2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในคนงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็ก 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานที่จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานฝ่ายผลิตที่ทำงานในอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กจากกลุ่มตัวอย่าง 97 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล และภาวะด้านสุขภาพ ลักษณะงาน และการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้เครื่องมือประเมินรยางค์ส่วนบน RULA และรยางค์ส่วนล่าง REBA ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของท่าทางการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.9) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 34.61 ปี มีประสบการณ์ทำงานช่วง 5-10 ปี (ร้อยละ 45.3) และพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานในระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 73.2 และจากการประเมินความเสี่ยงของท่าทางการทำงานของพนักงานในแต่ละลักษณะงาน ผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมินรูล่าร์ RULA พบว่าพนักงานในกลุ่มงานออฟฟิศ มีระดับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 3 ขึ้นไปคือความเสี่ยงสูงที่ควรตรวจสอบและแก้ไขโดยเร็วคิดเป็นร้อยละ 22.22 และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมินรีบาร์ REBA กลุ่มงานที่พบระดับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 4 คืองานนั้นเป็นปัญหาควรรีบทำการปรับปรุงหรือแก้ไขโดยทันที เป็นส่วนใหญ่คือกลุ่มงานคุมเครื่องพับแผ่นเหล็ก กลุ่มงานคุมเครื่องคัดโค้ง และกลุ่มงานคุมเครื่องรีดขึ้นรูปลอน โดยคิดเป็นร้อยละ 87.50 ร้อยละ 83.33 และร้อยละ 70.00 ตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าพนักงานที่ทำงานในฝ่ายผลิตของอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กนั้นมีปัญหาด้านการยศาสตร์ที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยทันทีอีกทั้งคนงานทุกแผนกมีท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสมจึงอาจจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อได้ในอนาคต ดังนั้นควรมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อท่าทางการทำงาน การออกแบบช่วงเวลาในการทำงาน เช่น การจัดช่วงเวลาพักให้เหมาะสม และฝึกฝน และการฝึกอบรมให้ความรู้ทางการยศาสตร์และท่าทางการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ รวมทั้งการปรับปรุงทางวิศวกรรม เป็นต้น และควรมีการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานในอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กในการศึกษาต่อไป  
     คำสำคัญ อุตสาหกรรมหลังคาเหล็ก, ความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, รูล่าร์ RULA, รีบาร์ REBA 
ผู้เขียน
595110104-4 น.ส. เสาวภา ห้วยจันทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0