2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความชุกภาวะโลหิตจางและภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุพื้นที่ รพ.สต.บ้านทุ่งขี้ต่าย ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 043-347 057 ต่อ 42825 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกภาวะโลหิตจางและภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุพื้นที่รพ.สต.บ้านทุ่งขี้ต่าย ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 231 คน เก็บข้อมูลทั่วไปด้านบุคคล ด้านสุขภาพ และรูปแบบการบริโภคอาหารโดยการสัมภาษณ์ ตรวจเลือดวัดค่าระดับฮีมาโตคริตเพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง หาค่าดัชนีมวลกายเพื่อประเมินภาวะทุพโภชนาการ วิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางด้วยสถิติ ไคสแคว์หรือฟิชเชอร์เอกแซคและวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติก ผลการศึกษา พบว่า อัตราความชุกภาวะโลหิตจาง จากการตรวจวัดค่าระดับฮีมาโตคริตในผู้สูงอายุเท่ากับร้อยละ 28.1 (65/231) โดยพบความชุกภาวะโลหิตจางในเพศชายร้อยละ 34.6 (27/78) และเพศหญิงร้อยละ 24.8 (38/153) จากค่าดัชนีมวลกาย ผู้สูงอายุ ร้อยละ 6.5 (15/231) มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 61.0 (141/231) มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และร้อยละ 32.5 (75/231) มีภาวะโภชนาการปกติ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะโลหิตจาง พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นภาวะโลหิตจางมากเป็น 5.41 เท่าของผู้สูงอายุที่อายุระหว่าง 60-69 ปี (95%CI = 2.15 – 13.60) ผู้สูงอายุที่มีโรคระบบกล้ามเนื้อหรือกระดูก มีโอกาสเป็นภาวะโรคโลหิตจางเป็น 0.39 เท่าของผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคระบบกล้ามเนื้อหรือกระดูก (95%CI = 0.16 - 0.94) และผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีโอกาสเป็นภาวะโลหิตจางมากเป็น 4.93 เท่าของผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ (95%CI = 1.37-17.75) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่า ควรมีมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกัน รวมทั้งแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงรุกที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และอายุมาก 80 ปีหรือมากกว่า  
     คำสำคัญ ภาวะโลหิตจาง, ภาวะทุพโภชนาการ, ผู้สูงอายุ 
ผู้เขียน
595110100-2 นาง รพี เสียงใหญ่ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0