2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคามด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) ในโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ เก็บข้อมูลในกลุ่มพนักงานในสายงานการผลิตเยื่อและกระดาษ จำนวน 157 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ตามความเหมาะสมของลักษณะงาน RULA REBA และ ROSA เครื่องวัดความล้าสายตา พิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกโดยพิจารณาโอกาสและความรุนแรง ซึ่งโอกาสได้มาจากความเสี่ยงการยศาสตร์ ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สารเคมี(กลิ่นรบกวน) ส่วนความรุนแรงได้มาจากการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย ความล้าสายตา สมรรถภาพทางกาย/ผลสุขภาพประจำปี และสถิติการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ผลการศึกษาพบว่าพนักงานในสายงานการผลิตเยื่อและกระดาษ มีการรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ 3 ตำแหน่งแรก ได้แก่ คอ ร้อยละ 66.24 หลังส่วนล่าง ร้อยละ 64.33 ไหล่ ร้อยละ 62.42 ผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ด้วย 3 เทคนิค พบว่า RULA ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2 และ 3 คือ ความเสี่ยงปานกลางและสูง ร้อยละ 30.43 REBA ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 4 เสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 56.36 ROSA ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.33 จากการวัดความล้าสายตาโดยใช้หลักการของ critical fusion frequency (CFF) พบว่ามีความล้าสายตา ร้อยละ 60.51 เมื่อนำข้อมูลแต่ละด้านมาพิจารณาร่วมกันเพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อพบว่า พนักงานอยู่ในระดับยอมรับได้ 3.82% และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป ร้อยละ 47.13 จากการศึกษาในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า พนักงานในกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษเกือบทุกคนมีความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่อาจส่งผลโรคจากการทำงานของพนักงานได้ จึงควรมีมาตรการโปรแกรมการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการทำงานต่อไป 
     คำสำคัญ เมตริกความเสี่ยงทางสุขภาพ การยศาสตร์ ความล้าสายตา ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ อุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ 
ผู้เขียน
595110102-8 น.ส. จุรีภรณ์ แก้วจันดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0