2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน 
Date of Acceptance 17 August 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารสุขศึกษา 
     Standard TCI 
     Institute of Journal ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     ISBN/ISSN  
     Volume 42 
     Issue
     Month กรกฎาคม - ธันวาคม
     Year of Publication 2019 
     Page  
     Abstract ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนอายุ 7 – 14 ปี ในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน เด็กอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ และยังเสี่ยงต่อการพัฒนาสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคต การป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็กจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วน ประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ประกอบสื่อ การสอนและการสาธิตการประยุกต์ใช้งานแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนเพื่อคำนวณพลังงานและจดบันทึกการใช้พลังงานประจำวัน การเล่นเกม การแสดงบทบาทสมมุติ กิจกรรมกลุ่มและการอภิปราย รวมถึงการใช้งานแอพพลิเคชั่นสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ กลุ่ม LINE เพื่อการติดต่อสื่อสาร และกลุ่ม Facebook เพื่อทำกิจกรรมกลุ่ม แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร มอบหมายใบงานและส่งการบ้าน ใช้ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้เชิงสถิติพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างเชิงอนุมานด้วยสถิติ Paired-t test และ Independent-t test กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำกว่าก่อนการทดลองและต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) 
     Keyword โรคอ้วนในวัยเด็ก, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 
Author
595110014-5 Mr. CHATCHAWAN PHETKONG [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0