2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ในทารกแรกเกิด อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2559-2560 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 41 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ในทารกแรกเกิด (>11.25 มิลลิยูนิต/ลิตร) อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่คลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2560 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์มารดากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 170 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มศึกษาจำนวน 85 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 85 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณลอจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา พบว่ามีหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ในทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ เพศชาย (ORadj=2.51; 95%CI=1.15-5.45) มารดามีภาวะโลหิตจางช่วงตั้งครรภ์ (ORadj=2.81; 95%CI=1.31-6.06) อายุครรภ์มารดาที่เข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกมากกว่า 12 สัปดาห์ (ORadj=2.39; 95%CI=1.14-4.99) มารดาไม่รับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนหรือรับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนเป็นบางครั้ง (≤6วัน/สัปดาห์) ช่วงตั้งครรภ์ (ORadj=3.51; 95%CI 1.56-7.91) มารดาไม่ใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหาร (ORadj=2.69; 95%CI=1.30-5.59) ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดให้คำปรึกษากับคู่สามีภรรยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อได้รับการตรวจสุขภาพและวางแผนมีบุตรที่ถูกต้องจัดรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในกลุ่มทารกแรกเกิดได้ต่อไป 
     คำสำคัญ ทารกแรกเกิด, ระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ 
ผู้เขียน
595110056-9 นาย พงษ์สิทธิ์ ไกรสีห์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0