) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ถ้าค่า p - vale <0.05 แสดงว่าคู่สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามแต่ละคู่นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย 1. คุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 อายุเฉลี่ย 38.50 ปี (S.D.=9.99 ปี) อายุต่ำสุด 23 ปี, อายุสูงสุด 59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 64.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 87.5 มีรายได้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รายได้เฉลี่ย 28,839 บาท(S.D.= 11,828.44บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาทรายได้สูงสุด 54,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ต่ำกว่า10 ปี คิดเป็น ร้อยละ 51.5 มีค่ามัธยฐาน 10.0 ปี (Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี) 2. ระดับแรงจูงใจของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.78 (S.D.= 0.45 ) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.84 (S.D.= 0.51), 3.74 (S.D.= 0.49) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านลักษณะของงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.97(S.D.= 0.57) ส่วนแรงจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.36 (S.D.=0.93) รองลงมาคือด้านด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.63 (S.D.= 0.85 ) จากการสนทนากลุ่ม พบว่านักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น มีภาระงานที่มาก ตามนโยบายและทิศทางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งควบคุมด้วยตัวชี้วัดในแต่ละด้าน แต่ด้วยอัตรากำลังของบุคลากรมีน้อยจึงไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ในแต่ละด้าน และเรื่องเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับยังไม่เหมาะสม จึงต้องมีการบริหารจัดการงานของผู้บังคับบัญชา 3. ระดับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ระดับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.40) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.16 (S.D.=0.58) รองลงมาคือด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.11 (S.D.=0.49) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพโดยมีค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.57) รองลงมาคือด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.51) ตามลำดับ จากการสนทนากลุ่ม นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักนั้นจำเป็นต้องยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและมีจริยธรรม ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและสถานการณ์เพื่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย ต้องสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีการนำความรู้ มีทักษะ ด้านวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้กับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้อำนาจในการตัดสินใจร่วมกันของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควบคู่กับการสร้างแรงจูงใจ 4. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า การฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก(เคย) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.170, p-value=0.016) ส่วนเพศ(หญิง) อายุ สถานภาพสมรส(สมรส)ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) รายได้ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แรงจูงใจ ที่มีความสัมพันธ์กับ การปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลัก ของนักวิชาการ สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด จากการศึกษา พบว่าในภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.534,p-value<0.001) ส่วนภาพรวมปัจจัยจูงใจ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.481, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยจูงใจที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านความรับผิดชอบ (r=0.431, p-value<0.001) รองลงมา คือ ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง (r=0.412, p-value<0.001) และด้านที่มีระดับความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงาน มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (r=0.285, p-value<0.001) รองลงมาคือด้านการได้รับความยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก (r=0.365, p-value<0.001) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.494, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยค้ำจุนที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านนโยบายและการบริหาร (r=0.455, p-value<0.001)รองลงมาคือด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (r=0.429, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ไม่มีความสัมพันธ์ (r=0.122, p-value=0.085) รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r=0.325, p-value<0.001) ตามลำดับ 5. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษา พบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด มี 7 ตัวแปร คือปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร (p-value=0.006) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ (p-value=0.021) ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (p-value <0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (p-value<0.001) ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงาน (p-value=0.005) ปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน(p-value=0.039) และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (p-value=0.040) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งทั้ง 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 บทสรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาสามารถสรุปผลและอภิปรายผล ดังนี้ คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า การได้รับการอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก(เคย) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.170, p-value=0.016) ซึ่งสอดคล้องผลการผู้ศึกษาของ สันติ ธรณี และ ประจักร บัวผัน (2557) เรื่องการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.289, p-value < 0.001) วันเพ็ญ ภูผาพันธ์ และประจักร บัวผัน (2554) ศึกษาการบริหารงานของหัวหน้า ศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า การฝึกอบรมมี ความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการบริหารงานของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา (r = 0.157, p-value < 0.001) ส่วนเพศ(หญิง) อายุ สถานภาพสมรส(สมรส)ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) รายได้ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการ แรงจูงใจ พบว่าในภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.534, p-value<0.001) ซึ่งสอดคล้องผลการผู้ศึกษาของ รัชนีกร อะโน และประจักร บัวผัน (2558) ศึกษาการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (r=0.577, p-value<0.001) ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน (2557) ศึกษาการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ (r=0.610, p-value<0.001) ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี (2556) ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.68, S.D.=0.33) และมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ (r=0.467, p-value<0.001) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple Linear Regression Analysis) ซึ่งจากผลการวิเคราะห์จะทำให้ทราบว่าตัวแปรอิสระตัวใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม โดยตัวแปรอิสระที่ถูกเลือกเข้าสมการ สามารถเรียงลำดับดังนี้ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร (p-value=0.006) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ (p-value=0.021) ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (p-value<0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (p-value<0.001) ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงาน (p-value=0.005) ปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน(p-value=0.039) และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (p-value=0.040) ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว ศิราณี เสนานุช และ ประจักร บัวผัน (2560) ศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านการปกครองบังคับบัญชา เช่นเดียวกับ สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน (2557) การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับ อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน (2556) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด อุดรธานี พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงาน ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ เช่นเดียวกับ จิรัฏฐิติ ไทยศิริ และประจักร บัวผัน (2556) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน เช่นเดียวกับ อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน (2554) การศึกษาปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก ข้อเสนอแนะหรือการนำไปใช้ประโยชน์ 1. ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย 1.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนำงานสาธารณสุขอำเภอ ในด้านนโยบายและการบริหาร ควรส่งเสริมให้นักวิชาการสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน รวมทั้งบริการและส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรส่งเสริมให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามตามเป้าหมาย การมีส่วนร่วมวางแผนการจัดลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานและให้มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ และควรให้อำนาจในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขั้นในการปฏิบัติงาน 1.3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรมีความสำคัญในด้านความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ในขณะที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และควรได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อให้การปฏิบัติงานไม่ทำให้ท่านสูญเสียความเป็นส่วนตัวหรือเวลาที่ให้กับครอบครัว รวมทั้งการปฏิบัติงานในหน่วยงานให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน การมีแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานวิชาการให้ประสบความสำเร็จ 1.4 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรส่งเสริม การได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับงานในตำแหน่งหน้าที่ การเลื่อนขั้นเงินเดือนที่เหมาะสมกับภาระงาน การได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนสอดคล้องกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดความพึงพอใจกับเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้จากหน่วยงาน รวมทั้งควรได้รับผลประโยชน์เกื้อกูลอื่นที่เหมาะสม 1.5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรสนับสนุนการปฏิบัติงานต้องใช้ความรู้วามสามารถหลายด้านในการปฏิบัติงานในชุมชน เพื่อให้การปฏิบัติงานวิชาการสำเร็จทันตาม ระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยเฉพาะงานที่รับผิดชอบเป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มร้างสรรค์ ต้องใช้ทั้งความรู้ความสามารถหลายด้าน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีท้าทายความสามารถในการที่จะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบในการทำงาน หมายถึงในการมอบหมายงานให้นักวิชาการสาธารณสุขควรมอบความรับผิดชอบให้กับนักวิชาการสาธารณสุขด้วย เพื่อเป็นการสร้างภาวะผู้นำและการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาการทำงาน 2.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรให้ความสำคัญกับการมอบหมายงานในการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขใน รพ.สต. โดยควรมีการเฉลี่ยงานที่รับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต.ใกล้เคียงกันเพื่อไม่ให้กระทบกับความเป็นอยู่ส่วนตัวและการให้เวลากับครอบครัว กิตติกรรมประกาศ การศึกษาวิจัยฉบับนี้ สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักร บัวผัน ประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ อาจารย์ ดร.สุทิน ชนะบุญ ที่ได้แนะนำ แก้ไขข้อบกพร่อง เกี่ยวกับการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนสำเร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณ นพ.กัมปนาท โกวิทางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง และนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต.จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และขอขอบคุณทุกท่านที่มิได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ ที่มีส่วน สำคัญให้การทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้สำเร็จด้วยดี เอกสารอ้างอิง กนกพิชญ์ กาฬหว้า และประจักร บัวผัน. (2558). การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,8(1),83-93. จรัญญู ทองอเนก และ ประจักร บัวผัน ใ(2557) .สุนทรียทักษะ ผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,8(1) จิรัฏฐิติ ไทยศิริ และประจักร บัวผัน .(2556). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(1), 123-134. 4. ทินกร ถาวรแสง และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์.(2559).ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการดำเนินงาน โครงการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เมืองแห่งความสุขของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,9(3),38-48. 5. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 6. บุญทัน สมีน้อย, และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยทางการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย พื้นที่อำเภอโซนใต้ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 16(6), 706-715. 7.บุญถม ชัยญวน และประจักร บัวผัน.(2553).ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน 8.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์. 9.ปวีณา จังภูเขียว, และชนะพล ศรีฤาชา. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรคในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 20(2), 1-10. 10.พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์, และประจักร บัวผัน. (2557). การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(3), 267-280. 11.เยาวภา เต็งคิว.(2552).ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของหัวหน้าสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร 12.รัชนีกร อะโน, และประจักร บัวผัน. (2558). การดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 117-127. 13.วันเพ็ญ ภูผาพันธ์ และประจักร บัวผัน. (2554). การบริหารของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน ในจังหวัด นครราชสีมา. วารสารวิจัย มข., 16(7), 845-853. 14.วีระวรรณ เหล่าวิทวัส, และประจักร บัวผัน (2556). การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(2), 109-120. 15.ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทิศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่ม,6(3),46-54 16.ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน. (2560). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,10(1), 63-73. 17.ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานสร้างเสริมและป้องกันโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา),14(2), 71-84. 18.สมหมาย คำพิชิต และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(1), 21-29. 19.สงครามชัย ลีทองดี และธิษฌามดี ใจงาม.(2556). สภาพปัญหาและสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต ในการปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพที่9.ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่9.(หน้า 254-262). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 20.สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 14(1), 89-104. 21.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง.กรุงเทพฯ: บริษัทประชุมช่าง จำกัด. 22.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายชื่อและจำนวนนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : [ ม.ป.พ.] 23.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.(2560).แผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560- 2564.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 24.สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 25.สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน. (2558). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักบริหารงานสาธารณสุขในเทศบาล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(4), 75-87. 26.สุมาลี ลารังสิต และประจักร บัวผัน.(2557). การปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น . วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา),14(3),67-80. 27.อนัญญา ขุนศรี, และประจักร บัวผัน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(1), 52-59. 28.อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 29.อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 16(7), 855 - 863. 30.Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior science. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. 31.Elifson, K.W. et al. (1990). Fundamentals of Socials Statistic. 2nd ed. New York: McGraw-Hill. 32.Hertzberg, F., Mausner, B. & Synderman, B.B. (2010). The motivate to work. New Brunwisk, NJ: Transaction Pub. 33.Likert, L. & Rensis, R. (1967). Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son. 34.Schermerhorn, R., Hunt, G., & Osborn, N. (2003). Organization Behavior. New York: John Wily & Sons. ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดคุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน (n =200) ร้อยละ 1. เพศ ชาย 90 45.0 หญิง 110 55.0 2. อายุ ต่ำกว่า 30 ปี 53 26.5 31 – 40 ปี 57 28.5 41 – 50 ปี 60 30.0 มากกว่า 50 ปี 30 15.0 Mean = 38.50 ปี, S.D.= 9.99 ปี, Minimum =23 ปี, Maximum = 59 ปี 3. สถานภาพ โสด 63 31.5 สมรส 129 64.5 หม้าย/หย่า/แยก 8 4.0 4. ระดับการศึกษา ปริญญาตรี 175 87.5 ปริญญาโท 24 12.0 ปริญญาเอก 1 0.5 5. รายได้ ต่ำกว่า 20,000 บาท 71 35.5 20,001 – -30,000 บาท 46 23.0 30,001 – 40,000 บาท 46 23.0 40,001 บาทขึ้นไป 37 18.5 Mean= 28,839 บาท, S.D.=11,828.44 บาท ,Minimum= 10,000 บาท, Maximum= 54,000 บาท ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดคุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) คุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน (n =200) ร้อยละ 6.ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ต่ำกว่า 10 ปี 103 51.5 11 – 20 ปี 57 28.5 21 – 30 ปี 32 16.0 31 ปีขึ้นไป 8 4.0 Mean =12.4 ปี ,S.D.= 8.94 ปี, , Median = 10.00 ,Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี 7.การฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก ไม่เคย 104 52.0 เคย 96 48.0 8.จำนวนครั้งการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (n=96) 1-3 ครั้ง 79 82.3 4-6 ครั้ง 15 15.6 7 ครั้งขึ้นไป 2 2.1 Mean = 1.19 ครั้ง ,S.D.= 0.44 ครั้ง, Minimum =1.00 ครั้ง, Maximum =10.00 ครั้ง ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและการแปลผลของแรงจูงใจในการปฏิบัติ งานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แรงจูงใจของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระดับแรงจูงใจ (n=200) การ แปลผล Mean S.D. ปัจจัยจูงใจ 1. ด้านการยอมรับนับถือ 3.79 0.58 มาก 2. ด้านความสำเร็จในการทำงาน 3.87 0.64 มาก 3. ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ 3.63 0.85 มาก 4. ด้านความรับผิดชอบ 3.95 0.66 มาก 5. ด้านลักษณะของงาน 3.97 0.57 มาก รวม 3.84 0.51 มาก ปัจจัยค้ำจุน 1. ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน 3.36 0.93 มาก 2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3.74 0.68 มาก 3. ด้านการปกครองบังคับบัญชา 3.96 0.61 มาก 4. ด้านนโยบายและการบริหาร 3.80 0.64 มาก 5. ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 3.67 0.67 มาก 6. ด้านสถานภาพของวิชาชีพ 3.87 0.70 มาก 7. ด้านความมั่นคงในการทำงาน 3.73 0.77 มาก 8. ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 3.81 0.63 มาก รวม 3.74 0.49 มาก ภาพรวมของแรงจูงใจ 3.78 0.45 มาก ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแปลผลสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติ งานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล Mean S.D. การแปลผล 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3.95 0.51 มาก 2. การบริการที่ดี 4.10 0.52 มาก 3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 3.95 0.57 มาก 4.การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม 4.16 0.58 มาก 5. การทำงานเป็นทีม 4.11 0.49 มาก ภาพรวม 4.05 0.40 มาก ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการ ปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p - value ระดับความสัมพันธ์ 1.เพศ(หญิง) -0.092 0.197 ไม่มีความสัมพันธ์ 2.อายุ 0.087 0.222 ไม่มีความสัมพันธ์ 3. สถานภาพสมรส (สมรส) 0.084 0.238 ไม่มีความสัมพันธ์ 4.ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) -0.122 0.085 ไม่มีความสัมพันธ์ 5.รายได้ 0.090 0.206 ไม่มีความสัมพันธ์ 6.ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 0.023 0.751 ไม่มีความสัมพันธ์ 7.การฝึกอบรมเกี่ยวกับ สมรรถนะหลัก (เคย) 0.170* 0.016 ต่ำ * Correlation is significant at the 0.05 level (2-tailed). ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) แรงจูงใจ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p-value ระดับความสัมพันธ์ ปัจจัยจูงใจ 0.481*** <0.001 ปานกลาง ด้านความสำเร็จในการทำงาน 0.408*** <0.001 ปานกลาง ด้านการได้รับความยอมรับนับถือ 0.365*** <0.001 ปานกลาง ด้านลักษณะของงาน 0.285*** <0.001 ต่ำ ด้านความรับผิดชอบ 0.431*** <0.001 ปานกลาง ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง 0.412*** <0.001 ปานกลาง ปัจจัยค้ำจุน 0.494*** <0.001 ปานกลาง ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน 0.122 0.085 ไม่มีความสัมพันธ์ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 0.325*** <0.001 ปานกลาง ด้านการปกครองบังคับบัญชา 0.357*** <0.001 ปานกลาง ด้านนโยบายและการบริหาร 0.455*** <0.001 ปานกลาง ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) แรงจูงใจ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p-value ระดับความสัมพันธ์ ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 0.410*** <0.001 ปานกลาง ด้านสถานภาพของวิชาชีพ 0.362*** <0.001 ปานกลาง ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน 0.390*** <0.001 ปานกลาง ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 0.429*** <0.001 ปานกลาง ภาพรวม 0.534*** <0.001 ปานกลาง *** ค่าระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.001 ตารางที่ 5 ค่าสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนของแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ตัวแปร B Beta t P-value R R2 R2change ด้านนโยบายและการบริหาร 0.123 0.209 2.790 0.006 0.455 0.207 - ด้านความรับผิดชอบ 0.104 0.172 2.320 0.021 0.541 0.293 0.086 ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 0.137 0.216 3.274 0.001 0.574 0.329 0.036 ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน -0.099 -0.228 -3.541 <0.001 0.593 0.352 0.023 ด้านลักษณะของงาน 0.147 0.209 2.855 0.005 0.611 0.373 0.021 ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 0.093 0.154 2.074 0.039 0.624 0.390 0.017 ด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก 0.094 0.117 2.072 0.040 0.635 0.403 0.013 ค่าคงที่ 2.026 , F = 18.508, p – value<0.001 ,R = 0.635 , R2= 0.403 ,R2adj= 0.381 เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา. 2561. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน12 คน โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 5 - 25 มิถุนายน 2561 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบาย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 อายุเฉลี่ย 38.50 ปี (S.D.=9.99 ปี) อายุต่ำสุด 23 ปี, อายุสูงสุด 59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 64.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 87.5 มีรายได้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รายได้เฉลี่ย 28,839 บาท(S.D.= 11,828.44บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาทรายได้สูงสุด 54,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ต่ำกว่า10 ปี คิดเป็นร้อยละ51.5 มีค่ามัธยฐาน 10.0 ปี (Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี) แรงจูงใจพบว่าในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.78(S.D.= 0.45) สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.40)แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r=0.534, p-value<0.001)ส่วนปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก โดยทั้ง 7 ตัวแปร มีผลและร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 คำสำคัญ: คุณลักษณะส่วนบุคคล,แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด Thepintorn Seneevong Na Ayuthtaya. 2018. Motivation Affecting The Performance Of Public health Officers At Sub-District Health Promotion Hospitals In Roi Et Province. Master of Public Health thesis in Public Health Administration, Graduate School, Khon Kean University. Thesis Advisor: Associate. Professor. Dr.Suwit Udompanich ABSTRACT This cross-sectional descriptive research aimed to study motivation affecting the performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province.. The sample of this study was a group of 200 public health officers and 12 persons participated in focus group discussion for qualitative data. The data were collected by the questionnaire, which was validated by three experts and tested reliability with Cronbach’s alpha coefficient was 0.98 The data were collected during 1 month start from June 5st-25th, 2018. The data was analyzed by descriptive statistic which presented the percentage, mean, standard deviation, median, minimum and maximum. And the inferential statistic used to analyze Pearson’s coefficient and multi-stage regression analysis. It was revealed that majority of the subjects were females (55.0%). The age varied between 41 to 50 years (30.0%) with average age of 38.50 years (S.D.= 9.99). The youngest subject was 23 years old while the oldest one was 59 years of age. 64.5 % of the subjects have marital status. 87.5% completed the Bachelor. The most of them incomes than 20,000 bath (35.5%) with the mean income of 28,839 bath (S.D.= 11,828.44). The most term of working in public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province was fewer than 10 years (51.5%). Overall, the level of motivation was modest with average of 3.78(S.D.= 0.45) The performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province were found in the high level with average of 4.05 (S.D.=0.40).The motivation had a moderate level of correlated with the subject’s performance of public health officers at the statistical significantly (r=0.534, p-value<0.001). And the secondary variables that could predict the performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province included Policy and Administration Responsibility Factor in Personal Lif Salary Work Itself Working Condition and Trainning at the statistical significance by 40.3% Keywords: Individual Attributes, Motivation , The Performance Of Public health Officers At Sub-District Health Promotion Hospitals In Roi Et Province. บทนำ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุขโดยได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 4 ด้าน คือ 1.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention & Promotion Excellence) 2.บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3.บุคลากร เป็นเลิศ (People Excellence) 4.บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ,2560) จากการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวในปัจจุบันนี้ส่งผลต่อการวางระบบบริหารงานบุคคลด้วยโดยเกี่ยวข้องตั้งแต่เรื่องการกำหนดลักษณะงาน ตำแหน่ง และกรอบอัตรากำลัง การบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไปจนถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานภายใต้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญคือ หลักสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่สำคัญนักวิชาการสาธารณสุขต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามยุทธศาสตร์และให้สอดคล้องกับการเป้าหมาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ รวมทั้งการวัดผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดในแต่ละด้านของกระทรวงสาธารณสุข โดยการปฏิบัติงานนั้นบุคลากรต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับ ตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และมีคุณภาพชีวิต มีความสมดุลระหว่างชีวิตกับการ ทำงาน รวมทั้งขวัญกำลังใจที่ดี มีแรงจูงใจในการ ปฏิบัติราชการให้มีผลสัมฤทธิ์ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเพิ่มผลิตภาพและขีดสมรรถนะ ของบุคลากร (สงครามชัย ลีทองดี และ ธิษณามดี ใจงาม, 2556) สมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ กำหนดให้นักวิชาการสาธารณสุขต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และต้องมี สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ด้านการมุ่งสัมฤทธิ์ 2) ด้านการบริการที่ดี 3) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมและ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2553) โดยสมรรถนะมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานเพราะเป็นเครื่องมือช่วยแปลงกลยุทธ์ขององค์กรมาสู่กระบวนการบริหารคนโดย เป็นการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับรูปแบบในการพัฒนาบุคลากรโดยเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการบริหารงานบุคคล ภายในองค์กรอีกทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถคนในองค์กรอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง นอกจากที่กล่าวมาแล้วสมรรถนะยังเป็นมาตรฐานพฤติกรรมที่สำคัญในการทำงานซึ่งสามารถนำไปใช้วัดและประเมินคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำมาใช้ในการวัดผลได้อย่างชัดเจน สุดท้ายช่วยให้องค์กร สามารถประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน และศักยภาพขององค์กร เพื่อใช้ในการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ในปัจจุบันองค์กรให้ความสำคัญกับสมรรถนะมากยิ่งขึ้น โดยมีวิจัยจากผู้ที่เคยศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะที่มีผลต่อการปฏิบัติงานไว้หลายท่านและจากงานวิจัยพบว่าระดับสมรรถนะอยู่ในระดับสูง มีด้านการมีจริยธรรม ด้านความร่วมแรงร่วมใจ ด้านการบริการดี ได้แก่ (อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน, 2556, ศันสนีย์ วงค์ม่วย และ วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี, 2556,) ในด้านการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ (บุญถม ชัยญวน และประจักรบัวผัน , 2553,) จากการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น พบว่ามีปัจจัยที่สำคัญคือคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยคุณลักษณะส่วนบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุข ตามเป้าหมายและตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข และคุณลักษณะส่วนบุคคล ที่สำคัญ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และการได้รับการฝึกอบรม (Schemerhorn, Hunt, & Osborn, 2003) จากการศึกษาพบว่ามีงานวิจัยที่เคยศึกษาด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลไว้หลายคน โดยลักษณะส่วนบุคคลจากงานวิจัยพบว่าด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ระดับสูง ( เยาวภา เต็งคิว ,2552) ด้านเพศ(ชาย) ด้านอายุ ด้านสถานภาพการสมรส ด้านการได้รับการอบรม มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (บุญทัน สมีน้อย และประจักร บัวผัน , 2554 ; สมหมาย คำพิชิตและวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี , 2556 ; จรัญญู ทองอเนก และ ประจักร บัวผัน ,2557 ; สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน ,2558 ) นอกจากนั้นแรงจูงใจก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจในการ ปฏิบัติงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีผลงานการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งตามแนวคิดและทฤษฎีของแรงจูงใจของ Herzberg ( Herzberg’s Motivation Hygiene Theory) เชื่อว่าแรงจูงใจในการทำงานนั้นประกอบด้วยปัจจัย 2 กลุ่มคือ ปัจจัยจูงใจ (Motivator factors)ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยตรงเพื่อจูงใจให้บุคคลชื่นชอบและรักในงานที่ปฏิบัติและเป็นตัวกระตุ้นให้คนเกิดความพึงพอใจในองค์การ โดย ประกอบด้วย 1.การยอมรับนับถือ (Recognition) 2.ความสำเร็จในการงาน (Achievement) 3. ความก้าวหน้าในตำแหน่ง หน้าที่ (Advancement) 4.ความรับผิดชอบ(Responsibility) 5.ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ(Work itself ) ด้านปัจจัยค้ำจุน (Hygiene factors) คือ ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจของบุคคลในการทำงานมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีอาจจะทำให้บุคคลในองค์การเกิดความไม่พึงพอใจ หรือไม่สนใจในการปฏิบัติงานขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน และอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย 1.เงินเดือนและค่าตอบแทน(Salary) 2.ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล (Interpersonal Relationships) 3.การปกครองบังคับบัญชา (Supervision Technical) 4.นโยบายและการบริหาร (Policy and Administration) 5.สภาพการปฏิบัติงาน (Working Condition) 6.ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security)7.สถานภาพของวิชาชีพ (Status) 8.ชีวิตความเป็นส่วนตัว (Personal life) (Hertzberg , Mausner Synderman, 2010) จากการศึกษามีงานวิจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขที่มีแรงจูงใจ โดยปัจจัยจูงใจที่สามารถพยากรณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้านการยอมรับนับถือ ( กนกพิชญ์ กาฬหว้า และประจักร บัวผัน ,2558 ; สุมาลี ลารังสิต และประจักร บัวผัน , 2557 ) และ ด้านความสำเร็จในการทำงาน (ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน , 2559 ; ศุภชัย หมื่นมา และ ประจักร บัวผัน,2557; วีระวรรณ เหล่าวิทวัส และประจักร บัวผัน, 2556 ; ปวีณา จังภูเขียว และชนะพล ศรีฤาชา, 2556) ด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ (อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน, 2556) ด้านความรับผิดชอบ (วัชรีวรรณ จันทะวงศ์ และประจักร บัวผัน, 2558 ;พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์ และประจักร บัวผัน,2557 ) ด้านโอกาสความก้าวหน้า (ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี,2556 ) และนอกจากปัจจัยจูงใจแล้ว จากการศึกษาปัจจัยค้ำจุนที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขใจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล โดยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (ทินกร ถิ่นวรแสง และ สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, 2559 ; วัชรีวรรณ จันทะวงศ์ และประจักร บัวผัน, 2556; พิม์วรา สิงหภิวัฒน์ และประจักร บัวผัน ,2557 ) และด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ( ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี,2556) จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่าแรงจูงใจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่จะทำให้บุคคลมีแรงผลักดัน มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานให้ผลงานออกมาโดดเด่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยให้สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายขององค์การและแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข ในปัจจุบันการจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีจำนวน รพ.สต.ในจังหวัดร้อยเอ็ดทั้งหมด 231 แห่งและมีจำนวนนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จำนวน 366 คน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ,2560) จากการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการออกนิเทศกำกับติดตามความก้าวหน้าตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขพบว่านักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ยังขาดการ นำความรู้เชิงบูรณาการของตนไปใช้ในการสร้างวิสัยทัศน์ เพื่อการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้ผลงานตามตัวชี้วัดที่สำคัญในด้านที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดีขึ้น และเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดลองวิธีการทำงานแบบใหม่ที่คาดว่าจะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมรวมทั้งบริหารจัดการให้ส่วนราชการโดยอาศัยการนำเทคโนโลยี ความรู้ หรือวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการในงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ยังขาดกาศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งการขาดการศึกษาเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาอาชีพของตน หรือที่เกี่ยวข้องนั้น อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด และสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษามาเสนอผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาบุคคลกร และสามารถส่งเสริมการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษา ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สมมติฐานการวิจัย คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจมีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย สมรรถนะหลัก หมายถึง สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมองบุคคลที่แสดงออกในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้บุคลากรสร้างผลงาน ได้โดดเด่นกว่าบุคคลอื่นทำให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดตามตำแหน่งงาน คุณลักษณะส่วนบุคคล หมายถึง ลักษณะส่วนบุคคลของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก แรงจูงใจ หมายถึง ปัจจัยที่สร้างเป็นตัวกระตุ้น ให้นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สามารถทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานนักวิชาการสาธารณสุขให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายที่วางไว้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจูงใจ และ ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจ (Motivator Factors) หมายถึง ปัจจัยกระตุ้นให้ ให้นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด เกิดความพึงพอใจในการทำงาน และทำให้บุคคลภายในองค์กรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน 1) ความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Achievement) 2) การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) 3) ลักษณะของงาน (Work Itself) 4) ความรับผิดชอบ (Responsibility) 5) ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (Advancement) ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน ป้องกันไม่ให้เกิดปัจจัยที่ไม่พึงพอใจในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลยังคงปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา ประกอบด้วย 8 ด้าน 1) เงินเดือนและค่าตอบแทน (Salary and Benefit) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship) 3) การปกครองบังคับบัญชา (Supervision Technical) 4) นโยบายและการบริหาร (Policy and Administration) 5) สภาพการปฏิบัติงาน (Working Condition) 6) สถานภาพของวิชาชีพ (Job Status) 7) ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security) 8) ชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal Life) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หมายถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามนโยบายรัฐบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาคุณภาพสถานบริการปฐมภูมิ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยทำหน้าที่ในการดูแลประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ ให้เข้าถึงสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (กาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ที่เรียกย่อ ว่า รพ.สต. นักวิชาการสาธารณสุข หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 1 ปี วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ณ ช่วงเวลาที่ศึกษา ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ในปีงบประมาณ 2560 มีจำนวน 366 คน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด, 2560) กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างในกรณีวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) ซึ่งใช้สูตรกำหนดขนาดตัวอย่างแบบการถดถอยพหุ (Cohen, 1998) คำนวณได้จากสูตรดังนี้ สูตร ………………………(1( เมื่อ .... .............. (2) เมื่อกำหนดให้ คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุสำหรับ Full Model ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ของสมการถดถอยของตัวแปรที่จะศึกษา ได้จากการศึกษา แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดเลย (ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน , 2560) ซึ่งมีลักษณะการปฏิบัติงานคล้ายคลึงกัน ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าอธิบายความผันแปรของวิจัยครั้งนี้ ซึ่งได้ค่า = 0.724 คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุสำหรับ Reduce model ( - ) ซึ่งได้ค่า = 0.694 คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุที่เปลี่ยนแปลง (R2 Change) เมื่อไม่มีตัวแปรที่ต้องการทดสอบ = 0.03 คือ ค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวแปรอิสระและอำนาจการทดสอบ w คือ จำนวนตัวแปรอิสระนอกเหนือจากตัวแปรที่ต้องการทดสอบ (เซต A) เท่ากับ 0 u คือ จำนวนตัวแปรอิสระที่ต้องการทดสอบ (เซต B) เท่ากับ 20 ตัวแปร  คือ ค่าที่ได้จาก = N –u-w-1 ในการคำนวณขนาดตัวอย่างจะต้องเปิดตารางที่ 9.4.2 หน้า 452-455 Cohen (1988) ประกอบการคำนวณ โดยค่าที่ปรากฏในตารางประกอบด้วยค่า u มี 23 ค่า v มี 4 ค่า ได้แก่ 20, 60, 120, และ  และค่า Power มีค่าระหว่าง 0.25 -0.99 จากนั้นหาค่า  ในสมการที่ (2) โดยแทนค่า v=120 ซึ่งเป็นค่าที่จะทำให้ขนาดตัวอย่างเพียงพอที่สุด จากนั้นดูที่ u=1 , Power=0.80 จะได้ =7.8 แทนค่า  ในสมการที่ (1) จะได้ขนาดตัวอย่าง ปัดเศษ ได้จำนวนตัวอย่าง 78 ตัวอย่าง แล้วนำค่า N มาคำนวณหาค่า v จะได้ v=78-1-19-1= 57 ซึ่งในตารางค่า v มีค่าอยู่ระหว่าง 20 – 60 นักวิจัยสามารถนำค่าที่ได้ไปใช้ในการหาค่า  ในสมการที่ 2 โดยค่า VL=20 VU= 60 เมื่อเปิดตาราง 9.4.2 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (=0.05) จะได้ค่า L= 8.5 U=7.9 แทนค่าในสมการที่ 2 ดังนี้ ได้ค่า L=8.5 U=7.9 แทนค่าในสมการที่ 2 ดังนี้ จึงนำค่า  ไปแทนค่าในสมการที่ 1 อีกครั้ง แทนค่าในสูตร = N N = 67.33 ปัดเศษได้ = 68 ตัวอย่าง ความสำคัญของขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาตัวแปรถดถอยพหุนั้นผลการวิเคราะห์ในการศึกษาจะมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นนั้นควรใช้ขนาดตัวอย่างไม่ต่ำกว่าจำนวน 10 เท่า ของตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างกรณีวิเคราะห์ถดถอย พหุ (Nunnally & Bermstein, 1994 อ้างถึงใน อรุณ จิรวัฒน์กุล, 2547) ดังนี้ จากสูตร n = 10 x Independent Variables เมื่อ n = จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง Independent Variables = จำนวนตัวแปรอิสระที่ศึกษาในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 20 ตัวแปร แทนค่าในสูตร n = 10 x 20 = 200 ตัวอย่าง จากการใช้สูตรการหาขนาดตัวอย่างทั้ง 2 วิธี ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 68 และ 200 ตัวอย่างนั้น เพื่อให้การศึกษามีขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอและมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ 3.2.3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ (Focus Group discussion) โดยเลือกวิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากบุคคลที่สามารถให้คำตอบเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณได้ โดยเลือกบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดีที่สุด (Key Informants) โดยพิจารณาคัดเลือกนักวิชาการสาธารณสุขที่รับผิดชอบนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้จากตัวแทนโซน ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กำหนดพื้นที่ของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดเป็น 4 โซนตามการแบ่งเขตของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมาโซนละ 3 คน รวมเป็นจำนวน 12 คน ที่เป็นผู้ให้อนุเคราะห์ร่วมมือและยินดีเข้าร่วมการสนทนากลุ่มในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามและการสนทนาแบบสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือ จากการทบทวนแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแบบสอบถามและแนวทางการสนทนาแบบสนทนากลุ่มให้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแต่ละตัวที่ศึกษา ตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ชุดที่ 1 แบบสอบถาม (Questionnaire) มีทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ชุดที่ 2 แนวทางในการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เป็นแนวทางใน การสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเนื้อหา (Content validity) ในแต่ละข้อคำถามต้องมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง 0.50 ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่า 0.50 ให้ปรับปรุงหรือตัดทิ้ง(บุญชม ศรีสะอาด, 2553) ซึ่งจากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.78 การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมี โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach’s Alpha Coefficient) ซึ่งค่าที่ยอมรับได้ต้องมีค่าเท่ากับ 0.7 ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ในการยอมรับว่ามีค่าความเที่ยงหรือเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2551) ซึ่งจากการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ ทั้งชุด ได้ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ผ่านการรับรองคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 เลขที่ HE612137 และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านผู้ประสานงานระดับอำเภอ โดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 5-25 มิถุนายน 2561 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแจกแจงข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติเชิงพรรณนา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะ โดยกรณีตัวแปรแจงนับ ( เพศ ระดับการศึกษา) ใช้สถิติการแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) กรณีตัวแปรต่อเนื่อง (อายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน)ถ้าข้อมูลแจกแจงแบบโค้งปกติ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ถ้าข้อมูลแจกแจง ไม่เป็นแบบโค้งใช้ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) 2) ระดับแรงจูงใจ และระดับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ถ้าข้อมูลแจกแจงแบบโค้งปกติใช้ ค่าเฉลี่ย ( Mean ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ถ้าข้อมูลแจกแจงไม่เป็นแบบโค้งปกติใช้ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) สถิติเชิงอนุมาน กรณีที่ข้อมูลแจกแจงแบบปกติ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และ ใช้สถิติแบบการถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Linear Regression Analysis) 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ( Content analysis) การแปลผล แรงจูงแจงใจ และ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข มีระดับการวัดเป็นช่วงสเกล (Interval Scale) 5 ระดับ (Likert, & Rensin, 1967) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ มากที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 5 คะแนน มาก มีค่าคะแนนเท่ากับ 4 คะแนน ปานกลาง มีค่าคะแนนเท่ากับ 3 คะแนน น้อย มีค่าคะแนนเท่ากับ 2 คะแนน น้อยที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 1 คะแนน ระดับแรงจูงใจ ระดับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แปลผล 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งได้มาจากการแบ่งจากค่าเฉลี่ย (สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน, 2547) ดังนี้ ระดับมากที่สุด ช่วงคะแนนเฉลี่ย 4.50 - 5.00 คะแนน ระดับมาก ช่วงคะแนนเฉลี่ย 3.50 - 4.49 คะแนน ระดับปานกลาง ช่วงคะแนนเฉลี่ย 2.50 - 3.49 คะแนน ระดับน้อย ช่วงคะแนนเฉลี่ย 1.50 - 2.49 คะแนน น้อยที่สุด ช่วงคะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.49 คะแนน เกณฑ์การแบ่งระดับคะแนนค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) แบ่งตามเกณฑ์ของ Elifson, Runyon, & Haber (1990) มีค่าตั้งแต่ -1 ถึง +1 ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) แบ่งระดับดังนี้ r มีค่า =0 เท่ากับ ไม่มีความสัมพันธ์ (No Relationship) r ระหว่าง ± 0.01 ถึง ± 0.30 เท่ากับ มีความสัมพันธ์ต่ำ (Weak Relationship) r ระหว่าง ± 0.31 ถึง ± 0.70 เท่ากับ มีความสัมพันธ์ปานกลาง (Moderate Relationship) r ระหว่าง ± 0.71 ถึง ± 0.99 เท่ากับ มีความสัมพันธ์สูง (Strong Relationship) r มีค่า ±1 เท่ากับ มีความสัมพันธ์โดยสมบูรณ์ (Perfect Relationship) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ถ้าค่า p - vale <0.05 แสดงว่าคู่สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามแต่ละคู่นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย 1. คุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 อายุเฉลี่ย 38.50 ปี (S.D.=9.99 ปี) อายุต่ำสุด 23 ปี, อายุสูงสุด 59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 64.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 87.5 มีรายได้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รายได้เฉลี่ย 28,839 บาท(S.D.= 11,828.44บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาทรายได้สูงสุด 54,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ต่ำกว่า10 ปี คิดเป็น ร้อยละ 51.5 มีค่ามัธยฐาน 10.0 ปี (Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี) 2. ระดับแรงจูงใจของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.78 (S.D.= 0.45 ) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.84 (S.D.= 0.51), 3.74 (S.D.= 0.49) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านลักษณะของงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.97(S.D.= 0.57) ส่วนแรงจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.36 (S.D.=0.93) รองลงมาคือด้านด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.63 (S.D.= 0.85 ) จากการสนทนากลุ่ม พบว่านักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น มีภาระงานที่มาก ตามนโยบายและทิศทางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งควบคุมด้วยตัวชี้วัดในแต่ละด้าน แต่ด้วยอัตรากำลังของบุคลากรมีน้อยจึงไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ในแต่ละด้าน และเรื่องเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับยังไม่เหมาะสม จึงต้องมีการบริหารจัดการงานของผู้บังคับบัญชา 3. ระดับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ระดับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.40) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.16 (S.D.=0.58) รองลงมาคือด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.11 (S.D.=0.49) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพโดยมีค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.57) รองลงมาคือด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.51) ตามลำดับ จากการสนทนากลุ่ม นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักนั้นจำเป็นต้องยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและมีจริยธรรม ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและสถานการณ์เพื่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย ต้องสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีการนำความรู้ มีทักษะ ด้านวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้กับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้อำนาจในการตัดสินใจร่วมกันของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควบคู่กับการสร้างแรงจูงใจ 4. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า การฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก(เคย) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.170, p-value=0.016) ส่วนเพศ(หญิง) อายุ สถานภาพสมรส(สมรส)ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) รายได้ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แรงจูงใจ ที่มีความสัมพันธ์กับ การปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลัก ของนักวิชาการ สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด จากการศึกษา พบว่าในภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.534,p-value<0.001) ส่วนภาพรวมปัจจัยจูงใจ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.481, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยจูงใจที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านความรับผิดชอบ (r=0.431, p-value<0.001) รองลงมา คือ ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง (r=0.412, p-value<0.001) และด้านที่มีระดับความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงาน มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (r=0.285, p-value<0.001) รองลงมาคือด้านการได้รับความยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก (r=0.365, p-value<0.001) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.494, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยค้ำจุนที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านนโยบายและการบริหาร (r=0.455, p-value<0.001)รองลงมาคือด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (r=0.429, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ไม่มีความสัมพันธ์ (r=0.122, p-value=0.085) รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r=0.325, p-value<0.001) ตามลำดับ 5. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษา พบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด มี 7 ตัวแปร คือปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร (p-value=0.006) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ (p-value=0.021) ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (p-value <0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (p-value<0.001) ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงาน (p-value=0.005) ปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน(p-value=0.039) และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (p-value=0.040) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งทั้ง 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 บทสรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาสามารถสรุปผลและอภิปรายผล ดังนี้ คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า การได้รับการอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก(เคย) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.170, p-value=0.016) ซึ่งสอดคล้องผลการผู้ศึกษาของ สันติ ธรณี และ ประจักร บัวผัน (2557) เรื่องการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.289, p-value < 0.001) วันเพ็ญ ภูผาพันธ์ และประจักร บัวผัน (2554) ศึกษาการบริหารงานของหัวหน้า ศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า การฝึกอบรมมี ความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการบริหารงานของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา (r = 0.157, p-value < 0.001) ส่วนเพศ(หญิง) อายุ สถานภาพสมรส(สมรส)ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) รายได้ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการ แรงจูงใจ พบว่าในภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.534, p-value<0.001) ซึ่งสอดคล้องผลการผู้ศึกษาของ รัชนีกร อะโน และประจักร บัวผัน (2558) ศึกษาการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (r=0.577, p-value<0.001) ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน (2557) ศึกษาการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ (r=0.610, p-value<0.001) ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี (2556) ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.68, S.D.=0.33) และมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ (r=0.467, p-value<0.001) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple Linear Regression Analysis) ซึ่งจากผลการวิเคราะห์จะทำให้ทราบว่าตัวแปรอิสระตัวใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม โดยตัวแปรอิสระที่ถูกเลือกเข้าสมการ สามารถเรียงลำดับดังนี้ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร (p-value=0.006) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ (p-value=0.021) ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (p-value<0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (p-value<0.001) ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงาน (p-value=0.005) ปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน(p-value=0.039) และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (p-value=0.040) ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว ศิราณี เสนานุช และ ประจักร บัวผัน (2560) ศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านการปกครองบังคับบัญชา เช่นเดียวกับ สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน (2557) การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับ อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน (2556) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด อุดรธานี พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงาน ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ เช่นเดียวกับ จิรัฏฐิติ ไทยศิริ และประจักร บัวผัน (2556) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน เช่นเดียวกับ อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน (2554) การศึกษาปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก ข้อเสนอแนะหรือการนำไปใช้ประโยชน์ 1. ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย 1.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนำงานสาธารณสุขอำเภอ ในด้านนโยบายและการบริหาร ควรส่งเสริมให้นักวิชาการสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน รวมทั้งบริการและส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรส่งเสริมให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามตามเป้าหมาย การมีส่วนร่วมวางแผนการจัดลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานและให้มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ และควรให้อำนาจในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขั้นในการปฏิบัติงาน 1.3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรมีความสำคัญในด้านความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ในขณะที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และควรได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อให้การปฏิบัติงานไม่ทำให้ท่านสูญเสียความเป็นส่วนตัวหรือเวลาที่ให้กับครอบครัว รวมทั้งการปฏิบัติงานในหน่วยงานให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน การมีแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานวิชาการให้ประสบความสำเร็จ 1.4 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรส่งเสริม การได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับงานในตำแหน่งหน้าที่ การเลื่อนขั้นเงินเดือนที่เหมาะสมกับภาระงาน การได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนสอดคล้องกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดความพึงพอใจกับเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้จากหน่วยงาน รวมทั้งควรได้รับผลประโยชน์เกื้อกูลอื่นที่เหมาะสม 1.5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรสนับสนุนการปฏิบัติงานต้องใช้ความรู้วามสามารถหลายด้านในการปฏิบัติงานในชุมชน เพื่อให้การปฏิบัติงานวิชาการสำเร็จทันตาม ระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยเฉพาะงานที่รับผิดชอบเป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มร้างสรรค์ ต้องใช้ทั้งความรู้ความสามารถหลายด้าน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีท้าทายความสามารถในการที่จะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบในการทำงาน หมายถึงในการมอบหมายงานให้นักวิชาการสาธารณสุขควรมอบความรับผิดชอบให้กับนักวิชาการสาธารณสุขด้วย เพื่อเป็นการสร้างภาวะผู้นำและการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาการทำงาน 2.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรให้ความสำคัญกับการมอบหมายงานในการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขใน รพ.สต. โดยควรมีการเฉลี่ยงานที่รับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต.ใกล้เคียงกันเพื่อไม่ให้กระทบกับความเป็นอยู่ส่วนตัวและการให้เวลากับครอบครัว กิตติกรรมประกาศ การศึกษาวิจัยฉบับนี้ สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักร บัวผัน ประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ อาจารย์ ดร.สุทิน ชนะบุญ ที่ได้แนะนำ แก้ไขข้อบกพร่อง เกี่ยวกับการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนสำเร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณ นพ.กัมปนาท โกวิทางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง และนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต.จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และขอขอบคุณทุกท่านที่มิได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ ที่มีส่วน สำคัญให้การทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้สำเร็จด้วยดี เอกสารอ้างอิง กนกพิชญ์ กาฬหว้า และประจักร บัวผัน. (2558). การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,8(1),83-93. จรัญญู ทองอเนก และ ประจักร บัวผัน ใ(2557) .สุนทรียทักษะ ผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,8(1) จิรัฏฐิติ ไทยศิริ และประจักร บัวผัน .(2556). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(1), 123-134. 4. ทินกร ถาวรแสง และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์.(2559).ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการดำเนินงาน โครงการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เมืองแห่งความสุขของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,9(3),38-48. 5. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 6. บุญทัน สมีน้อย, และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยทางการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย พื้นที่อำเภอโซนใต้ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 16(6), 706-715. 7.บุญถม ชัยญวน และประจักร บัวผัน.(2553).ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน 8.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์. 9.ปวีณา จังภูเขียว, และชนะพล ศรีฤาชา. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรคในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 20(2), 1-10. 10.พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์, และประจักร บัวผัน. (2557). การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(3), 267-280. 11.เยาวภา เต็งคิว.(2552).ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของหัวหน้าสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร 12.รัชนีกร อะโน, และประจักร บัวผัน. (2558). การดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 117-127. 13.วันเพ็ญ ภูผาพันธ์ และประจักร บัวผัน. (2554). การบริหารของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน ในจังหวัด นครราชสีมา. วารสารวิจัย มข., 16(7), 845-853. 14.วีระวรรณ เหล่าวิทวัส, และประจักร บัวผัน (2556). การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(2), 109-120. 15.ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทิศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่ม,6(3),46-54 16.ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน. (2560). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,10(1), 63-73. 17.ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานสร้างเสริมและป้องกันโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา),14(2), 71-84. 18.สมหมาย คำพิชิต และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(1), 21-29. 19.สงครามชัย ลีทองดี และธิษฌามดี ใจงาม.(2556). สภาพปัญหาและสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต ในการปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพที่9.ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่9.(หน้า 254-262). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 20.สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 14(1), 89-104. 21.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง.กรุงเทพฯ: บริษัทประชุมช่าง จำกัด. 22.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายชื่อและจำนวนนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : [ ม.ป.พ.] 23.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.(2560).แผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560- 2564.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 24.สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 25.สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน. (2558). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักบริหารงานสาธารณสุขในเทศบาล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(4), 75-87. 26.สุมาลี ลารังสิต และประจักร บัวผัน.(2557). การปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น . วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา),14(3),67-80. 27.อนัญญา ขุนศรี, และประจักร บัวผัน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(1), 52-59. 28.อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 29.อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 16(7), 855 - 863. 30.Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior science. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. 31.Elifson, K.W. et al. (1990). Fundamentals of Socials Statistic. 2nd ed. New York: McGraw-Hill. 32.Hertzberg, F., Mausner, B. & Synderman, B.B. (2010). The motivate to work. New Brunwisk, NJ: Transaction Pub. 33.Likert, L. & Rensis, R. (1967). Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son. 34.Schermerhorn, R., Hunt, G., & Osborn, N. (2003). Organization Behavior. New York: John Wily & Sons. ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดคุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน (n =200) ร้อยละ 1. เพศ ชาย 90 45.0 หญิง 110 55.0 2. อายุ ต่ำกว่า 30 ปี 53 26.5 31 – 40 ปี 57 28.5 41 – 50 ปี 60 30.0 มากกว่า 50 ปี 30 15.0 Mean = 38.50 ปี, S.D.= 9.99 ปี, Minimum =23 ปี, Maximum = 59 ปี 3. สถานภาพ โสด 63 31.5 สมรส 129 64.5 หม้าย/หย่า/แยก 8 4.0 4. ระดับการศึกษา ปริญญาตรี 175 87.5 ปริญญาโท 24 12.0 ปริญญาเอก 1 0.5 5. รายได้ ต่ำกว่า 20,000 บาท 71 35.5 20,001 – -30,000 บาท 46 23.0 30,001 – 40,000 บาท 46 23.0 40,001 บาทขึ้นไป 37 18.5 Mean= 28,839 บาท, S.D.=11,828.44 บาท ,Minimum= 10,000 บาท, Maximum= 54,000 บาท ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดคุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) คุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน (n =200) ร้อยละ 6.ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ต่ำกว่า 10 ปี 103 51.5 11 – 20 ปี 57 28.5 21 – 30 ปี 32 16.0 31 ปีขึ้นไป 8 4.0 Mean =12.4 ปี ,S.D.= 8.94 ปี, , Median = 10.00 ,Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี 7.การฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก ไม่เคย 104 52.0 เคย 96 48.0 8.จำนวนครั้งการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (n=96) 1-3 ครั้ง 79 82.3 4-6 ครั้ง 15 15.6 7 ครั้งขึ้นไป 2 2.1 Mean = 1.19 ครั้ง ,S.D.= 0.44 ครั้ง, Minimum =1.00 ครั้ง, Maximum =10.00 ครั้ง ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและการแปลผลของแรงจูงใจในการปฏิบัติ งานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แรงจูงใจของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระดับแรงจูงใจ (n=200) การ แปลผล Mean S.D. ปัจจัยจูงใจ 1. ด้านการยอมรับนับถือ 3.79 0.58 มาก 2. ด้านความสำเร็จในการทำงาน 3.87 0.64 มาก 3. ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ 3.63 0.85 มาก 4. ด้านความรับผิดชอบ 3.95 0.66 มาก 5. ด้านลักษณะของงาน 3.97 0.57 มาก รวม 3.84 0.51 มาก ปัจจัยค้ำจุน 1. ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน 3.36 0.93 มาก 2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3.74 0.68 มาก 3. ด้านการปกครองบังคับบัญชา 3.96 0.61 มาก 4. ด้านนโยบายและการบริหาร 3.80 0.64 มาก 5. ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 3.67 0.67 มาก 6. ด้านสถานภาพของวิชาชีพ 3.87 0.70 มาก 7. ด้านความมั่นคงในการทำงาน 3.73 0.77 มาก 8. ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 3.81 0.63 มาก รวม 3.74 0.49 มาก ภาพรวมของแรงจูงใจ 3.78 0.45 มาก ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแปลผลสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติ งานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล Mean S.D. การแปลผล 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3.95 0.51 มาก 2. การบริการที่ดี 4.10 0.52 มาก 3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 3.95 0.57 มาก 4.การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม 4.16 0.58 มาก 5. การทำงานเป็นทีม 4.11 0.49 มาก ภาพรวม 4.05 0.40 มาก ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการ ปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p - value ระดับความสัมพันธ์ 1.เพศ(หญิง) -0.092 0.197 ไม่มีความสัมพันธ์ 2.อายุ 0.087 0.222 ไม่มีความสัมพันธ์ 3. สถานภาพสมรส (สมรส) 0.084 0.238 ไม่มีความสัมพันธ์ 4.ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) -0.122 0.085 ไม่มีความสัมพันธ์ 5.รายได้ 0.090 0.206 ไม่มีความสัมพันธ์ 6.ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 0.023 0.751 ไม่มีความสัมพันธ์ 7.การฝึกอบรมเกี่ยวกับ สมรรถนะหลัก (เคย) 0.170* 0.016 ต่ำ * Correlation is significant at the 0.05 level (2-tailed). ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) แรงจูงใจ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p-value ระดับความสัมพันธ์ ปัจจัยจูงใจ 0.481*** <0.001 ปานกลาง ด้านความสำเร็จในการทำงาน 0.408*** <0.001 ปานกลาง ด้านการได้รับความยอมรับนับถือ 0.365*** <0.001 ปานกลาง ด้านลักษณะของงาน 0.285*** <0.001 ต่ำ ด้านความรับผิดชอบ 0.431*** <0.001 ปานกลาง ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง 0.412*** <0.001 ปานกลาง ปัจจัยค้ำจุน 0.494*** <0.001 ปานกลาง ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน 0.122 0.085 ไม่มีความสัมพันธ์ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 0.325*** <0.001 ปานกลาง ด้านการปกครองบังคับบัญชา 0.357*** <0.001 ปานกลาง ด้านนโยบายและการบริหาร 0.455*** <0.001 ปานกลาง ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) แรงจูงใจ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p-value ระดับความสัมพันธ์ ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 0.410*** <0.001 ปานกลาง ด้านสถานภาพของวิชาชีพ 0.362*** <0.001 ปานกลาง ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน 0.390*** <0.001 ปานกลาง ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 0.429*** <0.001 ปานกลาง ภาพรวม 0.534*** <0.001 ปานกลาง *** ค่าระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.001 ตารางที่ 5 ค่าสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนของแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ตัวแปร B Beta t P-value R R2 R2change ด้านนโยบายและการบริหาร 0.123 0.209 2.790 0.006 0.455 0.207 - ด้านความรับผิดชอบ 0.104 0.172 2.320 0.021 0.541 0.293 0.086 ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 0.137 0.216 3.274 0.001 0.574 0.329 0.036 ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน -0.099 -0.228 -3.541 <0.001 0.593 0.352 0.023 ด้านลักษณะของงาน 0.147 0.209 2.855 0.005 0.611 0.373 0.021 ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 0.093 0.154 2.074 0.039 0.624 0.390 0.017 ด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก 0.094 0.117 2.072 0.040 0.635 0.403 0.013 ค่าคงที่ 2.026 , F = 18.508, p – value<0.001 ,R = 0.635 , R2= 0.403 ,R2adj= 0.381 เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา. 2561. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน12 คน โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 5 - 25 มิถุนายน 2561 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบาย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 อายุเฉลี่ย 38.50 ปี (S.D.=9.99 ปี) อายุต่ำสุด 23 ปี, อายุสูงสุด 59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 64.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 87.5 มีรายได้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รายได้เฉลี่ย 28,839 บาท(S.D.= 11,828.44บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาทรายได้สูงสุด 54,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ต่ำกว่า10 ปี คิดเป็นร้อยละ51.5 มีค่ามัธยฐาน 10.0 ปี (Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี) แรงจูงใจพบว่าในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.78(S.D.= 0.45) สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.40)แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r=0.534, p-value<0.001)ส่วนปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก โดยทั้ง 7 ตัวแปร มีผลและร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 คำสำคัญ: คุณลักษณะส่วนบุคคล,แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด Thepintorn Seneevong Na Ayuthtaya. 2018. Motivation Affecting The Performance Of Public health Officers At Sub-District Health Promotion Hospitals In Roi Et Province. Master of Public Health thesis in Public Health Administration, Graduate School, Khon Kean University. Thesis Advisor: Associate. Professor. Dr.Suwit Udompanich ABSTRACT This cross-sectional descriptive research aimed to study motivation affecting the performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province.. The sample of this study was a group of 200 public health officers and 12 persons participated in focus group discussion for qualitative data. The data were collected by the questionnaire, which was validated by three experts and tested reliability with Cronbach’s alpha coefficient was 0.98 The data were collected during 1 month start from June 5st-25th, 2018. The data was analyzed by descriptive statistic which presented the percentage, mean, standard deviation, median, minimum and maximum. And the inferential statistic used to analyze Pearson’s coefficient and multi-stage regression analysis. It was revealed that majority of the subjects were females (55.0%). The age varied between 41 to 50 years (30.0%) with average age of 38.50 years (S.D.= 9.99). The youngest subject was 23 years old while the oldest one was 59 years of age. 64.5 % of the subjects have marital status. 87.5% completed the Bachelor. The most of them incomes than 20,000 bath (35.5%) with the mean income of 28,839 bath (S.D.= 11,828.44). The most term of working in public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province was fewer than 10 years (51.5%). Overall, the level of motivation was modest with average of 3.78(S.D.= 0.45) The performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province were found in the high level with average of 4.05 (S.D.=0.40).The motivation had a moderate level of correlated with the subject’s performance of public health officers at the statistical significantly (r=0.534, p-value<0.001). And the secondary variables that could predict the performance of public health officers at sub-district health promotion hospitals in roi et province included Policy and Administration Responsibility Factor in Personal Lif Salary Work Itself Working Condition and Trainning at the statistical significance by 40.3% Keywords: Individual Attributes, Motivation , The Performance Of Public health Officers At Sub-District Health Promotion Hospitals In Roi Et Province. บทนำ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุขโดยได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 4 ด้าน คือ 1.ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention & Promotion Excellence) 2.บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3.บุคลากร เป็นเลิศ (People Excellence) 4.บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ,2560) จากการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวในปัจจุบันนี้ส่งผลต่อการวางระบบบริหารงานบุคคลด้วยโดยเกี่ยวข้องตั้งแต่เรื่องการกำหนดลักษณะงาน ตำแหน่ง และกรอบอัตรากำลัง การบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไปจนถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานภายใต้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญคือ หลักสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่สำคัญนักวิชาการสาธารณสุขต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามยุทธศาสตร์และให้สอดคล้องกับการเป้าหมาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ รวมทั้งการวัดผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดในแต่ละด้านของกระทรวงสาธารณสุข โดยการปฏิบัติงานนั้นบุคลากรต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับ ตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และมีคุณภาพชีวิต มีความสมดุลระหว่างชีวิตกับการ ทำงาน รวมทั้งขวัญกำลังใจที่ดี มีแรงจูงใจในการ ปฏิบัติราชการให้มีผลสัมฤทธิ์ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเพิ่มผลิตภาพและขีดสมรรถนะ ของบุคลากร (สงครามชัย ลีทองดี และ ธิษณามดี ใจงาม, 2556) สมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ กำหนดให้นักวิชาการสาธารณสุขต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และต้องมี สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ด้านการมุ่งสัมฤทธิ์ 2) ด้านการบริการที่ดี 3) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรมและ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2553) โดยสมรรถนะมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานเพราะเป็นเครื่องมือช่วยแปลงกลยุทธ์ขององค์กรมาสู่กระบวนการบริหารคนโดย เป็นการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับรูปแบบในการพัฒนาบุคลากรโดยเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการบริหารงานบุคคล ภายในองค์กรอีกทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถคนในองค์กรอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง นอกจากที่กล่าวมาแล้วสมรรถนะยังเป็นมาตรฐานพฤติกรรมที่สำคัญในการทำงานซึ่งสามารถนำไปใช้วัดและประเมินคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำมาใช้ในการวัดผลได้อย่างชัดเจน สุดท้ายช่วยให้องค์กร สามารถประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน และศักยภาพขององค์กร เพื่อใช้ในการกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ในปัจจุบันองค์กรให้ความสำคัญกับสมรรถนะมากยิ่งขึ้น โดยมีวิจัยจากผู้ที่เคยศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะที่มีผลต่อการปฏิบัติงานไว้หลายท่านและจากงานวิจัยพบว่าระดับสมรรถนะอยู่ในระดับสูง มีด้านการมีจริยธรรม ด้านความร่วมแรงร่วมใจ ด้านการบริการดี ได้แก่ (อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน, 2556, ศันสนีย์ วงค์ม่วย และ วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี, 2556,) ในด้านการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ (บุญถม ชัยญวน และประจักรบัวผัน , 2553,) จากการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น พบว่ามีปัจจัยที่สำคัญคือคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยคุณลักษณะส่วนบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุข ตามเป้าหมายและตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข และคุณลักษณะส่วนบุคคล ที่สำคัญ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และการได้รับการฝึกอบรม (Schemerhorn, Hunt, & Osborn, 2003) จากการศึกษาพบว่ามีงานวิจัยที่เคยศึกษาด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลไว้หลายคน โดยลักษณะส่วนบุคคลจากงานวิจัยพบว่าด้านระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ระดับสูง ( เยาวภา เต็งคิว ,2552) ด้านเพศ(ชาย) ด้านอายุ ด้านสถานภาพการสมรส ด้านการได้รับการอบรม มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (บุญทัน สมีน้อย และประจักร บัวผัน , 2554 ; สมหมาย คำพิชิตและวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี , 2556 ; จรัญญู ทองอเนก และ ประจักร บัวผัน ,2557 ; สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน ,2558 ) นอกจากนั้นแรงจูงใจก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจในการ ปฏิบัติงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีผลงานการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งตามแนวคิดและทฤษฎีของแรงจูงใจของ Herzberg ( Herzberg’s Motivation Hygiene Theory) เชื่อว่าแรงจูงใจในการทำงานนั้นประกอบด้วยปัจจัย 2 กลุ่มคือ ปัจจัยจูงใจ (Motivator factors)ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยตรงเพื่อจูงใจให้บุคคลชื่นชอบและรักในงานที่ปฏิบัติและเป็นตัวกระตุ้นให้คนเกิดความพึงพอใจในองค์การ โดย ประกอบด้วย 1.การยอมรับนับถือ (Recognition) 2.ความสำเร็จในการงาน (Achievement) 3. ความก้าวหน้าในตำแหน่ง หน้าที่ (Advancement) 4.ความรับผิดชอบ(Responsibility) 5.ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ(Work itself ) ด้านปัจจัยค้ำจุน (Hygiene factors) คือ ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจของบุคคลในการทำงานมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีอาจจะทำให้บุคคลในองค์การเกิดความไม่พึงพอใจ หรือไม่สนใจในการปฏิบัติงานขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน และอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย 1.เงินเดือนและค่าตอบแทน(Salary) 2.ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล (Interpersonal Relationships) 3.การปกครองบังคับบัญชา (Supervision Technical) 4.นโยบายและการบริหาร (Policy and Administration) 5.สภาพการปฏิบัติงาน (Working Condition) 6.ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security)7.สถานภาพของวิชาชีพ (Status) 8.ชีวิตความเป็นส่วนตัว (Personal life) (Hertzberg , Mausner Synderman, 2010) จากการศึกษามีงานวิจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขที่มีแรงจูงใจ โดยปัจจัยจูงใจที่สามารถพยากรณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้านการยอมรับนับถือ ( กนกพิชญ์ กาฬหว้า และประจักร บัวผัน ,2558 ; สุมาลี ลารังสิต และประจักร บัวผัน , 2557 ) และ ด้านความสำเร็จในการทำงาน (ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน , 2559 ; ศุภชัย หมื่นมา และ ประจักร บัวผัน,2557; วีระวรรณ เหล่าวิทวัส และประจักร บัวผัน, 2556 ; ปวีณา จังภูเขียว และชนะพล ศรีฤาชา, 2556) ด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ (อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน, 2556) ด้านความรับผิดชอบ (วัชรีวรรณ จันทะวงศ์ และประจักร บัวผัน, 2558 ;พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์ และประจักร บัวผัน,2557 ) ด้านโอกาสความก้าวหน้า (ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี,2556 ) และนอกจากปัจจัยจูงใจแล้ว จากการศึกษาปัจจัยค้ำจุนที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขใจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล โดยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (ทินกร ถิ่นวรแสง และ สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, 2559 ; วัชรีวรรณ จันทะวงศ์ และประจักร บัวผัน, 2556; พิม์วรา สิงหภิวัฒน์ และประจักร บัวผัน ,2557 ) และด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ( ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี,2556) จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่าแรงจูงใจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่จะทำให้บุคคลมีแรงผลักดัน มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานให้ผลงานออกมาโดดเด่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยให้สำเร็จบรรลุตามเป้าหมายขององค์การและแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข ในปัจจุบันการจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีจำนวน รพ.สต.ในจังหวัดร้อยเอ็ดทั้งหมด 231 แห่งและมีจำนวนนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จำนวน 366 คน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ,2560) จากการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการออกนิเทศกำกับติดตามความก้าวหน้าตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขพบว่านักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ยังขาดการ นำความรู้เชิงบูรณาการของตนไปใช้ในการสร้างวิสัยทัศน์ เพื่อการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้ผลงานตามตัวชี้วัดที่สำคัญในด้านที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดีขึ้น และเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดลองวิธีการทำงานแบบใหม่ที่คาดว่าจะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมรวมทั้งบริหารจัดการให้ส่วนราชการโดยอาศัยการนำเทคโนโลยี ความรู้ หรือวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการในงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ยังขาดกาศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงยังไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งการขาดการศึกษาเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาอาชีพของตน หรือที่เกี่ยวข้องนั้น อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด และสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษามาเสนอผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาบุคคลกร และสามารถส่งเสริมการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษา ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สมมติฐานการวิจัย คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจมีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย สมรรถนะหลัก หมายถึง สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมองบุคคลที่แสดงออกในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้บุคลากรสร้างผลงาน ได้โดดเด่นกว่าบุคคลอื่นทำให้งานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดตามตำแหน่งงาน คุณลักษณะส่วนบุคคล หมายถึง ลักษณะส่วนบุคคลของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก แรงจูงใจ หมายถึง ปัจจัยที่สร้างเป็นตัวกระตุ้น ให้นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สามารถทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานนักวิชาการสาธารณสุขให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายที่วางไว้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจูงใจ และ ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยจูงใจ (Motivator Factors) หมายถึง ปัจจัยกระตุ้นให้ ให้นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด เกิดความพึงพอใจในการทำงาน และทำให้บุคคลภายในองค์กรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน 1) ความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Achievement) 2) การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) 3) ลักษณะของงาน (Work Itself) 4) ความรับผิดชอบ (Responsibility) 5) ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (Advancement) ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) หมายถึง ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน ป้องกันไม่ให้เกิดปัจจัยที่ไม่พึงพอใจในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลยังคงปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา ประกอบด้วย 8 ด้าน 1) เงินเดือนและค่าตอบแทน (Salary and Benefit) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship) 3) การปกครองบังคับบัญชา (Supervision Technical) 4) นโยบายและการบริหาร (Policy and Administration) 5) สภาพการปฏิบัติงาน (Working Condition) 6) สถานภาพของวิชาชีพ (Job Status) 7) ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security) 8) ชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal Life) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หมายถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามนโยบายรัฐบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาคุณภาพสถานบริการปฐมภูมิ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยทำหน้าที่ในการดูแลประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ ให้เข้าถึงสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (กาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ที่เรียกย่อ ว่า รพ.สต. นักวิชาการสาธารณสุข หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 1 ปี วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ณ ช่วงเวลาที่ศึกษา ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ในปีงบประมาณ 2560 มีจำนวน 366 คน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด, 2560) กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างในกรณีวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) ซึ่งใช้สูตรกำหนดขนาดตัวอย่างแบบการถดถอยพหุ (Cohen, 1998) คำนวณได้จากสูตรดังนี้ สูตร ………………………(1( เมื่อ .... .............. (2) เมื่อกำหนดให้ คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุสำหรับ Full Model ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ของสมการถดถอยของตัวแปรที่จะศึกษา ได้จากการศึกษา แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดเลย (ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน , 2560) ซึ่งมีลักษณะการปฏิบัติงานคล้ายคลึงกัน ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าอธิบายความผันแปรของวิจัยครั้งนี้ ซึ่งได้ค่า = 0.724 คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุสำหรับ Reduce model ( - ) ซึ่งได้ค่า = 0.694 คือ ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุที่เปลี่ยนแปลง (R2 Change) เมื่อไม่มีตัวแปรที่ต้องการทดสอบ = 0.03 คือ ค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวแปรอิสระและอำนาจการทดสอบ w คือ จำนวนตัวแปรอิสระนอกเหนือจากตัวแปรที่ต้องการทดสอบ (เซต A) เท่ากับ 0 u คือ จำนวนตัวแปรอิสระที่ต้องการทดสอบ (เซต B) เท่ากับ 20 ตัวแปร  คือ ค่าที่ได้จาก = N –u-w-1 ในการคำนวณขนาดตัวอย่างจะต้องเปิดตารางที่ 9.4.2 หน้า 452-455 Cohen (1988) ประกอบการคำนวณ โดยค่าที่ปรากฏในตารางประกอบด้วยค่า u มี 23 ค่า v มี 4 ค่า ได้แก่ 20, 60, 120, และ  และค่า Power มีค่าระหว่าง 0.25 -0.99 จากนั้นหาค่า  ในสมการที่ (2) โดยแทนค่า v=120 ซึ่งเป็นค่าที่จะทำให้ขนาดตัวอย่างเพียงพอที่สุด จากนั้นดูที่ u=1 , Power=0.80 จะได้ =7.8 แทนค่า  ในสมการที่ (1) จะได้ขนาดตัวอย่าง ปัดเศษ ได้จำนวนตัวอย่าง 78 ตัวอย่าง แล้วนำค่า N มาคำนวณหาค่า v จะได้ v=78-1-19-1= 57 ซึ่งในตารางค่า v มีค่าอยู่ระหว่าง 20 – 60 นักวิจัยสามารถนำค่าที่ได้ไปใช้ในการหาค่า  ในสมการที่ 2 โดยค่า VL=20 VU= 60 เมื่อเปิดตาราง 9.4.2 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (=0.05) จะได้ค่า L= 8.5 U=7.9 แทนค่าในสมการที่ 2 ดังนี้ ได้ค่า L=8.5 U=7.9 แทนค่าในสมการที่ 2 ดังนี้ จึงนำค่า  ไปแทนค่าในสมการที่ 1 อีกครั้ง แทนค่าในสูตร = N N = 67.33 ปัดเศษได้ = 68 ตัวอย่าง ความสำคัญของขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาตัวแปรถดถอยพหุนั้นผลการวิเคราะห์ในการศึกษาจะมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นนั้นควรใช้ขนาดตัวอย่างไม่ต่ำกว่าจำนวน 10 เท่า ของตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างกรณีวิเคราะห์ถดถอย พหุ (Nunnally & Bermstein, 1994 อ้างถึงใน อรุณ จิรวัฒน์กุล, 2547) ดังนี้ จากสูตร n = 10 x Independent Variables เมื่อ n = จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง Independent Variables = จำนวนตัวแปรอิสระที่ศึกษาในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 20 ตัวแปร แทนค่าในสูตร n = 10 x 20 = 200 ตัวอย่าง จากการใช้สูตรการหาขนาดตัวอย่างทั้ง 2 วิธี ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 68 และ 200 ตัวอย่างนั้น เพื่อให้การศึกษามีขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอและมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ 3.2.3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ (Focus Group discussion) โดยเลือกวิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากบุคคลที่สามารถให้คำตอบเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณได้ โดยเลือกบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดีที่สุด (Key Informants) โดยพิจารณาคัดเลือกนักวิชาการสาธารณสุขที่รับผิดชอบนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ได้จากตัวแทนโซน ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กำหนดพื้นที่ของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดเป็น 4 โซนตามการแบ่งเขตของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมาโซนละ 3 คน รวมเป็นจำนวน 12 คน ที่เป็นผู้ให้อนุเคราะห์ร่วมมือและยินดีเข้าร่วมการสนทนากลุ่มในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามและการสนทนาแบบสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างเครื่องมือ จากการทบทวนแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแบบสอบถามและแนวทางการสนทนาแบบสนทนากลุ่มให้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแต่ละตัวที่ศึกษา ตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ชุดที่ 1 แบบสอบถาม (Questionnaire) มีทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ชุดที่ 2 แนวทางในการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เป็นแนวทางใน การสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเนื้อหา (Content validity) ในแต่ละข้อคำถามต้องมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง 0.50 ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่า 0.50 ให้ปรับปรุงหรือตัดทิ้ง(บุญชม ศรีสะอาด, 2553) ซึ่งจากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.78 การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมี โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach’s Alpha Coefficient) ซึ่งค่าที่ยอมรับได้ต้องมีค่าเท่ากับ 0.7 ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ในการยอมรับว่ามีค่าความเที่ยงหรือเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2551) ซึ่งจากการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ ทั้งชุด ได้ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ผ่านการรับรองคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 เลขที่ HE612137 และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านผู้ประสานงานระดับอำเภอ โดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 5-25 มิถุนายน 2561 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแจกแจงข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติเชิงพรรณนา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะ โดยกรณีตัวแปรแจงนับ ( เพศ ระดับการศึกษา) ใช้สถิติการแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) กรณีตัวแปรต่อเนื่อง (อายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน)ถ้าข้อมูลแจกแจงแบบโค้งปกติ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ถ้าข้อมูลแจกแจง ไม่เป็นแบบโค้งใช้ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) 2) ระดับแรงจูงใจ และระดับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ถ้าข้อมูลแจกแจงแบบโค้งปกติใช้ ค่าเฉลี่ย ( Mean ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ถ้าข้อมูลแจกแจงไม่เป็นแบบโค้งปกติใช้ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) สถิติเชิงอนุมาน กรณีที่ข้อมูลแจกแจงแบบปกติ ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และ ใช้สถิติแบบการถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Linear Regression Analysis) 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ( Content analysis) การแปลผล แรงจูงแจงใจ และ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข มีระดับการวัดเป็นช่วงสเกล (Interval Scale) 5 ระดับ (Likert, & Rensin, 1967) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ มากที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 5 คะแนน มาก มีค่าคะแนนเท่ากับ 4 คะแนน ปานกลาง มีค่าคะแนนเท่ากับ 3 คะแนน น้อย มีค่าคะแนนเท่ากับ 2 คะแนน น้อยที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 1 คะแนน ระดับแรงจูงใจ ระดับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แปลผล 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งได้มาจากการแบ่งจากค่าเฉลี่ย (สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน, 2547) ดังนี้ ระดับมากที่สุด ช่วงคะแนนเฉลี่ย 4.50 - 5.00 คะแนน ระดับมาก ช่วงคะแนนเฉลี่ย 3.50 - 4.49 คะแนน ระดับปานกลาง ช่วงคะแนนเฉลี่ย 2.50 - 3.49 คะแนน ระดับน้อย ช่วงคะแนนเฉลี่ย 1.50 - 2.49 คะแนน น้อยที่สุด ช่วงคะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.49 คะแนน เกณฑ์การแบ่งระดับคะแนนค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) แบ่งตามเกณฑ์ของ Elifson, Runyon, & Haber (1990) มีค่าตั้งแต่ -1 ถึง +1 ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r) แบ่งระดับดังนี้ r มีค่า =0 เท่ากับ ไม่มีความสัมพันธ์ (No Relationship) r ระหว่าง ± 0.01 ถึง ± 0.30 เท่ากับ มีความสัมพันธ์ต่ำ (Weak Relationship) r ระหว่าง ± 0.31 ถึง ± 0.70 เท่ากับ มีความสัมพันธ์ปานกลาง (Moderate Relationship) r ระหว่าง ± 0.71 ถึง ± 0.99 เท่ากับ มีความสัมพันธ์สูง (Strong Relationship) r มีค่า ±1 เท่ากับ มีความสัมพันธ์โดยสมบูรณ์ (Perfect Relationship) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ถ้าค่า p - vale <0.05 แสดงว่าคู่สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามแต่ละคู่นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย 1. คุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 55.0 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 อายุเฉลี่ย 38.50 ปี (S.D.=9.99 ปี) อายุต่ำสุด 23 ปี, อายุสูงสุด 59 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 64.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 87.5 มีรายได้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 35.5 รายได้เฉลี่ย 28,839 บาท(S.D.= 11,828.44บาท) รายได้ต่ำสุด 10,000 บาทรายได้สูงสุด 54,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ต่ำกว่า10 ปี คิดเป็น ร้อยละ 51.5 มีค่ามัธยฐาน 10.0 ปี (Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี) 2. ระดับแรงจูงใจของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.78 (S.D.= 0.45 ) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.84 (S.D.= 0.51), 3.74 (S.D.= 0.49) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านลักษณะของงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.97(S.D.= 0.57) ส่วนแรงจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.36 (S.D.=0.93) รองลงมาคือด้านด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.63 (S.D.= 0.85 ) จากการสนทนากลุ่ม พบว่านักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น มีภาระงานที่มาก ตามนโยบายและทิศทางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งควบคุมด้วยตัวชี้วัดในแต่ละด้าน แต่ด้วยอัตรากำลังของบุคลากรมีน้อยจึงไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ในแต่ละด้าน และเรื่องเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับยังไม่เหมาะสม จึงต้องมีการบริหารจัดการงานของผู้บังคับบัญชา 3. ระดับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ระดับสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.40) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.16 (S.D.=0.58) รองลงมาคือด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.11 (S.D.=0.49) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพโดยมีค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.57) รองลงมาคือด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ย 3.95 (S.D.=0.51) ตามลำดับ จากการสนทนากลุ่ม นักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักนั้นจำเป็นต้องยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและมีจริยธรรม ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและสถานการณ์เพื่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย ต้องสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีการนำความรู้ มีทักษะ ด้านวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้กับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้อำนาจในการตัดสินใจร่วมกันของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควบคู่กับการสร้างแรงจูงใจ 4. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า การฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก(เคย) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.170, p-value=0.016) ส่วนเพศ(หญิง) อายุ สถานภาพสมรส(สมรส)ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) รายได้ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แรงจูงใจ ที่มีความสัมพันธ์กับ การปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลัก ของนักวิชาการ สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด จากการศึกษา พบว่าในภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.534,p-value<0.001) ส่วนภาพรวมปัจจัยจูงใจ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.481, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยจูงใจที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านความรับผิดชอบ (r=0.431, p-value<0.001) รองลงมา คือ ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง (r=0.412, p-value<0.001) และด้านที่มีระดับความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงาน มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (r=0.285, p-value<0.001) รองลงมาคือด้านการได้รับความยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก (r=0.365, p-value<0.001) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.494, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยค้ำจุนที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านนโยบายและการบริหาร (r=0.455, p-value<0.001)รองลงมาคือด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (r=0.429, p-value<0.001) โดยพิจารณารายด้านปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ไม่มีความสัมพันธ์ (r=0.122, p-value=0.085) รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r=0.325, p-value<0.001) ตามลำดับ 5. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษา พบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด มี 7 ตัวแปร คือปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร (p-value=0.006) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ (p-value=0.021) ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (p-value <0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (p-value<0.001) ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงาน (p-value=0.005) ปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน(p-value=0.039) และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (p-value=0.040) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งทั้ง 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 บทสรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาสามารถสรุปผลและอภิปรายผล ดังนี้ คุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า การได้รับการอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก(เคย) มีความสัมพันธ์ระดับต่ำทางบวก กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.170, p-value=0.016) ซึ่งสอดคล้องผลการผู้ศึกษาของ สันติ ธรณี และ ประจักร บัวผัน (2557) เรื่องการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.289, p-value < 0.001) วันเพ็ญ ภูผาพันธ์ และประจักร บัวผัน (2554) ศึกษาการบริหารงานของหัวหน้า ศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า การฝึกอบรมมี ความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการบริหารงานของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา (r = 0.157, p-value < 0.001) ส่วนเพศ(หญิง) อายุ สถานภาพสมรส(สมรส)ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) รายได้ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการ แรงจูงใจ พบว่าในภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.534, p-value<0.001) ซึ่งสอดคล้องผลการผู้ศึกษาของ รัชนีกร อะโน และประจักร บัวผัน (2558) ศึกษาการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (r=0.577, p-value<0.001) ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน (2557) ศึกษาการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ (r=0.610, p-value<0.001) ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี (2556) ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.68, S.D.=0.33) และมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ (r=0.467, p-value<0.001) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple Linear Regression Analysis) ซึ่งจากผลการวิเคราะห์จะทำให้ทราบว่าตัวแปรอิสระตัวใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม โดยตัวแปรอิสระที่ถูกเลือกเข้าสมการ สามารถเรียงลำดับดังนี้ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร (p-value=0.006) ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ (p-value=0.021) ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (p-value<0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน (p-value<0.001) ปัจจัยจูงใจ ด้านลักษณะของงาน (p-value=0.005) ปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพการปฏิบัติงาน(p-value=0.039) และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (p-value=0.040) ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 40.3 ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว ศิราณี เสนานุช และ ประจักร บัวผัน (2560) ศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านการปกครองบังคับบัญชา เช่นเดียวกับ สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน (2557) การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับ อณัญญา ขุนศรี และประจักร บัวผัน (2556) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด อุดรธานี พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงาน ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ เช่นเดียวกับ จิรัฏฐิติ ไทยศิริ และประจักร บัวผัน (2556) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน เช่นเดียวกับ อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน (2554) การศึกษาปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ คือคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก ข้อเสนอแนะหรือการนำไปใช้ประโยชน์ 1. ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย 1.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนำงานสาธารณสุขอำเภอ ในด้านนโยบายและการบริหาร ควรส่งเสริมให้นักวิชาการสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน รวมทั้งบริการและส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรส่งเสริมให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามตามเป้าหมาย การมีส่วนร่วมวางแผนการจัดลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานและให้มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ และควรให้อำนาจในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขั้นในการปฏิบัติงาน 1.3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรมีความสำคัญในด้านความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ในขณะที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และควรได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อให้การปฏิบัติงานไม่ทำให้ท่านสูญเสียความเป็นส่วนตัวหรือเวลาที่ให้กับครอบครัว รวมทั้งการปฏิบัติงานในหน่วยงานให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน การมีแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานวิชาการให้ประสบความสำเร็จ 1.4 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรส่งเสริม การได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับงานในตำแหน่งหน้าที่ การเลื่อนขั้นเงินเดือนที่เหมาะสมกับภาระงาน การได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนสอดคล้องกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดความพึงพอใจกับเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้จากหน่วยงาน รวมทั้งควรได้รับผลประโยชน์เกื้อกูลอื่นที่เหมาะสม 1.5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรสนับสนุนการปฏิบัติงานต้องใช้ความรู้วามสามารถหลายด้านในการปฏิบัติงานในชุมชน เพื่อให้การปฏิบัติงานวิชาการสำเร็จทันตาม ระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยเฉพาะงานที่รับผิดชอบเป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มร้างสรรค์ ต้องใช้ทั้งความรู้ความสามารถหลายด้าน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีท้าทายความสามารถในการที่จะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบในการทำงาน หมายถึงในการมอบหมายงานให้นักวิชาการสาธารณสุขควรมอบความรับผิดชอบให้กับนักวิชาการสาธารณสุขด้วย เพื่อเป็นการสร้างภาวะผู้นำและการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาการทำงาน 2.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรให้ความสำคัญกับการมอบหมายงานในการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขใน รพ.สต. โดยควรมีการเฉลี่ยงานที่รับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต.ใกล้เคียงกันเพื่อไม่ให้กระทบกับความเป็นอยู่ส่วนตัวและการให้เวลากับครอบครัว กิตติกรรมประกาศ การศึกษาวิจัยฉบับนี้ สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักร บัวผัน ประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข รองศาสตราจารย์ ทพ.ดร.สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ อาจารย์ ดร.สุทิน ชนะบุญ ที่ได้แนะนำ แก้ไขข้อบกพร่อง เกี่ยวกับการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนสำเร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณ นพ.กัมปนาท โกวิทางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง และนักวิชาการสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต.จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และขอขอบคุณทุกท่านที่มิได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ ที่มีส่วน สำคัญให้การทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้สำเร็จด้วยดี เอกสารอ้างอิง กนกพิชญ์ กาฬหว้า และประจักร บัวผัน. (2558). การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,8(1),83-93. จรัญญู ทองอเนก และ ประจักร บัวผัน ใ(2557) .สุนทรียทักษะ ผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,8(1) จิรัฏฐิติ ไทยศิริ และประจักร บัวผัน .(2556). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การเงินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(1), 123-134. 4. ทินกร ถาวรแสง และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์.(2559).ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการดำเนินงาน โครงการกาฬสินธุ์คนดี สุขภาพดี รายได้ดี เมืองแห่งความสุขของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,9(3),38-48. 5. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 6. บุญทัน สมีน้อย, และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยทางการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย พื้นที่อำเภอโซนใต้ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 16(6), 706-715. 7.บุญถม ชัยญวน และประจักร บัวผัน.(2553).ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน 8.บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์. 9.ปวีณา จังภูเขียว, และชนะพล ศรีฤาชา. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรคในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 20(2), 1-10. 10.พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์, และประจักร บัวผัน. (2557). การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(3), 267-280. 11.เยาวภา เต็งคิว.(2552).ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของหัวหน้าสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร 12.รัชนีกร อะโน, และประจักร บัวผัน. (2558). การดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 117-127. 13.วันเพ็ญ ภูผาพันธ์ และประจักร บัวผัน. (2554). การบริหารของหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน ในจังหวัด นครราชสีมา. วารสารวิจัย มข., 16(7), 845-853. 14.วีระวรรณ เหล่าวิทวัส, และประจักร บัวผัน (2556). การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 13(2), 109-120. 15.ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทิศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่ม,6(3),46-54 16.ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน. (2560). แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,10(1), 63-73. 17.ศุภชัย หมื่นมา และประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานสร้างเสริมและป้องกันโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา),14(2), 71-84. 18.สมหมาย คำพิชิต และวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(1), 21-29. 19.สงครามชัย ลีทองดี และธิษฌามดี ใจงาม.(2556). สภาพปัญหาและสมรรถนะที่เป็นจริงของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต ในการปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพที่9.ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่9.(หน้า 254-262). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 20.สันติ ธรณี และประจักร บัวผัน. (2557). การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบส่วนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 14(1), 89-104. 21.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง.กรุงเทพฯ: บริษัทประชุมช่าง จำกัด. 22.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายชื่อและจำนวนนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : [ ม.ป.พ.] 23.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.(2560).แผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560- 2564.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 24.สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 25.สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน. (2558). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักบริหารงานสาธารณสุขในเทศบาล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(4), 75-87. 26.สุมาลี ลารังสิต และประจักร บัวผัน.(2557). การปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น . วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา),14(3),67-80. 27.อนัญญา ขุนศรี, และประจักร บัวผัน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(1), 52-59. 28.อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 29.อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 16(7), 855 - 863. 30.Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior science. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. 31.Elifson, K.W. et al. (1990). Fundamentals of Socials Statistic. 2nd ed. New York: McGraw-Hill. 32.Hertzberg, F., Mausner, B. & Synderman, B.B. (2010). The motivate to work. New Brunwisk, NJ: Transaction Pub. 33.Likert, L. & Rensis, R. (1967). Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son. 34.Schermerhorn, R., Hunt, G., & Osborn, N. (2003). Organization Behavior. New York: John Wily & Sons. ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดคุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน (n =200) ร้อยละ 1. เพศ ชาย 90 45.0 หญิง 110 55.0 2. อายุ ต่ำกว่า 30 ปี 53 26.5 31 – 40 ปี 57 28.5 41 – 50 ปี 60 30.0 มากกว่า 50 ปี 30 15.0 Mean = 38.50 ปี, S.D.= 9.99 ปี, Minimum =23 ปี, Maximum = 59 ปี 3. สถานภาพ โสด 63 31.5 สมรส 129 64.5 หม้าย/หย่า/แยก 8 4.0 4. ระดับการศึกษา ปริญญาตรี 175 87.5 ปริญญาโท 24 12.0 ปริญญาเอก 1 0.5 5. รายได้ ต่ำกว่า 20,000 บาท 71 35.5 20,001 – -30,000 บาท 46 23.0 30,001 – 40,000 บาท 46 23.0 40,001 บาทขึ้นไป 37 18.5 Mean= 28,839 บาท, S.D.=11,828.44 บาท ,Minimum= 10,000 บาท, Maximum= 54,000 บาท ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดคุณลักษณะส่วนบุคคล ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) คุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน (n =200) ร้อยละ 6.ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ต่ำกว่า 10 ปี 103 51.5 11 – 20 ปี 57 28.5 21 – 30 ปี 32 16.0 31 ปีขึ้นไป 8 4.0 Mean =12.4 ปี ,S.D.= 8.94 ปี, , Median = 10.00 ,Minimum =1 ปี Maximum = 37 ปี 7.การฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก ไม่เคย 104 52.0 เคย 96 48.0 8.จำนวนครั้งการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก (n=96) 1-3 ครั้ง 79 82.3 4-6 ครั้ง 15 15.6 7 ครั้งขึ้นไป 2 2.1 Mean = 1.19 ครั้ง ,S.D.= 0.44 ครั้ง, Minimum =1.00 ครั้ง, Maximum =10.00 ครั้ง ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและการแปลผลของแรงจูงใจในการปฏิบัติ งานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด แรงจูงใจของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระดับแรงจูงใจ (n=200) การ แปลผล Mean S.D. ปัจจัยจูงใจ 1. ด้านการยอมรับนับถือ 3.79 0.58 มาก 2. ด้านความสำเร็จในการทำงาน 3.87 0.64 มาก 3. ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ 3.63 0.85 มาก 4. ด้านความรับผิดชอบ 3.95 0.66 มาก 5. ด้านลักษณะของงาน 3.97 0.57 มาก รวม 3.84 0.51 มาก ปัจจัยค้ำจุน 1. ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน 3.36 0.93 มาก 2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3.74 0.68 มาก 3. ด้านการปกครองบังคับบัญชา 3.96 0.61 มาก 4. ด้านนโยบายและการบริหาร 3.80 0.64 มาก 5. ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 3.67 0.67 มาก 6. ด้านสถานภาพของวิชาชีพ 3.87 0.70 มาก 7. ด้านความมั่นคงในการทำงาน 3.73 0.77 มาก 8. ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 3.81 0.63 มาก รวม 3.74 0.49 มาก ภาพรวมของแรงจูงใจ 3.78 0.45 มาก ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแปลผลสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติ งานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล Mean S.D. การแปลผล 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3.95 0.51 มาก 2. การบริการที่ดี 4.10 0.52 มาก 3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 3.95 0.57 มาก 4.การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม 4.16 0.58 มาก 5. การทำงานเป็นทีม 4.11 0.49 มาก ภาพรวม 4.05 0.40 มาก ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการ ปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด คุณลักษณะส่วนบุคคล การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p - value ระดับความสัมพันธ์ 1.เพศ(หญิง) -0.092 0.197 ไม่มีความสัมพันธ์ 2.อายุ 0.087 0.222 ไม่มีความสัมพันธ์ 3. สถานภาพสมรส (สมรส) 0.084 0.238 ไม่มีความสัมพันธ์ 4.ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) -0.122 0.085 ไม่มีความสัมพันธ์ 5.รายได้ 0.090 0.206 ไม่มีความสัมพันธ์ 6.ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 0.023 0.751 ไม่มีความสัมพันธ์ 7.การฝึกอบรมเกี่ยวกับ สมรรถนะหลัก (เคย) 0.170* 0.016 ต่ำ * Correlation is significant at the 0.05 level (2-tailed). ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) แรงจูงใจ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p-value ระดับความสัมพันธ์ ปัจจัยจูงใจ 0.481*** <0.001 ปานกลาง ด้านความสำเร็จในการทำงาน 0.408*** <0.001 ปานกลาง ด้านการได้รับความยอมรับนับถือ 0.365*** <0.001 ปานกลาง ด้านลักษณะของงาน 0.285*** <0.001 ต่ำ ด้านความรับผิดชอบ 0.431*** <0.001 ปานกลาง ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง 0.412*** <0.001 ปานกลาง ปัจจัยค้ำจุน 0.494*** <0.001 ปานกลาง ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน 0.122 0.085 ไม่มีความสัมพันธ์ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 0.325*** <0.001 ปานกลาง ด้านการปกครองบังคับบัญชา 0.357*** <0.001 ปานกลาง ด้านนโยบายและการบริหาร 0.455*** <0.001 ปานกลาง ตารางที่ 4 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างแรงจูงใจกับการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด (ต่อ) แรงจูงใจ การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) p-value ระดับความสัมพันธ์ ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 0.410*** <0.001 ปานกลาง ด้านสถานภาพของวิชาชีพ 0.362*** <0.001 ปานกลาง ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน 0.390*** <0.001 ปานกลาง ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 0.429*** <0.001 ปานกลาง ภาพรวม 0.534*** <0.001 ปานกลาง *** ค่าระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.001 ตารางที่ 5 ค่าสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนของแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ตัวแปร B Beta t P-value R R2 R2change ด้านนโยบายและการบริหาร 0.123 0.209 2.790 0.006 0.455 0.207 - ด้านความรับผิดชอบ 0.104 0.172 2.320 0.021 0.541 0.293 0.086 ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 0.137 0.216 3.274 0.001 0.574 0.329 0.036 ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน -0.099 -0.228 -3.541 <0.001 0.593 0.352 0.023 ด้านลักษณะของงาน 0.147 0.209 2.855 0.005 0.611 0.373 0.021 ด้านสภาพการปฏิบัติงาน 0.093 0.154 2.074 0.039 0.624 0.390 0.017 ด้านการเคยฝึกอบรมเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก 0.094 0.117 2.072 0.040 0.635 0.403 0.013 ค่าคงที่ 2.026 , F = 18.508, p – value<0.001 ,R = 0.635 , R2= 0.403 ,R2adj= 0.381  
     คำสำคัญ คุณลักษณะส่วนบุคคล,แรงจูงใจ, สมรรถนะหลัก,การปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด 
ผู้เขียน
595110029-2 นาย เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0