2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 
     ISBN/ISSN ISSN 1906-6813 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 15 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลและ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนกับนักศึกษาพยาบาล แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบท (Contextual Study) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ร่างรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลประกอบด้วย 2 ขั้นตอน(1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(2) การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบและเครื่องมือ จำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 2 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนกับกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ (Pre-experimental design) โดยศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้ศึกษาเฉพาะกรณีให้การทดลองหนึ่งครั้ง (One–shot case study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 5 แผน ใช้เวลา 10 ชั่วโมง 2)เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตเวชวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ t – test ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาบริบท (Contextual study) ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ โครงสร้างและองค์ประกอบ ของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล เทคนิคและวิธีการสอนที่ใช้ร่วมกับรูปแบบ กิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล 2) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ (3) กิจกรรมการเรียนการสอนมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน : OPMA model คือ ขั้นปฐมนิเทศ (Orientation) ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นกำกับตนเอง (Monitoring) ขั้นประเมินตนเอง (Assessment) และ (4) การประเมินผล : วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล และผลการประเมิน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก ในขณะที่ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า1) นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 2) นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนเรียน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 3) นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  
     คำสำคัญ คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน การแก้ปัญหาทางการพยาบาล นักศึกษาพยาบาล 
ผู้เขียน
557050003-3 นาง ภาสินี โทอินทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0